Buddhist Study | ธรรมจาริกในศรีลังกา
บทที่3 โดย นีน่า วัน กอร์คอม แปลโดย พ.อ. ดร. ชินวุธ สุนทรสีมะ |
|||
|
บทที่ ๓ ทานและศีล สามารถกระทำได้โดยปราศจากปัญญาหรือโดยปัญญา เมื่อเป็นการกระทำด้วยปัญญาก็เป็นกุศลขั้นสูงขึ้น ภาวนาหรือการอบรมจิตใจก็เป็นกุศลอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งไม่สามารถที่จะเจริญขึ้นได้โดยปราศจากปัญญา ภาวนามีสองชนิด คือ สมถภาวนาหรือการอบรมจิตให้สงบ และวิปัสสนาภาวนา หรือการอบรมเจริญปัญญา ภาวนาทั้งสองนี้ต้องอาศัยปัญญา แต่ปัญญาในสมถภาวนานั้นต่างจากปัญญาในวิปัสสนาภาวนา ภาวนาทั้งสองชนิดนี้มีความมุ่งหมายและข้อปฏิบัติต่างกัน สมถภาวนามุ่งหมายให้จิตสงบ สมถภาวนาระงับกิเลสได้เพียงชั่วคราว แต่ดับกิเลสไม่ได้ สมถภาวนาเป็นการเจริญกุศลทางหนึ่ง ผู้ที่เห็นโทษของอกุศลย่อมต้องการอบรมปัจจัยของกุศลให้มากขึ้น โอกาสที่จะให้ทานหรือรักษาศีลนั้นไม่ได้เกิดอยู่เสมอ แต่ถ้าได้เข้าใจการเจริญสมถะ ก็ย่อมเป็นเหตุปัจจัยให้จิตสงบแม้ในชีวิตประจำวัน ความสงบคืออะไร
เป็นความเพลิดเพลินกับธรรมชาติ
ฟังเสียงนกร้อง
อยู่ในสภาวะแวดล้อมที่เงียบสงบกระนั้นหรือ
สิ่งที่เราเรียกกันในภาษาธรรมดา
ๆ ว่า ความสงบ
นั้นไม่ใช่ความสงบที่เกิดจากสมถภาวนา
ความสงบที่เกิดจาก กุศลจิตทุกดวงสงบ
(ความสงบที่เกิดกับโสภณจิต (จิตที่ดีงาม)
ได้แก่เจตสิกสองอย่าง คือ
กายปัสสัทธิ (กายในที่นี้คือนามกาย)
เป็นเจตสิกที่ทำความสงบแก่เจตสิก
๑ และจิตตปัสสัทธ
เป็นเจตสิกที่ทำความสงบแก่จิต ๑)
ในขณะที่เรามีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่หรือขณะที่รักษาศีล
เราก็เป็นอิสระจาก หากผู้ใดมีปัญญารู้ลักษณะของความสงบและรู้อารมณ์ของความสงบ ย่อมเป็นปัจจัยให้จิตสงบยิ่งขึ้นได้ เราจะเห็นว่าความเข้าใจซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นในการเจริญสมถะนั้น ไม่ใช่ความเข้าใจแต่เพียงในทางทฤษฎีเท่านั้น ผู้เจริญสมถะจะต้องเรียนรู้ลักษณะของความสงบจากการปฏิบัติ และจะต้องรู้อย่างแน่นอนด้วยว่าขณะใดจิตเป็นกุศลและขณะใดเป็นอกุศล ในระหว่างการประชุม เราได้นำมาอภิปรายกันหลายครั้งหลายหนถึงคำว่า สมาธิ กล่าวโดยทั่วไปแล้วคนเรามักจะคิดว่า การนั่งในที่สงัดและพากเพียรอย่างเต็มที่ที่จะให้จิตตั้งมั่น เป็นการทำสมถะ เขาอาจจะพยายามอย่างมากที่จะให้จิตตั้งมั่น แต่จิตที่เกิดขึ้นในขณะนั้นเป็นจิตชนิดใดเล่า จิตตั้งมั่นด้วยความโกรธที่จิตเป็นสมาธิได้ยากนั้นหรือ จิตตั้งมั่นด้วยโลภะและโมหะอย่างนั้นหรือ นอกจากนั้นยังเป็นการไม่ถูกต้องด้วยเมื่อคิดว่าเป็น สมาธิของเรา เราไม่ควรลืมว่าสมาธิหรือสภาพตั้งมั่น (เอกัคคตาเจตสิก) นั้นเกิดกับจิตทุกดวง เอกัคคตาเจตสิกทำกิจตั้งมั่นในอารมณ์เดียว ขณะเห็นมีการตั้งมั่นที่สิ่งที่ปรากฎทางตา ขณะที่ขัดเคืองใจก็มีการตั้งมั่นในสิ่งที่ขัดเคืองใจนั้น เมื่อกระทำทานก็มีการตั้งมั่นในเรื่องทานนั้น เมื่อรักษาศีลก็มีการตั้งมั่นในเรื่องศีล เมื่อเจริญสมถะก็มีการตั้งมั่นในอารมณ์ของสมถะ โดยไม่จำเป็นต้องคิดถึงสมาธิเลย ถ้าหากมุ่งจดจ้องให้เกิดสมาธิแล้ว ก็ย่อมจะมีอภิชฌาและโทมนัสเกิดขึ้น เมื่อมีความเข้าใจถูกในจุดประสงค์ของสมถภาวนา และมีปัจจัยให้เกิดความสงบยิ่งขึ้นแล้ว สมาธิก็จะเพิ่มขึ้นโดยไม่ต้องพยายามจดจ้องเลย ถ้าผู้ใดสามารถเจริญความสงบขั้นสมถะได้ ก็ย่อมเป็นเพราะเหตุปัจจัยที่ได้เคยเจริญสมถะมาแล้วในอดีต ความสงบมีหลายขั้น ในสมัยพุทธกาลมีคนมากมายที่มีเหตุปัจจัยให้บรรลุถึงฌาน (อัปปนาสมาธิ) ในขณะที่ฌานจิตเกิดนั้นจะไม่มีการรู้กามอารมณ์ และโลภะ โทสะ และโมหะก็จะระงับไปชั่วขณะ เราจะเจริญสมถะในชีวิตประจำวันได้หรือไม่ ในเมื่อไม่ได้ปลีกตนออกไปอยู่ในที่วิเวกและไม่มีปัจจัยให้บรรลุฌาน ก็ยังมีความสงบได้บ้างในชีวิตประจำวัน วิสุทธิมรรค (บทที่ ๔-๑๒) ได้กล่าวถึงสมถกรรมฐาน ๔๐ ที่เป็นอารมณ์ของความสงบ การพิจารณาซากศพ สำหรับบางคนอาจเป็นเหตุให้เกิดความไม่สบายใจ แต่ถ้าหากพิจารณาอย่างถูกต้องก็ย่อมจะเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดกุศลจิตที่สงบได้ บางคนอาจตระหนักความจริงว่าร่างกายของคนเราก็ไม่ต่างอะไรกับซากศพ ที่ประกอบไปด้วยรูปซึ่งไม่รู้อะไรเลยและไม่ใช่ตัวตน รูปเกิดขึ้น แล้วก็ดับไปไม่คงทนถาวร ฉะนั้นจะเห็นได้ว่า ปัญญาต่างหากที่เป็นปัจจัยให้เกิดความสงบ หาใช่การจดจ้องไม่ อานาปานสติ
การระลึกรู้ลมหายใจเข้าออกเป็นอีกกรรมฐานหนึ่งในสมถกรรมฐาน
๔๐
วิสุทธิมรรคได้อธิบายไว้ว่า
เป็นกรรมฐานที่ยากยิ่ง
เป็นกรรมฐานที่ยากที่สุดกรรมฐานหนึ่งทีเดียว
จะต้องมีความเข้าใจถูกเรื่องลมหายใจเข้าออก เรายึดมั่นในชีวิต
ร่างกายและทรัพย์สมบัติ
แต่ถึงอย่างไรชีวิตของเราก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยเล็ก
ๆ ที่เป็นลมหายใจนี้เท่านั้น ลมหายใจเป็นสภาพละเอียดอ่อน
และไม่ใช่ว่าทุกคนจะระลึกรู้ได้
ยากที่จะรู้ว่าเมื่อใดสิ่งที่ปรากฏนั้นเป็นลมหายใจ พุทธานุสติ ธรรมานุสติ และสังฆานุสติก็เป็นสมถกรรมฐานด้วยเช่นกัน เราสักการะพระพุทธ พระธรรม และ พระสงฆ์ เพราะได้รับการอบรมมาเช่นนั้น โดยไม่เข้าใจพระคุณของพระผู้มีพระภาคและพระธรรม จิตอาจจะเป็นกุศลแต่ก็ไม่ใช่ขั้นภาวนา ความเข้าใจถูกในอารมณ์กรรมฐานเป็นสิ่งที่จำเป็นยิ่งสำหรับการภาวนา ถ้าเข้าใจพระคุณของพระพุทธองค์และพระสัทธรรมของพระองค์แล้ว ก็อาจจะเป็นปัจจัยให้จิตสงบและใสสะอาดปราศจากโลภะ โทสะ และโมหะได้หลายขณะจิต ซึ่งเกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวันโดยไม่จำเป็นต้องไปยังที่วิเวก ข้อสำคัญคือความเข้าใจถูก และถ้าไม่มีความเข้าใจถูกแล้วสถานที่วิเวกก็จะไม่เป็นสัปปายะเลย ถ้าใครนั่งหน้าพระพุทธรูปและภาวนาคำว่า พุทโธ พุทโธ โดยปราศจากปัญญา กุศลจิตอาจเกิดขึ้นได้ แต่ก็ไม่ใช่กุศลขั้นภาวนา พรหมวิหาร
อันประกอบด้วย เมตตา กรุณา มุทิตา
(ความพลอยยินดี) และอุเบกขา
(ความวางเฉย) เป็นสมถกรรมฐาน
แต่กรรมฐานเหล่านี้ก็เจริญไม่ได้
ถ้าไม่มีปัญญาที่รู้ลักษณะของคุณธรรมเหล่านี้
บางคนอาจท่องกรณีย เมื่ออยู่ร่วมกับคนอื่นๆ ก็ควรเจริญเมตตา และควรจะศึกษาให้รู้ว่าขณะใดมีโลภะซึ่งเป็นอกุศล และขณะใดมีเมตตาซึ่งเป็นกุศล จะต้องรู้ความต่างกันของโลภะ กับ เมตตาอย่างชัดเจน เราอาจข้องใจว่าจะเป็นไปได้หรือที่เราจะเจริญเมตตาต่อ สำหรับความกรุณานั้น
เราแน่ใจไหมว่าขณะใดมีความกรุณาจริง
ๆ
เราอาจหลงเข้าใจว่าความไม่สบายใจเป็นความกรุณาไปก็ได้
เช่น
ขณะที่เห็นคนเตะสุนัขก็ไม่พอใจ สมถกรรมฐานอีกอย่างหนึ่งก็คือ กายคตาสติ ได้แก่ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายไม่ปรากฎแก่เราในวันหนึ่ง ๆ หรอกหรือ แทนที่จะมีโลภะ หรือโทสะ เราก็จะสงบได้ชั่วขณะถ้าหากเข้าใจกายคตาสติถูกต้อง เรายึดมั่นร่างกาย และคิดว่าสวยงาม แต่ถ้าเราพิจารณาร่างกายเป็นส่วน ๆ ไป เราก็อาจจะเห็นได้ว่าไม่มีความงามอะไรเลย เป็นแต่เพียงธาตุต่าง ๆ เท่านั้น เวลาเราสระผมหรือตัดเล็บก็อาจสงบได้ชั่วขณะ เมื่อพิจารณา ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เราสามารถเจริญกายคตาสติได้ในชีวิตประจำวัน สมัยก่อนการตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น
สมถภาวนาเป็นกุศลขั้นสูงที่สุด
ตามที่ได้ทราบแล้วว่าปัญญาเป็นสิ่งที่สำคัญในการเจริญสมถะ
ปัญญาขั้นสมถะ
รู้ความต่างกันของกุศลจิตและอกุศลจิตอย่างชัดเจน
และรู้เหตุปัจจัยที่จิตจะสงบได้
สมถะเป็นหนทางอันหนึ่งที่จะทำให้ปราศจาก
home ปัญหาถาม-ตอบ หนังสือธรรมะ หมายเหตุ:
คัดลอกจากหนังสือ
"ธรรมจาริกในศรีลังกา"
|
|