Buddhist Study 

จากพระไตรปิฎก


home
ปัญหาถาม-ตอบ
หนังสือธรรมะ
ถาม-ตอบจากหนังสือ
อ่านหนังสือธรรมะ


 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


สารบัญ

1.    พระเจ้าปายาสิผู้ไม่เชื่อเรื่องโลกหน้า
2.    เงินทองของบาดใจ
3.    โทษของกาม
4.    ปัญหาการบริโภคเนื้อสัตว์
5.    เหมือนไฟสิ้นเชื้อแล้วดับไป
6.    กลุ่มคำสอนว่าด้วยความแก่
7.    หลักในการดูคน

 

ความเป็นมาของพระไตรปิฎก

ความหมายของพระไตรปิฎก
ความเป็นมา
การสังคายนา
การจัดแบ่งหมวดหมู่

ความหมายของพระไตรปิฤก

พระไตรปิฎก   ตามรูปศัพท์แล้วหมายถึง 3คัมภีร์ หรือตำราที่รวบรวมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าไว้เป็นหมวดหมู่   ไม่ให้กระจัดกระจาย
พระไตรปิฎก  แบ่งออกเป็น 3  คือ

1.  วินัยปิฏก          ว่าด้วยวินัยหรือศีลของพระภิกษุและ                             ภิกษุณี
2.  สุตตันตปิฎก     ว่าด้วยพระธรรมเทศนา   คำบรรยาย                             ธรรมต่างๆ
3.  อภิธรรมปิฎก     ว่าด้วยหลักธรรม   และคำอธิบายที่                              เป็นหลักวิชาล้วนๆ

ความเป็นมา

ในสมัยที่พระพุทธเจ้า   ยังทรงพระชนม์อยู่นั้น   หลักธรรมคำสอนต่างๆของพระองค์ยังไม่ได้รวบรวมจัดเป็นหมวดหมู่   อย่างมีระเบียบแบบแผน   ซึ่งเมื่อจะกล่าวถึงความเป็นมาแห่งพระไตรปิฎก   จำต้องกล่าวถึงเหตุการณ์ตั้งแต่ยังมิได้จารึกเป็นลายลักษณ์อักษร    รวมทั้งหลักฐานการท่องจำและข้อความที่กระจัดกระจาย   ยังไม่ได้จัดไว้เป็นหมวดหมู่   จนถึงมีการสังคายนา

ส่วนที่เกี่ยวข้องกับประวัติความเป็นมานั้น   ได้มีสาวกในพระพุทธศาสนา 4 รูปด้วยกันคือ

1.  พระอานนท์  ผู้เป็นพระอนุชา (ลูกพี่ลูกน้อง)   และเป็นผู้อุปฐากรับใช้ใกล้ชิดของพระพุทธเจ้า   ในฐานะที่ทรงจำพระพุทธวจนะไว้ได้มาก
2.  พระอุบาลี   ผู้เชี่ยวชาญทางพระวินัย
3.  พระโสณะกุฏิกัณณะ   ผู้เคยท่องจำบางส่วนแห่งพระสุตตันตปิฎก และ กล่าวข้อความนั้นด้วยปากปล่าว ในที่เฉพาะพระพักตร์ของพระพุทธเจ้า
4.  พระมหากัสสปะ   ในฐานะผู้ริเริ่มให้มีการสังคายนา จัดระเบียบพระพุทธวจนะให้เป็นหมวดหมู่

การสังคายนา

การสังคายนาคือ การประชุมสงฆ์จัดระเบียบหมวดหมู่พระพุทธวัจนะ แล้วรับทราบในที่ประชุมว่า   ตกลงกันอย่างนี้   และก็มีการท่องจำสืบๆกันต่อมา

ในครั้งแรก  การสังคายนา   ปรารภเหตุความมั่นคงแห่งพระพุทธศาสนา   จึงได้จัดหมวดหมู่ พระพุทธวจนะไว้    ในครั้งต่อมาปรากฏว่า   มีการถือผิด ตีความผิด   จนถึงมีการชำระวินิจฉัยข้อที่ผิด ตีความหมายผิด   และนำมาชำระกันใหม่
สำหรับประเทศไทย   ได้เริ่มมีการทำสังคายนาขึ้นเป็นครั้งแรกในสมัยของพระเจ้าติโลกราช   โดยกระทำที่เมืองเชียงใหม่   ประมาณ พ.ศ. 2020

ครั้งที่ 2   ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช    โดยกระทำที่กรุงเทพฯ   ประมาณ พ.ศ. 2331
ในการทำสังคายนาทั้ง 2 ครั้งนี้   เป็นเพียงการชำระพระไตรปิฎกและจารึกลงในใบลานเท่านั้น

จนถึงในสมัยสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว   ทรงริเริ่มให้มีการจัดพิมพ์พระไตรปิฎกขึ้นเป็นอักษรไทย
ในการพิมพ์ครั้งแรกนี้พิมพ์ได้เพียง 35 เล่มเท่านั้น  ยังขาดหายไป   ไม่ได้พิมพ์อีก 6 เล่ม    จนต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว   ได้พิมพ์เพิ่มเติมอีกจนครบ 45 เล่ม  ตามฉบับภาษาบาลีเดิม   เรียกว่า  ฉบับสยามรัฐ

และในที่สุด  สำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยมหิดล   ก็ได้ดำเนินการบันทึกข้อมูลพระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ   ซึ่งมีปริมาณข้อมูลมากที่สุด   เพื่อบรรจุไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์   โดยการสร้างโปรแกรม   ระหว่างภาษาไทยและภาษาบาลีขึ้น   เพื่อให้สามารถค้นหาทุกคำศัพท์ วลี และพุทธภาษิต   ได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้องและครบถ้วนสมบูรณ์   เรียกว่า  พระไตรปิฎก ฉบับคอมพิวเตอร์

การจัดแบ่งหมวดหมู่

พระไตรปิฎก   จัดแบ่งหมวดหมู่โดยย่อดังนี้ คือ

1.   พระวินัยปิฎก    เป็นเรื่องที่ว่าด้วยวินัยหรือบทบัญญัติที่เกี่ยวกับหลักแห่งความประพฤติ   มารยาท   ความเป็นอยู่ขนบธรรมเนียม   และการดำเนินชีวิตแบบพรหมจรรย์ ของภิกษุและภิกษุณี    แบ่งเป็น 3 หมวด  มี 5 คัมภีร์   คือ

1.1   สุตตวิภังค์หรือวิภังค์   หมวดว่าด้วยสิกขาบท   หรือศีลสำคัญของภิกษุและภิกษุณี มี 2 คัมภีร์  คือ
     - มหาวิภังค์   ข้อห้ามหรือวินัยหลักใหญ่ๆของภิกษุ
     - ภิกขุนีวิภังค์   ข้อห้ามหรือวินัยของพระภิกษุทั้งหมด
1.2   ขันธกะ    หมวดว่าด้วยบทบัญญัติต่างๆเกี่ยวกับสังฆกรรม   พิธีกรรม   ความเป็นอยู่และข้อปฏิบัติของสงฆ์   รวมทั้งมารยาทและความประพฤติทั่วๆไป   เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยน่าเลื่อมใสแก่สาธุชนโดยทั่วไป   แบ่งออกเป็น 2 วรรค (คัมภีร์)   คือ
     - มหาวรรค   พุทธประวัติและพิธีกรรมทางพระวินัย
     - จุลวรรค   ความเป็นมาของพระภิกษุณี   รวมทั้งประวัติการทำสังคายนา
1.3   บริวาร    หมวดว่าด้วยข้อเบ็ดเตล็ดทางพระวินัย   บทสรุปแห่งข้อความทั้งหมดของพระวินัย   โดยตั้งเป็นคำถามและคำตอบ   เพื่อความเข้าใจที่แจ่มชัดเกี่ยวกับเรื่องพระวินัยสงฆ์

2.   พระสุตตันตปิฎก    เป็นเรื่องว่าด้วยประมวลพระสูตรหรือพระธรรมเทศนา   ซึ่งพระองค์ทรงตรัสไว้แก่บุคคลต่างๆ ในเวลาและสถานที่แตกต่างกัน   เป็นรูปคำสนทนา     โต้ตอบบ้าง   คำบรรยายบ้าง   หรือเป็นรูปคำประพันธ์บ้างก็มี    แบ่งออกเป็น 5 นิกาย  ดังนี้

2.1   มัชฌิมนิกาย   ประมวลพระสูตรขนาดกลาง   ซึ่งมีคำอธิบายแบบวิธีอุปมาอุปมัย   แบ่งออกเป็น 3 หมวด  เรียกว่า   ปัณณาสก์
2.2   สังยุตตนิกาย   ประมวลพระสูตรซึ่งเกี่ยวข้องกับบุคคล   สถานที่   และข้อธรรมเรื่องเดียวกัน   ไว้เป็นหมวดหมู่  เรียกว่า   สังยุตต์
2.3   อังคุตตรนิกาย   ประมวลพระสูตรซึ่งจัดรวมเข้าเป็นหมวดเรียกว่า   นิบาต ตามลำดับจำนวนหัวข้อธรรม
2.4   ขุททกนิกาย    ประมวลพระสูตร  คาถาภาษิต   และคำอธิบายเรื่องราวเบ็ดเตล็ด ซึ่งจัดเข้าไว้ในสี่นิกายแรกไม่ได้   (หรือบทสวดสั้นๆ บทร้องกรองธรรมเป็นต้น)
 
3.   พระอภิธรรมปิฎก   เป็นเรื่องว่าด้วยหลักธรรมต่างๆ   ซึ่งอธิบายเนื้อความแท้ของธรรมะอย่างตรงไปตรงมา   ไม่เกี่ยวข้องกับบุคคล   สถานที่  หรือเหตุการณ์ใดๆ โดยแบ่งออกเป็น 7 คัมภีร์  คือ

3.1   ธรรมสังคณี    รวมข้อธรรมเข้าเป็นหมวดหมู่แล้วอธิบายทีละประเภท
3.2   วิภังค์   ยกหมวดธรรมในสังคณีขึ้นตั้งเป็นหัวเรื่อง   แล้วแยกแยะอธิบายโดยละเอียด
3.3   ธาตุกถา    จัดข้อธรรมหรือสงเคราะห์ความเข้ากันได้   โดยถือ  ขันธ์  อยาตนะ   และธาตุ  เป็นหลัก
3.4   ปุคคลบัญญัติ   บัญญัติความหมายของบุคคลประเภทต่างๆ ตามคุณธรรมที่มีอยู่ในบุคคลนั้น
3.5   กถาวัตถุ    คำถามคำตอบเกี่ยวกับทรรศนะของนิกายต่างๆ ซึ่งขัดแย้งกันอยู่   โดยถือมติฝ่ายเถรวาทเป็นหลัก
3.6   ยมก   ยกข้อธรรมขึ้นอธิบายเป็นคู่ๆ ด้วยวิธีถามตอบ
3.7   ปัฏฐาน   อธิบายปัจจัย 24 แสดงความสัมธ์อันเกี่ยวเนื่องกันของธรรมทั้งหลาย

 

หมายเหตุ:  คัดลอก/ย่อความ จาก หนังสือ "พระไตรปิฎกสำหรับเยาวชน" เล่ม 1

home     ปัญหาถาม-ตอบ      หนังสือธรรมะ
ถาม-ตอบจากหนังสือ   อ่านหนังสือธรรมะ

          25/07/01                        

Click Here!