Buddhist Study   บทที่ 24   การตรัสรู้อริยสัจจธรรม    

 

home

ปัญหาถาม-ตอบ

หนังสือธรรมะ

พระไตรปิฎก

 

 

 

 


"พระอรหันตสัมมา-
สัมพุทธเจ้าทั้งหลาย
เท่านั้นที่ได้ทรงค้นพบ
หนทาง (มัคค์ 8) ด้วย
พระองค์เองได้โดยไม่
ต้องมีใครสอน
แต่คนอื่นๆนั้นยังต้อง
อาศัยคำสอนของ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
จึงจะรู้หนทางที่ถูกต้อง"


 

 

 

 

 


"เราอาจเข้าใจความ
หมายของพระธรรม
คลาดเคลื่อนไปได้
ขึ้นอยู่กับปัจจัยที่ว่า
เราคบบุคคลที่
สามารถช่วยให้เรา
เข้าใจพระธรรม
หรือไม่  กุศลกรรม
ที่ได้สะสมไว้ย่อม
จะเป็นปัจจัยให้เรา
ได้พบสัปบุรุษ"


 

 

 

 

 

 


"เราไม่ควรเชื่อผู้ที่
สอนธรรมแก่เรา
อย่างงมงายแต่ควร
ที่จะตรวจสอบ
สิ่งที่ได้ยินได้ฟังกับ
พระไตรปิฎกและ
พิจารณาโดยรอบคอบ
เพื่อพิสูจน์สัจจธรรม"


 

 

 

 

 

 


"การพิสูจน์สัจจธรรม
ก็คือการปฏิบัติธรรม
นั่นเอง...คือการอบรม
เจริญมัคค์มีองค์ 8
ด้วยการมีสติระลึก
รู้สภาพธรรมที่
ปรากฏทางทวาร 6
เราสามารถพิสูจน์
ได้ว่าสภาพธรรม
เหล่านี้เป็นเพียง
นามธรรมและรูป
ธรรมที่เกิดขึ้น
เพราะเหตุปัจจัย
จริงหรือไม่"


 

 

 

 

 

 


"ด้วยการปะพฤติ
ปฏิบัติเราจึงจะมี
ศรัทธาในพระธรรม
มั่นคงขึ้น เราจะมี
ศรัทธายิ่งขึ้นเมื่อ
ปัญญาประจักษ์
ลักษณะของ
นามธรรมและ
รูปธรรมในชีวิต
ประจำวัน และ
เราจะยึดมั่นใน
ตัวตนน้อยลง"


 

 

 

 

 

 


"หนทางที่จะรู้แจ้ง
อริยสัจจ์ 4 คือ
มีสติ ระลึกรู้
สภาพธรรมที่กำลัง
ปรากฏขณะนี้"


 

 

 

 

 

 


"เราไม่ควรท้อใจ
เมื่อรู้สึกว่าการปฏิบัติ
ไม่ได้ผลเร็ว
คนส่วนมากปราถนา
ผล และหมดความ
อดทนเมื่อไม่เห็น
ผลทันที  แต่ว่าการ
หวังในผลไม่เป็น
ประโยชน์แก่การ
เจริญปัญญาเลย
เพราะเป็นอกุศล"


 

 

 

 

 

 


"บางคนคิดว่าการ
เจริญสมถะให้ผลได้
เร็วกว่า  การเจริญ
สมถะนั้นมีความสงบ
เป็นผล เมื่อบรรลุฌาน
โลภะ โทสะ โมหะ
สงบระงับชั่วคราว
แต่การบรรลุฌานนั้น
แสนยาก และต้อง
เจริญปัจจัยมากมาย"


 

 

 

 

 

 


"เมื่อเจริญสมถะ
แต่ไม่บรรลุ
อุปจารสมาธิหรือฌาน
นิวรณธรรม 5
ก็ย่อมจะเกิด
คือ จะมีกามฉันทะ
พยาปาทะ ถีนะมิทธะ อุทธัจจะกุกกุจจะ และวิจิกิจฉา"


 

 

 

 

 

 


"จุดประสงค์ของการ
เจริญวิปัสสนานั้น
ไม่ใช่ความสงบ
แต่เพื่อ ดับ
ความเห็นผิด และ
ดับกิเลสได้หมด
ในที่สุด"


 

 

 

 

 

 


"ขณะเล็กๆน้อยๆที่สติ
เกิดระลึกรู้นามธรรม
และรูปธรรมนั้น
เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง
เพราะทำให้คลาย
การยึดมั่นในตัวเอง
ขณะที่สติเกิดนั้น
ไม่มีโลภะ โทสะ
หรือโมหะ ถึงแม้ว่า
ความสงบจะไม่ใช่
จุดมุ่งหมาย แต่ขณะ
ที่สัมมาสติเกิดก็เป็น
กุศลจิตที่สงบ"


 

 

 

 

 

 


"ผู้ที่ใกล้จะรู้แจ้ง
อริยสัจจธรรมได้
เจริญอบรมปัญญา
รู้สภาพสังขารธรรม
ด้วยการเจริญ
วิปัสสนารู้ลักษณะ
ของนามธรรมและ
รูปธรรมชัดขึ้นๆ
และประจักษ์การ
เกิดดับของนามธรรม
และรูปธรรม
ปัญญาเจริญคมกล้า
ขึ้นถึงขั้นที่ประจักษ์
อนิจจลักษณะ
ทุกขลักษณะ และ
อนัตตลักษณะ
ของนามธรรม และ
รูปธรรมที่ปรากฏ
ทางทวาร 6"


 

 

 

 

 

 


"จิตขณะหนึ่งรู้
อารมณ์ได้อารมณ์
เดียวเท่านั้น
ฉะนั้นจึงขึ้นอยู่กับ
การสะสมของผู้ที่
มัคควิถีจะเกิดว่าจะ
ประจักษ์ลักษณะใด
ของไตรลักษณ์"


 

 

 

 

 

 


"อารมณ์ของ
โคตรภูจิตซึ่งเกิด
ก่อนโลกุตตรจิต
ต่างจากอารมณ์ของ
โคตรภูในสมถะ...
โคตรภูที่เกิดก่อน
โลกุตตรจิตมี
พระนิพพานเป็น
อารมณ์"


 

 

 

 

 

 


"ขณะที่โคตรภูเกิด
ท่านที่กำลังรู้แจ้ง
อริยสัจจธรรมยัง
เป็นปุถุชนอยู่
โคตรภูไม่ได้ดับ
กิเลส มัคคจิตซึ่ง
เกิดต่อจากโคตรภู
ทำกิจปหานกิเลส"


 

 

 

 

 

 


"ผลจิตเกิดสืบต่อ
มัคคจิตทันทีในวาระ
วิถีเดียวกัน มัคคจิต
ไม่ให้ผลเป็นปฏิสนธิ
วิบาก  ไม่เหมือนกับ
กุศลจิตภูมิอื่นๆ
เมื่อผลจิตดับไปแล้ว
ภวังคจิตก็เกิดสืบต่อ"



 
ก.    เราจะรู้แจ้งอริยสัจจธรรม   โดยไม่เจริญเหตุที่สมควรไม่ได้

ข.   อะไรเป็นเหตุปัจจัยให้รู้แจ้งอริยสัจจธรรม

ก.  ในสังยุตตนิกาย   มหาวารวรรค   โสดาปัตติสังยุตต์ สารีปุตตสูตรที่ 2   เรื่ององค์ธรรม 4 ประการที่เป็นปัจจัยให้บรรลุเป็นโสดาบันบุคคล

ครั้งนั้น   ท่านพระสารีบุตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ   ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง   ณ  ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง   ครั้นแล้วพระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามท่านพระสารีบุตรว่า

"ดูกรสารีบุตร   ที่เรียกว่าโสดาปัตติยังคะๆ ดังนี้  โสตาปัตติยังคะเป็นไฉน"

"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ   โสตาปัตติยังคะ  คือ 
สัปปุริสสังเวสะ   การคบสัตบุรุษ 1    สัทธรรมสวนะ   ฟังคำสั่งสอนของท่าน 1    โยนิโสมนสิการ   กระทำไว้ในใจโดยอุบายที่ชอบ 1    ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ   ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม 1 ฯ"

"ถูกละๆ สารีบุตร   โสตาปัตติยังคะ  คือ   สัปปุริสสังเวสะ 1   สัทธรรมสวนะ 1  โยนิโสมนสิการ 1   ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ 1 ฯ

ดูกรสารีบุตร  ก็ที่เรียกว่า   ธรรมเพียงดังกระแสฯดังนี้   ก็ธรรมเพียงดังกระแสเป็นไฉน"

"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ   อริยมรรคประกอบด้วยองค์ 8 นี้แลคือ  สัมมาทิฏฐิ  ฯลฯ   สัมมาสมาธิชื่อว่า   ธรรมเพียงดังกระแสฯ"

"ถูกละๆสารีบุตร   อริยมรรคประกอบด้วยองค์ 8 นี้แล   ชื่อว่าธรรมเพียงดังกระแสฯ

ดูกรสารีบุตร  ที่เรียกว่า   โสดาบันฯดังนี้   โสดาบันเป็นไฉนฯ"

"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ   ผู้ใดประกอบด้วยอริยมรรคมีองค์ 8 นี้  ผู้นี้เรียกว่า พระโสดาบัน  ท่านผู้นี้นั้น   มีนามอย่างนี้   มีโครตอย่างนี้ฯ"

ข.   สำหรับปัจจัยที่ 1   คือการคบสัปบุรุษนั้นจำเป็นด้วยหรือ   เราจะหาหนทางที่ถูกต้องเอาเองไม่ได้หรือ

ก.    พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายเท่านั้น   ที่ได้ทรงสะสมพระปัญญาบารมีถึงขั้นที่ทรงค้นพบหนทาง
(มัคค์ 8) ด้วยพระองค์เองได้โดยไม่ต้องมีใครสอน   แต่คนอื่นๆนั้นยังต้องอาศัยคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า   จึงจะรู้หนทางที่ถูกต้อง   เพราะสะสมอวิชชามาในอดีตนานแสนนาน   เราจึงจำเป็นต้องคบกับสัปบุรุษ   กัลยาณมิตรในธรรมผู้ซึ่งสามารถชี้หนทางที่ถูกต้อง   เพราะกิเลสขัดขวางเราไม่ให้พบหนทางที่ถูกต้อง   กัลยาณมิตรจะเกื้อกูลให้เราเจริญสติระลึกรู้นามธรรมและรูปธรรม

.    ถ้าเราไม่มีกัลยาณมิตรที่สามารถชี้หนทางที่ถูกต้องได้   เราควรทำอย่างไร

.    การศึกษาพระไตรปิฎกมีประโยชน์มาก   พระธรรมทำให้เราระลึกรู้นามธรรมและรูปธรรมในชีวิตประจำวันได้ แต่เราอาจเข้าใจความหมายของพระธรรมคลาดเคลื่อนไปได้   ขึ้นอยู่กับปัจจัยที่ว่าเราคบบุคคลที่สามารถช่วยให้เราเข้าใจพระธรรมและการปฏิบัติ   ที่สอดคล้องกับพระธรรมหรือไม่   กุศลกรรมที่ได้สะสมไว้ย่อมจะเป็นปัจจัยให้เราได้พบสัปบุรุษ

ข.    เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเราเข้าใจพระธรรมจริงๆ   และปฏิบัติถูกต้อง

ก.    เราจะรู้ได้ด้วยการ ประพฤติปฏิบัติ   ถ้าเราปฏิบัติผิด   ในที่สุดเราก็จะรู้ว่าข้อปฏิบัตินั้นไม่ได้ทำให้เข้าใจถูกในสภาพธรรมในชีวิตประจำวัน

เมื่อได้ฟังพระธรรมจากสัปบุรุษแล้วควรก็พิจารณา   นี่เป็นปัจจัยข้อที่สาม   เราไม่ควรเชื่อผู้ที่สอนธรรมแก่เราอย่างงมงาย   แต่ควรที่จะตรวจสอบสิ่งที่ได้ยินได้ฟังกับพระไตรปิฎกและพิจารณาโดยรอบคอบ   เพื่อพิสูจน์
สัจจธรรม

การพิสูจน์สัจจธรรมก็คือ  การปฏิบัติธรรม นั่นเอง   ฉะนั้น   ปัจจัยที่สี่คือปฏิบัติตามพระธรรม   นั่นคือการอบรมเจริญมัคค์มีองค์ 8   ด้วยการมีสติระลึกรู้สภาพธรรมที่ปรากฏทางทวาร 6  เราสามารถพิสูจน์ได้ว่า   สภาพธรรมเหล่านี้เป็นเพียงนามธรรมและรูปธรรมที่เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยจริงหรือไม่   เราพิสูจน์ได้ว่า
สภาพธรมเหล่านั้นไม่เที่ยงหรือเที่ยง   เป็นทุกข์หรือเป็นสุข   ไม่ใช่ตัวตนหรือเป็นตัวตน   ด้วยการประพฤติปฏิบัติเราจึงจะมีศรัทธาในพระธรรมมั่นคงขึ้น   เราจะมี ศรัทธา ยิ่งขึ้นเมื่อปัญญาประจักษ์ลักษณะของนามธรรมและรูปธรรมในชีวิตประจำวัน   และเราจะยึดมั่นในตัวตนน้อยลง

โลกุตตรจิตจะเกิดไม่ได้ถ้าไม่ได้เจริญเหตุปัจจัยที่ถูกต้อง
บางคนต้องการจะดับทุกข์   แต่เขาไม่อบรมปัญญาในชีวิตประจำวัน   เขาหวังว่าวันหนึ่งโลกุตตรจิตจะเกิดขึ้นเอง   พระผู้มีพระภาคตรัสว่า   การรู้แจ้งอริยสัจจ์ 4   เป็นสิ่งที่ยาก   การที่ตรัสเช่นนี้มิได้ทรงมุ่งหวังที่จะให้เราท้อถอย   แต่เพื่อเตือนไม่ให้ประมาท

ในสังยุตตนิกาย  มหาวารวรรค   ปปาตวรรคที่ 5  วาลสูตร   ในนครเวสาลี   ท่านพระอานนท์เห็นพวกเจ้าลิจฉวีฝึกยิงธนู   ท่านไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคและทูลว่า

"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ   ขอประทานพระวโรกาส   เมื่อเวลาเช้า   ข้าพระองค์นุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตในเมือง
เวสาลี   ได้เห็นลิจฉวีกุมารมากด้วยกัน   กำลังทำการยิงศรอยู่ในศาลาสำหรับเรียนศิลปะ   ยิงลูกศรให้เข้าไปติดๆกันโดยช่องดาลอันเล็ก   แต่ที่ไกลได้ไม่ผิดพลาด    ครั้นแล้ว   ข้าพระองค์ได้มีความคิดว่า   พวกลิจฉวีกุมารเหล่านี้ที่ยิงลูกศรให้เข้าไปติดๆกันโดยช่องดาลอันเล็ก   แต่ที่ไกลได้ไม่ผิดพลาด   เป็นผู้ศึกษาแล้ว   ศึกษาดีแล้ว"

"ดูกรอานนท์   เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน   อย่างไหนจะทำได้ยากกว่ากัน   หรือจะให้เกิดขึ้นได้ยากกว่ากัน   คือ   การยิงลูกศรให้เข้าไปติดๆกันโดยช่องดาลอันเล็ก   แต่ที่ไกลได้ไม่ผิดพลาด   กับการแทงปลายขนทรายด้วยปลายขนทรายที่แบ่งออกเป็น 7 ส่วนฯ"

"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ   การแทงปลายขนทรายด้วยปลายขนทรายที่แบ่งออกเป็น 7 ส่วน  กระทำได้ยากกว่า   และให้เกิดขึ้นได้ยากกว่า   พระเจ้าข้าฯ"

"ดูกรอานนท์   ชนเหล่าใดย่อมแทงตลอดตามความเป็นจริงว่า   นี้ทุกข์  นี้สมุทัย   นี้ทุกขนิโรธ   นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา   ชนเหล่านั้นย่อมแทงตลอดได้ยากกว่าโดยแท้

เพราะฉะนั้น  อานนท์   เธอพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า   นี้ทุกข์  นี้สมุทัย   นี้ทุกขนิโรธ   นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาฯ"

ข.   เมื่อฟังพระสูตรนี้แล้ว   ท้อใจจริง   ดูเหมือนว่าจะบรรลุอริยสัจจธรรมไม่ได้เลย

ก.    ถ้าเจริญหนทางที่ถูก   ไม่ใช่หนทางผิด   ก็จะประจักษ์แจ้งอริยสัจจ์ 4   บรรลุพระนิพพาน   หนทางที่จะรู้แจ้งอริยสัจจ์ 4   คือ  มีสติ   ระลึกรู้สภาพธรรมที่กำลังปรากฏขณะนี้   เช่น  การเห็น   สิ่งที่ปรากฏทางตา  โลภะ
โทสะ  หรือสภาพธรรมใดๆก็ตาม   เราไม่ควรท้อใจเมื่อรู้สึกว่าการปฏิบัติไม่ได้ผลเร็ว   คนส่วนมากปราถนาผล   และหมดความอดทนเมื่อไม่เห็นผลทันที   แต่ว่าการหวังในผลไม่เป็นประโยชน์แก่การเจริญปัญญาเลย   เพราะเป็นอกุศล

บางคนคิดว่า   การเจริญสมถะให้ผลได้เร็วกว่า   การเจริญสมถะนั้นมีความสงบเป็นผล   เมื่อบรรลุฌาน
โลภะ  โทสะ   โมหะสงบระงับชั่วคราว   แต่การบรรลุฌานนั้นแสนยาก   และต้องเจริญปัจจัยมากมาย   เมื่อเจริญสมถะ   แต่ไม่บรรลุอุปจารสมาธิหรือฌาน
นิวรณธรรม 5 ก็ย่อมจะเกิด  คือ   จะมีกามฉันทะ 
พยาปาทะ  ถีนะมิทธะ   อุทธัจจะกุกกุจจะ   และวิจิกิจฉา

จุดประสงค์ของการเจริญวิปัสสนานั้นไม่ใช่ความสงบ   แต่เพื่อ ดับ ความเห็นผิดและดับกิเลสได้หมดในที่สุด   ผลที่ว่านี้ดูเหมือนอยู่ห่างไกล   แต่ว่าแต่ละขณะเล็กๆน้อยๆที่สติเกิดระลึกรู้นามธรรมและรูปธรรมนั้น   เป็นประโยขน์อย่างยิ่ง   เพราะทำให้ละคลายการยึดมั่นในตัวเอง   ขณะที่สติเกิดนั้นไม่มีโลภะ   โทสะ  หรือโมหะ   ถึงแม้ว่า ความสงบจะไม่ใช่จุดมุ่งหมาย   แต่ขณะที่สัมมาสติเกิดก็เป็นกุศลจิตที่สงบ

ข.    การรู้แจ้งอริยสัจจธรรมหรือการประจักษ์แจ้งพระนิพพาน   เหมือนกับการคิดถึงพระนิพพานไหม

.    การรู้ลักษณะของนามธรรมและรูปธรรม   เหมือนกับการคิดเรื่องนามธรรมและรูปธรรมหรือเปล่า

ข.   ไม่เหมือน

ก.   การประจักษ์แจ้งพระนิพพานก็ต่างกับการคิดถึงพระนิพพานฉันนั้น

ข.    ผู้รู้แจ้งอริยสัจจ์ประจักษ์แจ้งพระนิพพานทางทวารไหน

.    พระนิพพานเป็นอารมณ์ทางทวาร 5 ไม่ได้เลย   พระนิพพานเป็นอารมณืที่รู้ได้ทางมโนทวาร

ข.  จิตรู้อารมณืที่กระทบทวาร 5   หรือมโนทวารโดยเกิดขึ้นเป็นวิถีจิต   วิถีจิตที่ประจักษ์แจ้งพระนิพพานเป็นอย่างไร   จิตกี่ดวงประจักษ์แจ้งพระนิพพาน

ก.    ผู้ที่ใกล้จะรู้แจ้งอริยสัจจธรรมได้เจริญอบรมปัญญา   รู้สภาพสังขารธรรมด้วยการเจริญวิปัสสนา   รู้ลักษณะของนามธรรมและรูปธรรมชัดขึ้นๆ   และประจักษ์การเกิดดับของนามธรรมและรูปธรรม   ปัญญาเจริญคมกล้าขึ้นถึงขั้นที่ประจักษ์ อนิจจลักษณะ  ทุกขลักษณะ   และ อนัตตลักษณะ ของนามธรรมและรูปธรรมที่ปรากฏทางทวาร 6  ในมัคควิถีนั้น   มโนทวาราวัชชนจิตมี ลักษณะหนึ่งของไตรลักษณ์   คือ  อนิจจลักษณะ   หรือทุกขลักษณะ   หรืออนัตตลักษณะ

ข.   ดิฉันเข้าใจว่า   อนิจจะ  ทุกขะ   และอนัตตาเป็นไตรลักษณ์ของสังขารธรรม   ฉะนั้น   ถ้าเราเห็นลักษณะหนึ่ง   เราก็จะเห็นอีกสองลักษณะด้วย   ทำไมเราจึงประจักษ์ลักษณะทั้ง 3 ในขณะเดียวกันไม่ได้

ก.    จิตขณะหนึ่งรู้อารมณ์ได้อารมณ์เดียวเท่านั้น   ฉะนั้นจึงขึ้นอยู่กับการสะสมของผู้ที่มัคควิถีจะเกิดว่าจะประจักษ์ลักษณะใดของไตรลักษณ์   ท่านผู้หนึ่งรู้ลักษณะที่ไม่เที่ยง   อีกท่านหนึ่งรู้ลักษณะที่เป็นทุกข์   อีกท่านหนึ่งรู้ลักษณะที่เป็นอนัตตา

มโนทวาราวัชชนจิตในมัคควิถีรู้ลักษณะหนึ่งของไตรลักษณ์   ต่อจากนั้นก็มีจิต 3-4 ขณะเกิดสืบต่อซึ่งยังไม่ใช่โลกุตตรจิต   แต่เป็น มหากุศล (กุศลขั้นกามาวจร) ญาณสัมปยุตต์   มหากุศลจิตขณะแรกเป็น บริกัมม์ มีอารมณ์เดียวกับมโนทวาราวัชชนจิต   ถ้ามโนทวารา-
วัชชนจิตมีอนิจจลักษณะเป็นอารมณ์   บริกัมม์ก็มี
อนิจจลักษณะเป็นอารมณ์ด้วย

ข.    บริกัมม์หมายความว่าอะไร

ก.   บริกัมม์   หมายถึง การตระเตรียม   จิตนั้นเรียกว่าบริกัมมจิต   เพราะเป็นมหากุศลจิตดวงแรกก่อนที่
โลกุตตรจิตในวิถีนั้นจะเกิด

เมื่อบริกัมม์ดับไปแล้ว  อุปจารจิต ก็เกิดสืบต่อซึ่งยังมีอารมณ์เดียวกับมโนทวาราวัชชนจิต

ข.   อุปจาระ หมายความว่าอะไร

ก.   อุปจาระ   หมายถึง ใกล้เคียง   จิตดวงนี้เป็นมหากุศลจิตดวงที่สองในมัคควิถี   เป็นจิตที่ใกล้กับขณะที่โลกุตตรจิตจะเกิด

อนุโลมจิต เกิดสืบต่ออุปจาระ   อนุโลมมีอารมณ์เดียวกับมโนทวาราวัชชนจิต

ข.   อนุโลม หมายความว่าอะไร

ก.   อนุโลม หมายถึง การคล้อยตาม   เมื่ออนุโลมดับ  โคตรภู เกิดสืบต่อ  โคตรภูเป็น กามาวจรจิตดวงสุดท้าย ในมัคควิถี   บางครั้งโคตรภูแปลว่าเปลี่ยนโคตร

ข.    ดิฉันได้ทราบว่าการเจริญสมถะก็มีโคตรภูเหมือนกัน โคตรภูในสมถะเป็นจิตประเภทเดียวกันหรือต่างกันกับโคตรภูในวิปัสสนา

ก.    โคตรภูเป็นกามาวจรวิถีจิตดวงสุดท้าย   ก่อนที่จิตภูมิอื่นจะเกิดขึ้นในวาระวิถีนั้น   จิตภูมิอื่นอาจจะเป็น
รูปาวจรจิต (เมื่อเป็นรูปฌาน)   อรูปาวจรจิต (เมื่อเป็นอรูปฌาน)   หรือ โลกุตตรจิต

ใน สมถะ   โคตรภูเป็นกามาวจรจิตดวงสุดท้ายก่อนรูปฌานจิตหรืออรูปฌานจิตจะเกิด   ใน วิปัสสนา โคตรภูเป็นกามาวจรจิตดวงสุดท้ายของปุถุชนก่อนที่โลกุตตรจิตจะเกิดเป็นพระอริยบุคคล   อารมณ์ของโคตรภูจิตซึ่งเกิดก่อนโลกุตตรจิตต่างจากอารมณ์ของโคตรภูในสมถะ

ข.    อะไรเป็นอารมณ์ของโคตรภูซึ่งเกิดก่อนโลกุตตรจิต

.    โคตรภูที่เกิดก่อนโลกุตตรจิตมีนิพพานเป็นอารมณ์

ข.   ทำไมโคตรภูจึงไม่ใช่โลกุตตรจิต   โคตรภูเป็นจิตดวงแรกที่มีพระนิพพานเป็นอารมณ์

ก.   ขณะที่โคตรภูจิตเกิด   ท่านที่กำลังรู้แจ้งอริยสัจจธรรมยังเป็นปุถุชนอยู่   โคตรภูไม่ได้ดับกิเลส   มัคคจิตซึ่งเกิดต่อจากโคตรภูทำกิจปหานกิเลส    ในขั้น พระโสดาบันบุคคล   มัคคจิต เป็น โลกุตตรจิตดวงแรก ในมัคควิถี   เมื่อมัคคจิตดับไปแล้ว  ผลจิต 2 (หรือ 3) ขณะซึ่งเป็นผลของมัคคจิตก็เกิดสืบต่อ   และยังคงมีพระนิพพานเป็นอารมณ์   จะเห็นว่า   ผลจิตเกิดสืบต่อมัคคจิตทันทีในวาระวิถีเดียวกัน   มัคคจิตไม่ให้ผลเป็นปฏิสนธิวิบาก   ไม่เหมือนกับกุศลจิตภูมิอื่นๆ   เมื่อผลจิตดับไปแล้วภวังคจิตก็เกิดต่อ

บางท่านไม่มีบริกัมมจิต   สำหรับท่านผู้นั้น   ผลจิตจะเกิด 3 ขณะ   แทนที่จะเป็น 2 ขณะ

สรุปมัคควิถีจิต  ดังนี้

มโนทวาราวัชชนจิต
บริกัมม์
อุปจาร
อนุโลม
โคตรภู
มัคคจิต
ผลจิต (2 หรือ 3 ขณะแล้วแต่บุคคล)

ข.  เมื่อโลกุตตรจิตดับไปแล้ว   กามาวจรจิตก็เกิดสืบต่ออีก   พระนิพพานเป็นอารมณ์ของกามาวจรจิตได้ไหม

ก.    พระนิพพานเป็นอารมณ์ของกามาวจรจิตซึ่งเกิดหลังจากที่โลกุตตรจิตดับไปแล้วได้   ก่อนที่จะตรัสรู้เป็นอริยบุคคล   ก็เพียงแต่คิดคาดคะเนสภาพพระนิพพานเท่านั้น   เมื่อเป็นพระอริยบุคคลประจักษ์แจ้งสภาพพระนิพพานแล้ว   ก็สามารถย้อนระลึกถึงพระนิพพานได้อีก

ในวิสุทธิมัคค์   ญาณทัสสนวิสุทธินิทเทส   มีข้อความตอนหนึ่งว่า   เมื่อโลกุตตรจิตดับไปแล้ว   พระอริยบุคคลนั้นก็พิจารณามัคคจิต   ผลจิต  กิเลสที่ดับแล้ว   กิเลสที่ยังเหลืออยู่   และพระนิพพานทางมโนทวารแต่ละวาระ

ข.    การรู้แจ้งอริยสัจจธรรมเกิดในขณะที่กำลังทำกิจวัตรในชีวิตประจำวันได้ไหม   หรือว่าจำเป็นจะต้องไปสู่ที่วิเวกเพื่อที่จะตรัสรู้

ก.    เมื่ออบรมเจริญปัญญาในชีวิตประจำวันแล้ว   ทำไมจะอบรมเจริญปัญญาให้ถึงขั้นที่บรรลุอริยสัจจธรรมในชีวิตประจำวันไม่ได้เล่า   การตรัสรู้ย่อมเกิดได้ในขณะที่ทำกิจการงานต่างๆในชีวิตประจำวัน   เมื่อปัญญาเจริญจนถึงขั้นนั้น   ดังที่ได้ศึกษาแล้วว่า   การรู้แจ้งพระนิพพานนั้นเพียงไม่กี่ขณะจิต   ซึ่งเกิดขึ้นแล้วก็ดับไปอย่างรวดเร็วที่สุด

ในมัชฌิมนิกาย   มัชฌิมปัณณาสก์  ปริพาชกวรรค   ฑีฆนขสูตร   พระผู้มีพระภาคตรัสสอนฑีฆนขปริพาชก   ที่เขาคิชฌกูฏใกล้พระนครราชคฤห์   พระองค์ตรัสสอนฑีฆนขะปริพาชกเรื่องการละมิจฉาทิฏฐ ิและเรื่องความไม่เที่ยงของสังขารธรรมทั้งหลาย   ท่านพระสาลีบุตรผู้ซึ่งบรรลุเป็นอริยบุคคลแล้วแต่ยังไม่ได้เป็นอรหันต์บุคคลอยู่ ณ  ที่นั้นด้วย  ข้อความมีว่า

ก็โดยสมัยนั้น   ท่านพระสารีบุตรนั่งถวายอยู่งานพัด   ณ   เบื้องปฤษฎางค์พระผู้มีพระภาค   ได้มีความดำริว่า

พระผู้มีพระภาคตรัสธรรมเหล่านั้นด้วยปัญญาอันยิ่งแก่เราทั้งหลาย   พระสุคตตรัสการสละคืนธรรมเหล่านั้นด้วยปัญญาอันยิ่งแก่เราทั้งหลาย   เมื่อท่านพระสารีบุตรเห็นตระหนักดังนี้   จิตก็หลุดพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย

ท่านพระสารีบุตรไม่ได้ไปสู่ที่วิเวกเพื่อบรรลุเป็นพระอรหันต์   ท่านกำลังถวายงานพัดพระตถาคต

ในสังยุตตนิกาย  ขันธวารวรรค   มัชฌิมปัณณาสก์  เถรวรรคที่ 4   เขมกสูตร   ท่านพระเขมกะผู้ซึ่งเป็นอนาคามีบุคคลบรรลุอรหัตตผลขณะที่กำลังแสดงธรรม   และพระภิกษุที่กำลังฟังธรรมก็บรรลุอรหัตตผลเช่นเดียวกัน   ข้อความนั้นมีว่า

ท่านพระเขมกะได้กล่าวคำนี้ว่า   ภิกษุผู้เถระทั้งหลายชื่นชมยินดีภาษิตของท่านพระ
เขมกะ   ก็เมื่อท่านพระเขมกะกล่าวคำ
ไวยากรณภาษิตนี้อยู่   จิตของภิกษุผู้เถระ 60 รูป   และของท่านพระเขมกะ   พ้นแล้วจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่นฯ

ถ้าเราปฏิบัติหนทางที่ถูก   ปัญญาก็เจริญขึ้นได้จนถึงขั้นรู้แจ้งอริยสัจจธรรม   ไม่ว่าจะอยู่ในสภาพใดๆก็ตาม

ข.    คนอื่นจะสังเกตรู้ได้ไหมขณะที่ใครรู้แจ้งอริยสัจจธรรม

ก.  เรา มองเห็น ได้ไหมว่าใครกำลังมีสติหรือไม่มีสติ   ใครร้จิตของผู้อื่นบ้าง   ถ้าเราไม่ได้อบรมเจริญอภิญญาที่รู้วาระจิตของผู้อื่น   เราก็รู้ไม่ได้เลยว่าใครกำลังมีสติระลึกรู้นามธรรมและรูปธรรมหรือรู้แจ้งพระนิพพาน

ข.    เราสามารถที่จะบรรลุเป็นพระโสดาบัน   พระสกทาคามี  พระอนาคามี   และพระอรหันต์ในชาติเดียวได้ไหม

.    สามารถตรัสรู้อริยสัจจธรรมทั้ง 4 ขั้นได้ในชาติเดียว ในพระสูตรหลายพระสูตรมีข้อความหลายตอนที่แสดงว่า พระสาวกได้ตรัสรู้อริยสัจจธรรมแล้ว   ภายหลังจึงบรรลุเป็นอรหันต์   เช่น   ท่านพระอานนท์ไม่ได้เป็นพระอรหันต์ระหว่างที่พระผู้มีพระภาคยังมีพระชนม์อยู่   แต่ได้เป็นอรหันตบุคคลหลังจากพระผู้มีพระภาคทรงดับ
ขันธปรินิพพานไปแล้ว ในคืนก่อนที่จะกระทำสังคายนาครั้งที่ 1

ข.    พระอรหันต์ปหานกิเลสหมดแล้ว   ท่านจึงดับสังสารวัฏฏ์ (ชาติ   ชรา  พยาธิ  และมรณะ)   ท่านรู้ว่าดับทุกได้แล้ว   ท่านจะไม่เกิดอีก   แต่ท่านยังต้องตาย  ฉะนั้น   ในขณะที่ท่านบรรลุความเป็นพระอรหันต์นั้น   ท่านบรรลุถึงการดับทุกข์จริงๆหรือ

ก.    เมื่อพระอรหันต์เกิด   ท่านก็ต้องตาย   ท่านได้รับผลของอกุศลกรรมที่ท่านได้กระทำไว้ก่อนบรรลุเป็นพระอรหันต์   แต่เพราะท่านไม่มีกิเลสอีกเลย   ท่านจึงไม่สะสมกรรมใหม่ที่จะทำให้เกิดวิบากต่อไปอีก   พระอรหันต์พ้นจากทุกข์อย่างแท้จริง

ในขุททกนิกาย  อิติวุตตกะ   ทุกกนิบาต  วรรคที่ 2   ธาตุสูตร  อธิบายนิพพานธาตุ 2 คือ  สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ   เป็นพระนิพพานที่ยังมีขันธ์ 5 เหลืออยู่   พระอรหันต์ผู้ยังไม่ปรินิพพาน   ยังมีจิต  เจตสิก  รูป   ซึ่งเกิดดับแม้ว่าท่านปหานกิเลสหมดแล้ว   อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ เป็นพระนิพพานที่ไม่มีขันธ์ 5 เหลือ   พระอรหันต์ปรินิพพานแล้ว   ไม่มีจิต  เจตสิก  รูป   เกิดดับอีกเลย

ข้อความต่อไปมีว่าพระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

นิพพานธาตุ 2 ประการนี้   พระตถาคต
ผู้มีจักษุ   ผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยแล้ว
ผู้คงที่ประกาศไว้แล้ว   อันนิพพานธาตุอย่างหนึ่ง
มีในปัจจุบันนี้  ชื่อว่า สอุปาทิเสส เพราะสิ้นตัณหา
เครื่องนำไปสู่ภพ   ส่วนนิพพานธาตุ (อีกอย่างหนึ่ง)
เป็นที่ดับสนิทแห่งภพทั้งหลาย   โดยประการทั้งปวง
อันมีในเบื้องหน้าชื่อว่าอนุปาทิเสส
ชนเหล่าใดรู้บทอันปัจจัยไม่ปรุงแต่งแล้วนี้
มีจิตหลุดพ้นแล้วเพราะสิ้นตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพ
ชนเหล่าใดรู้บทอันปัจจัยไม่ปรุงแต่งแล้วนี้
เพราะบรรลุธรรมอันเป็นสาระ   เป็นผู้คงที่   ละภพได้ทั้งหมด

ข.    เมื่อเป็นพระอรหันต์แล้วไม่เกิดอีก   ถ้าเป็นเพียงพระโสดาบันบุคคลล่ะ   จะต้องเกิดอีกกี่ครั้ง

ก.    พระโสดาบันบุคคลจะไม่เกิดเกินกว่า 7 ชาติ   ในที่สุดท่านก็จะไม่เกิดอีก   ถ้าเราไม่อบรมเจริญวิปัสสนา   ก็จะเกิดอีกไม่มีที่สิ้นสุด   พระผู้มีพระภาคทรงพระมหากรุณาแสดงโทษภัยของการเกิดเพื่อให้เราอบรมเจริญสติ

ในสังยุตตนิกาย  มหาวารวรรค   ปปาตวรรคที่ 5 
อันธการีสูตร   พระผู้มีพระภาคตรัสกะภิกษุว่า

".... ดูกรภิกษุทั้งหลาย   โลกันตนรกมีแต่ความทุกข์   มืดคลุ้มมัวเป็นหมอก   สัตว์ในโลกันตนรกนั้นไม่ได้รับรัศมีพระจันทร์และพระอาทิตย์   ซึ่งมีฤทธิ์มีอานุภาพมากอย่างนี้ฯ"

เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว   ภิกษุรูปหนึ่งได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า

"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ   ความมืดนั้นมาก   ความมืดนั้นมากแท้ๆ   ความมืดอย่างอื่นที่มากกว่าและน่ากลัวกว่าความมืดนี้   มีอยู่หรือฯ"

"ดูกรภิกษุ   ความมืออย่างอื่นที่มากกว่าและน่ากลัวกว่าความมืดนี้มีอยู่ฯ   ความมืดอย่างอื่นเป็นไฉนฯ

..... ดูกรภิกษุ   ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง   ย่อมไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า   นี้ทุกข์  นี่ทุกขสมุทัย   นี้ทุกขนิโรธ   นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา   สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นย่อมยินดีในสังขารทั้งหลาย   ซึ่งเป็นไปเพื่อความเกิด   ฯลฯ  ยินดีแล้ว   ย่อมปรุงแต่ง   ครั้นปรุงแต่งแล้ว   ย่อมตกไปสู่ความมืดคือ   ความเกิด ... และความคับแค้นใจ    เรากล่าวว่า   สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น   ย่อมไม่พ้นไปจากความเกิด   ความตาย  และความคับแค้นใจ   ย่อมไม่พ้นไปจากทุกข์

ดูกรภิกษุ   ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง   ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า   นี้ทุกข์  นี้ทุกขสมุทัย   นี้ทุกขนิโรธ   นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา    สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นย่อมไม่ยินดีในสังขารทั้งหลาย   ซึ่งเป็นไปเพื่อการเกิด  ฯลฯ   ย่อมพ้นไปจากทุกข์

ดูกรภิกษุ  เพราะฉะนั้นแหละ   เธอพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า   นี้ทุกข์  นี้ทุกขสมุทัย   นี้ทุกขนิโรธ   นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาฯ"

 

ดูสารบัญ     

home   ปัญหาถาม-ตอบ    หนังสือธรรมะ   
พระไตรปิฎก

หมายเหตุ: คัดลอกจากหนังสือ  "พระอภิธรรมในชีวิตประจำวัน"
โดย  Nina Van Gorkom
แปลโดย  ดวงเดือน  บารมีธรรม
มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา

Click Here!

 


ดูสารบัญ