Buddhist Study   บทที่ 12   กิจของภวังคจิต    

home

ปัญหาถาม-ตอบ

หนังสือธรรมะ

พระไตรปิฎก

 

 

 

 

 


"ขณะที่ไม่
รู้สึกตัว ขณะ
ที่ไม่คิดนึก
ขณะนั้นก็
ต้องมีจิต
มิฉะนั้นก็
ไม่มีชีวิต"


 

 

 

 

 

 

 


"ภวังคจิต
ทำกิจสืบต่อ
ดำรงภพชาติ ทำใหสภาพที่
บัญญัติว่าสัตว์
มีชีวิตอยู่ได้"


 

 

 

 

 

 

 


"ในระหว่าง
วิถีจิตวาระ
หนึ่งๆก็มี
ภวังคจิต
เกิดคั่น
หลายขณะ"


 

 

 

 

 

 

 


"ภวังคจิต เป็น
วิบากจิต เป็น
ผลของกรรม
เดียวกันกับ
การที่ทำให
ปฏิสนธิจิต
เกิด ในชาติ
หนึ่งจะมี
ปฏิสนธิจิต
ดวงเดียว
เท่านั้น แต่
มีภวังคจิต
นับไม่ถ้วน"


 

 

 

 

 

 

 


"ภวังคจิตทุก
ขณะตลอด
ภพชาตินั้น
เป็นประเภท
เดียวกันกับ
ปฏิสนธิจิต
ของชาตินั้น"


 

 

 

 

 

 

 


"ผู้ที่ปฏิสนธิ
จิตเป็นทวิเหต คือประกอบ
ด้วยอโลภเหตุ
และอโทสเหตุ
แต่ไม่ประกอบ
ด้วยปัญญา
ภวังคจิตก็
เป็นทวิเหตุ
บุคคลนั้น
สามารถ
อบรมเจริญ
ปัญญาได้
แต่จะไม่
บรรลุอริย
สัจจธรรม
ในชาตินั้น"


 

 

 

 

 

 

 


"ภวังคจิต
ซึ่งเป็นจิต
ประเภทเดียว
กับปฏิสนธิจิต
มีอารมณ์
เดียวกับ
ปฏิสนธิจิต"


 

 

 

 

 

 

 


 

 

 



 
      ณะที่ไม่รู้สึกตัว   ขณะที่ไม่คิดนึก   ขณะที่ไม่มีอกุศลจิตหรือกุศลจิต   ขณะนั้นมีจิตหรือไม่?    ขณะที่ไม่รู้สึกตัว   ขณะที่ไม่คิดนึก   ขณะนั้นก็ต้องมีจิต   มิฉะนั้นก็ไม่มีชีวิต   จิตที่เกิดดับนั้นเป็น ภวังคจิต    ภวังค์   แปลตามพยัญชนะว่า  "องค์ของภพ"   ซึ่งภาษาอังกฤษแปลว่า  การดำรงภพชาติ    ภวังคจิตทำกิจสืบต่อดำรงภพชาติ   ทำให้สภาพที่บัญญัติว่า   สัตว์มีชีวิตอยู่ได้

บางคนอาจสงสัยว่าภวังคจิตเกิดบ่อยๆไหม   ภวังคจิตเกิดมากมายนับไม่ถ้วนขณะที่ไม่รู้สึกตัว   ไม่คิดนึก   ไม่มีอกุศลจิตหรือกุศลจิต    ขณะที่หลับแล้วฝัน   อกุศลจิตหรือกุศลจิตเกิดแต่แม้ในขณะที่หลับแล้วไม่ฝัน   ก็ยังต้องมีจิตเกิดอยู่นั่นเอง   จิตขณะนั้นเป็นภวังคจิต    ขณะตื่นก็มีภวังคจิตเกิดนับไม่ถ้วน    ภวังคจิตเกิดคั่นระหว่างวิถีจิตวาระหนึ่งๆ   ดูประการหนึ่งว่าการได้ยินเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วหลังจากการเห็นสิ้นสุดลง   แต่ตามความเป็นจริงแล้วมีวิถีจิตเกิดขึ้นหลายวาระ   และในระหว่างวิถีจิตวาระหนึ่งๆก็มีภวังคจิตเกิดคั่นหลายขณะ

ภวังคจิตเป็นจิตประเภทเดียวกันกับปฏิสนธิจิตซึ่งเป็นจิตขณะแรกของชาติหนึ่งๆ    เมื่อปฏิสนธิจิตดับไปแล้ว   ก็เป็นปัจจัยให้จิตดวงต่อไปเกิดขึ้น   เป็นจิตขณะที่สอง   และเป็นภวังคจิตดวงแรกของชาตินั้น

ภวังคจิต เป็น วิบากจิต    เป็นผลของกรรมเดียวกันกับการที่ทำให้ปฏิสนธิจิตเกิด   ในชาติหนึ่งจะมีปฏิสนธิจิตดวงเดียวเท่านั้น   แต่มีภวังคจิตนับไม่ถ้วน   ไม่ใช่เฉพาะภวังคจิตดวงแรกเท่านั้น   แต่ภวังคจิตทั้งหมดในชาตินี้เป็นผลของกรรมที่ทำให้ปฏิสนธิจิตเกิด

ปฏิสนธิจิตมี 19 ประเภท    ฉะนั้น  ภวังคจิตก็มี 19 ประเภท    ถ้าเกิดในทุคติภูมิ   ปฏิสนธิจิตเป็นอกุศลวิบาก   ภวังคจิตทั้งหมดก็เป็นอกุศลวิบากด้วย ถ้าปฏิสนธิจิตเป็นอเหตุกกุศลวิบาก   บุคคลนั้นจะพิการตั้งแต่เกิด   และภวังคจิตทุกดวงในชาตินั้นก็เป็นอเหตุกกุศลวิบาก    ถ้าปฏิสนธิจิตเป็นสเหตุกะ (ประกอบด้วยโสภณเหตุ)   ภวังคจิตก็เป็นสเหตุกะเช่นเดียวกัน   ภวังคจิตทุกขณะตลอดภพชาตินั้นเป็นประเภทเดียวกันกับปฏิสนธิจิตของชาตินั้น
ผู้ที่ปฏิสนธิจิตเป็น ทวิเหตุ คือ  ประกอบด้วย
อโลภเหตุ และ อโทสเหตุ   แต่ไม่ประกอบด้วยปัญญา    ภวังคจิตก็เป็นทวิเหตุ   บุคคลนั้นสามารถอบรมเจริญปัญญาได้   แต่จะไม่บรรลุอริยสัจจธรรมในชาตินั้น    ผู้ที่ปฏิสนธิจิตเป็น ติเหตุ   คือประกอบด้วย อโลภะ  อโทสะ   และ ปัญญา (อโมหะ)   ภวังคจิตก็เป็นติเหตุกะ   บุคคลนั้นมีอุปนิสัยที่จะอบรมเจริญปัญญา   และอาจจะบรรลุอริยสัจจธรรมในชาตินั้น    บุคคลที่มีปฏิสนธิจิตประกอบด้วยโสมนัสเวทนา   ภวังคจิตทุกดวงในชาตินั้นก็ประกอบด้วยโสมนัสเวทนา

จิตทุกดวงต้องมีอารมณ์    ฉะนั้น   ภวังคจิตก็ต้องมีอารมณ์ด้วย   จิตเห็นมีสิ่งที่ปรากฏทางตาเป็นอารมณ์   จิตได้ยินมีเสียงเป็นอารมณ์   แต่ภวังคจิตมีอารมณ์ที่ต่างกับอารมณ์ที่ปรากฏทางทวาร 5 และทางมโนทวาร   ภวังคจิตซึ่งเป็นจิตประเภทเดียวกับปฏิสนธิจิตมีอารมณ์เดียวกับปฏิสนธิจิต

ในบทที่ 10   ได้กล่าวถึงปฏิสนธิจิตว่ามีอารมณ์เดียวกับอกุศลจิตหรือกุศลจิตซึ่งเกิดก่อนจุติจิตของชาติก่อน   ถ้าอกุศลกรรมเป็นปัจจัยให้ปฏิสนธิจิตเกิด   อกุศลจิตจะเกิดก่อนจุติจิตและมีอนิฏฐารมณ์เป็นอารมณ์    ถ้ากุศลกรรมเป็นปัจจัยไห้ปฏิสนธิจิตเกิด   กุศลจิตจะเกิดก่อนจุติจิตและมีอิฏฐารมณ์เป็นอารมณ์   ไม่ว่าจะเป็นอารมณ์ชนิดใด   ปฏิสนธิจิตในภพชาติต่อไปต้องมีอารมณ์เดียวกันนั้นเอง

เมื่อปฏิสนธิจิตดับไปแล้ว   ภวังคจิตดวงแรกในชาตินั้นก็เกิดสืบต่อรู้อารมณ์เดียวกับปฏิสนธิจิต    ภวังคจิตทุกดวงในชาตินั้นรู้อารมณ์เดียวกันนั้น

ในวิสุทธิมัคค์  ขันธนิทเทส   กล่าวถึงภวังคจิตว่า

ชื่อว่าภวังควิญญาณ   อันติดตามปฏิสนธิวิญญาณนั้นๆ   ในเมื่อปฏิสนธิวิญญาณดับไปแล้ว   เป็นวิบากแห่งกรรมนั้นๆ   เป็นเช่นเดียวกัน   ในอารมณ์นั้นเอง   เป็นไปอยู่ๆ   เมื่อไม่มีจิตตุปบาทดวงอื่น   ซึ่งทำให้ความสืบต่อหมุนกลับอย่างนี้   ว่าเป็นอย่างนั้นอีกๆ   ภวังควิญญาณนั้นก็เป็นไป   นับประมาณไม่ได้   ในเวลาก้าวลงสู่ความหลับเป็นต้นๆ   แห่งบุคคลผู้ไม่ฝันเห็น (สุบิน)   ดุจกระแสนํ้าไหลเรื่อยไปฉะนั้นฯ

ภวังคจิตเปรียบเหมือนกระแสนํ้าที่สิ้นสุดลงเมื่ออารมณ์ปรากฏทางทวารหนึ่งทวารใดใน 6 ทวาร   เมื่อปัญจทวารวิถีจิตหรือมโนทวารวิถีจิตดับไปแล้ว   กระแสภวังคจิตก็เกิดสืบต่อไปอีก

เมื่ออารมณ์กระทบทวารหนึ่งทวารใดในปัญจทวาร   กระแสภวังคจิตจะสิ้นสุดลง   แล้ววิถีจิตก็เกิดขึ้นรู้อารมณ์นั้น    แต่การรู้อารมณ์จะยังไม่เกิดทันที   เช่น   เมื่อเสียงกระทบกับโสตปสาท   จิตได้ยินจะเกิดทันทีไม่ได้    ภวังคจิตยังเกิดดับสืบต่อก่อนโสตทวาราวัชชนจิตเกิดขึ้นนึกถึงเสียงที่กระทบและจิตได้ยินเกิดขึ้น   ภวังคจิตไม่ได้ทำกิจนึกถึงเสียงที่กระทบโสตปสาท   ภวังคจิตไม่รู้เสียงนั้น   ภวังคจิตกระทำกิจของตนเองคือดำรงสืบต่อภพชาติไว้และมีอารมณ์ของตนเอง   คือมีอารมณ์เดียวกับปฏิสนธิจิต   แม้ว่าภวังคจิตไม่รู้เสียงที่กระทบโสตปสาท   แต่เสียงนั้นก็กระทบภวังคจิต   จึงทำให้ภวังคจิตไหว   ต่อจากนั้นกระแสภวังค์ก็สิ้นสุดลง   แล้วโสตทวารวิถีจิตก็เกิดขึ้นรู้เสียงนั้น

เมื่อรูปกระทบทวารและกระทบภวังคจิต   ภวังคจิตที่รูปกระทบเป็น อตีตภวังค์    ภวังคจิตต่อจาก
อตีตภวังค์เป็น ภวังคจลนะ   คือเป็นภวังคจิตที่ไหวเพราะอารมณ์กระทบ   แม้ว่าจะไม่รู้อารมณ์นั้นก็ตาม ภวังคจิตดวงสุดท้ายของกระแสภวังค์ก่อน
ปัญจทวารวัชชนจิตจะเกิดขึ้นนึกถึงอารมณ์นั้นเป็น ภวังคุปัจเฉทะ

ชื่อต่างๆที่บัญญัติขึ้นเรียกภวังคจิตนั้นไม่ได้หมายถึงกิจต่างๆ   ภวังคจิตมีเพียงกิจเดียวเท่านั้นคือ   ดำรงภพชาติของสัตว์    ชื่อต่างๆนั้นเพียงชี้ให้เห็นว่าเป็นภวังคจิตสามดวงสุดท้ายก่อนที่กระแสภวังค์จะสิ้นสุดลง   และวิถีจิตเกิดขึ้นรู้อารมณ์ใหม่   เมื่อวิถีจิตสิ้นสุดลง   กระแสภวังค์ก็เกิดสืบต่อดังนั้นการเกิดดับสืบต่อกันของจิตจึงไม่ขาดสายเลย

เมื่อวิถีจิตเกิดขึ้นรู้อารมณ์ที่กระทบทวารหนึ่งทวารใดใน 5 ทวารแล้ว   มโนทวารวิถีจิตก็เกิดขึ้นรู้อารมณ์นั้นสืบต่อ   โดยมีภวังคจิตเกิดคั่นระหว่างปัญจทวารวิถีจิตและมโนทวารวิถีจิต   เมื่อมโนทวารวิถีจิตดับไปแล้ว   กระแสภวังค์ก็เกิดดับสืบต่ออีก

อารมณ์ที่กระทบปสาทรูป 5 เป็นรูป    รูปเกิดแล้วก็ดับ   แต่รูปธรรมดับไม่เร็วเท่านามธรรม    รูปๆหนึ่งเป็นอารมณ์ของวิถีจิตหลายดวง   เช่น   เสียงซึ่งเป็นรูปที่กระทบกับโสตปสาท   ก็มีโสตทวารวิถีจิตหลายดวงเกิดขึ้นรู้เสียงนั้น    ก่อนวิถีจิตจะเกิด   ก็มีภวังคจิตเกิดก่อน   ภวังคจิต 3 ดวงสุดท้าย  คือ   อตีตภวังค์  ภวังคจลนะ   ภวังคุปัจเฉทะเกิดก่อนโสตทวารวิถีจิต

เมื่อกระแสภวังคจิตสิ้นสุดลง   โสตทวาราวัชชนจิตเกิดขึ้นรู้เสียงทางโสตทวาร    โสตทวารวิถีจิตอื่นๆที่เกิดต่อจากโสตทวาราวัชชนจิตต่างทำกิจของตนๆก่อนที่เสียงจะดับไป    รูป มีอายุเท่ากับ จิตเกิดดับ 17 ขณะ   นับตั้งแต่อตีตภวังค์เป็นต้นไป   ถ้าวิถีจิตทางโสตทวารเกิดครบทุกวิถี   ก็จะมีจิตเกิดดับสืบต่อกัน 17 ดวง    แต่ถ้ารูปซึ่งเป็นอารมณ์เกิดแล้วกระทบอตีตภวังค์หลายขณะ   รูปนั้นก็จะดับก่อน   วิถีจิตหลังๆจึงเกิดไม่ได้   เพราะเหตุว่ารูปมีอายุเท่ากับ 17 ขณะของจิตเท่านั้น   เมื่อวิถีจิตเกิดขึ้นจนถึงโวฏฐัพพนจิต   รูปก็ดับไป   กุศลจิตหรืออกุศลจิตก็เกิดไม่ได้    บางวาระอดีตภวังค์เกิดขึ้นแล้วดับไป   ภวังคจลนะเกิดขึ้นแล้วดับไป   แต่
ภวังคุปัจเฉทะไม่เกิด   เมื่อเป็นเช่นนั้นก็จะไม่มีวิถีจิต   เช่น  เสียงกระทบโสตปสาท   อตีตภวังค์เกิดขึ้นแล้วดับไป   ภวังคจลนะเกิดสืบต่อ   แต่ภวังคุปัจเฉทะไม่เกิด   กระแสภวังค์ไม่ขาด   โสตทวารวิถีไม่เกิด   ฉะนั้นจึงไม่ได้ยินเสียง

เมื่อปัญจทวารวิถีเกิดขึ้นรู้รูปซึ่งกระทบปสาท   และเมื่อวิถีจิตดวงสุดท้ายดับไปแล้ว   ภวังคจิตก็เกิดขึ้นอีก   แต่อารมณ์นั้นสามารถรู้ได้ทางมโนทวาร    ภวังคจิตสองดวงสุดท้าย คือ  ภวังคจลนะ  และ  ภวังคุปัจเฉทะ   จะเกิดก่อนมโนทวาราวัชชนจิต   มโนทวาราวัชชนจิตเกิดขึ้นรู้อารมณ์ทางมโนทวาร   สำหรับผู้ที่ไม่ใช่พระอรหันต์ กุศลจิต  หรือ  อกุศลจิต 7 ขณะเกิดสืบต่อมโนทวาราวัชชนจิต   สรุปมโนทวารวิถีจิตได้ดังนี้

ภวังคจลนะ
ภวังคุปัจเฉทะ
มโนทวาราวัชชนจิต
อกุศลจิตหรือกุศลจิต 7 ขณะ (สำหรับพระอรหันต์เป็นกิริยาจิต)

ทางมโนทวารวิถีนั้น   ก่อนภวังคจลนะเกิด   มีภวังคจิตเกิดดับสืบต่อกันมากมาย   และทางมโนทวารวิถีไม่มีอตีตภวังค์

เมื่อมโนทวารวิถีจิตดับไปหมดแล้ว   กระแสภวังค์เกิดอีกจนกว่าวิถีจิตซึ่งรู้อารมณ์ทางปัญจทวาร   หรือทางมโนทวารจะเกิดภวังคจิตนับไม่ถ้วนเกิดตลอดเวลาในชีวิตของเรา   ภวังคจิตเกิดคั่นปัญจทวารวิถีซึ่งรู้อารมณ์ทางทวาร 5   หรือมโนทวารวิถีซึ่งรู้อารมณ์ทางมโนทวาร

มโนทวาร คืออะไร?   มโนทวารต่างกับปัญจทวารซึ่งเป็นรูปปัญจทวาร   ได้แก่  จักขุปสาท  โสตปสาท   ฆานปสาท  ชิวหาปสาท   และกายปสาท   มีกายปสาททั่วร่างกาย    มโนทวารไม่ใช่รูปใดใน 5 รูปนี้    บางคนอาจสงสัยว่ามโนทวารเป็นนามหรือรูป เราควรจะพิจารณาว่า   มโนทวารวิถีจิตดวงแรกนั้นรู้อารมณ์ได้อย่างไร   มโนทวารวิถีจิตดวงแรกซึ่งนึกถึงอารมณ์   คือ  มโนทวาราวัชชนจิต    จิตดวงนี้ไม่นึกถึงอารมณ์ทางปัญจทวาร    ฉะนั้น  มโนทวาร จึงเป็น นามธรรม  เป็น จิต    จิตที่เกิดก่อนมโนทวาราวัชชนจิต   คือ  ภวังคุปัจเฉทจิต   ภวังคุปัจเฉทจิตคือมโนทวาร   ซึ่งมโนทวาราวัชชนจิตเกิดขึ้นนึกถึงอารมณ์สืบต่อจากภวังคุปัจเฉทะ

การศึกษาปัญจทวารวิถีจิตและมโนทวารวิถีจิตซึ่งเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย   จะทำให้เราเข้าใจสภาพธรรมว่าเป็นธาตุที่ไม่สามารถบังคับบัญชาได้   เป็นอนัตตา  เช่น   เราอาจรู้สึกดื่มดํ่าเมื่อได้ยินเสียงที่ไพเราะ   สภาพธรรมที่เรายึดถือว่าเป็นการได้ยินที่ยาวนานนั้น   ความจริงเป็นขณะสั้นนิดเดียว   เกิดแล้วก็ดับไป   ถึงแม้ว่าจะยังไม่รู้ว่าเป็นเสียงอะไร   เสียงนั้นก็ได้ผ่านมโนทวารแล้ว   เพราะจิตเกิดดับสืบต่อเร็วมาก   เสียงเกิดแล้วก็ดับเช่นเดียวกัน

ในสังยุตตนิกาย  สฬายตนวรรค   วีณาสูตร   พระผู้มีพระภาคตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า

"... ดูกรภิกษุทั้งหลาย   พระราชาหรือมหาอำมาตย์แห่งพระราชา   ยังไม่เคยได้ยินเสียงพิณ    พระราชาหรือมหาอำมาตย์แห่งพระราชา   ฟังเสียงพิณแล้ว พึงกล่าวอย่างนี้ว่า  แน่ะ   ท่านผู้เจริญ   นั่นเสียงอะไรหนอ  น่าชอบใจ   น่าใคร่  น่าบันเทิง   น่าหมกมุ่น   น่าพัวพันอย่างนี้

บุรุษนั้นกราบทูลว่า  "ขอเดชะ"   เสียงนั้นเป็นเสียงพิณ   เสีบงนั้นน่าชอบใจ  น่าใคร่   น่าบันเทิง  น่าหมกมุ่น   น่าพัวพันอย่างนี้"

พระราชาหรืออำมาตย์แห่งพระราชาพึงกล่าวว่า   "แน่ะท่านผู้เจริญ   ท่านทั้งหลายจงนำพิณนั้นมาให้แก่เรา"

ราชบุรุษทั้งหลายพึงนำพิณมาถวาย   พึงกราบทูลว่า  "นี่คือพิณนั้น   เสียงของพิณนี้น่าชอบใจ ...   น่าพัวพันอย่างนี้"

พระราชาหรือมหาอำมาตย์แห่งพระราชานั้นพึงกล่าวว่า   "แน่ะท่านผู้เจริญ   ฉันไม่ต้องการพิณนั้น   ท่านทั้งหลายจงนำพิณนั้นมาให้แก่เราเถิด"

ราชบุรุษกราบทูลว่า  "ขอเดชะ   ขึ้นชื่อว่าพิณนี้มีเครื่องประกอบหลายอย่าง   มีเครื่องประกอบมาก   นายช่างประกอบดีแล้วด้วยเครื่องประกอบหลายอย่าง   คือธรรมดาว่าพิณนี้อาศัยกระพอง   อาศัยแท่น  อาศัยลูกบิด   อาศัยนม  อาศัยสาย  อาศัยคัน   และอาศัยความพยายามของบุรุษซึ่งสมควรแก่พิณนั้น   มีเครื่องประดับหลายอย่าง   มีเครื่องประกอบมาก นายช่างประกอบดีแล้วด้วยเครื่องประกอบหลายอย่างจึงจะเปล่งเสียงได้"

พระราชาหรือมหาอำมาตย์ของพระราชาทรงผ่าพิณนั้น 10 เสี่ยงหรือ 100 เสี่ยง   แล้วกระทำให้เป็นส่วนน้อยๆแล้วพึงเผาด้วยไฟ   แล้วพึงกระทำให้เป็นเขม่าโปรยไปด้วยลมแรง   หรือพึงลอยไปเสียในแม่นํ้ามีกระแสอันเชี่ยว

ท้าวเธอตรัสอย่างนี้ว่า  "ท่านผู้เจริญ   ได้ยินว่า   ชื่อว่าพิณนี้เลวทราม   สิ่งหนึ่งสิ่งใดจะเลวทรามกว่าพิณนี้ไม่มี   เพราะพิณนี้คนต้องมัวเมาประมาท   หลงใหลจนเกินขอบเขตฉันใด"

ดูกรภิกษุทั้งหลาย   ภิกษุก็ฉันนั้นนั่นแล   ย่อมแสวงหารูปเท่าที่มีคติ   เวทนา  สัญญา   สังขารทั้งหลาย   วิญญาณเท่าที่มีคติอยู่ใด    เมื่อเธอแสวงหาวิญญาณเท่าที่มีอยู่ใด   ความยึดถือโดยคติของภิกษุนั้นว่าเรา   หรือว่าของเรา   หรือว่าเป็นเรา   แม้ความยึดถือนั้นก็ไม่มีแก่เธอฯ"

 

ดูสารบัญ

home     

ปัญหาถาม-ตอบ   หนังสือธรรมะ    พระไตรปิฎก

 

หมายเหตุ: คัดลอกจากหนังสือ  "พระอภิธรรมในชีวิตประจำวัน"
โดย  Nina Van Gorkom
แปลโดย  ดวงเดือน  บารมีธรรม
มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา

 

Click Here!

 

 


ดูสารบัญ