Buddhist Study | ธรรมจาริกในศรีลังกา
บทที่ 4 โดย นีน่า วัน กอร์คอม แปลโดย พ.อ. ดร. ชินวุธ สุนทรสีมะ |
|||
|
บทที่ ๔ ปัญญาที่เกิดจากการเจริญวิปัสสนานั้นประจักษ์สภาพธรรมตามความเป็นจริง คือ อนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา ปัญญาขั้นประจักษ์แจ้งนี้จะต้องอบรมเจริญ จะเกิดโดยปราศจากเหตุปัจจัยไม่ได้เลย เราได้สะสมอวิชชาและความเห็นผิดมาอย่างมากมายนับภพนับชาติไม่ถ้วน
จากคำสอนของพระบรมศาสดาเราทราบว่าการเห็นไม่ใช่ตัวตน
การได้ยินก็ไม่ใช่ตัวตน
และธรรมทั้งหลายไม่ใช่ตัวตน
อย่างไรก็ตามเมื่อการเห็นเกิดขึ้นนั้น
เรารู้สภาพเห็นตามความเป็นจริงหรือเปล่า
หรือว่าเรายังคิดว่าเป็นตัวเราที่เห็นหรือคิดว่าเป็น
การเห็นของเรา หรือเปล่า
เรายังคงคิดว่าเป็นการได้ยินของเรา
การคิดของเรา พระผู้มีพระภาคตรัสเรื่องสภาพธรรมทั้งหมดซึ่งปรากฏทางทวาร ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ พระองค์ตรัสเรื่องการเห็นกับสิ่งที่ปรากฏทางตา เสียงกับการได้ยิน และสภาพธรรมอื่น ๆ ทั้งหมด ในสังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค สัพพวรรคที่ ๓ ข้อ ๒๔ มีข้อความว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสิ่งทั้งปวงแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังข้อนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเป็นสิ่งทั้งปวง จักขุกับรูป จมูกกับกลิ่น ลิ้นกับรส กายกับโผฏฐัพพะ ใจกับธรรมารมณ์ อันนี้เรากล่าวว่าสิ่งทั้งปวง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่าเราบอกปฏิเสธสิ่งทั้งปวง จักบัญญัติสิ่งอื่นแทน วาจาของผู้นั้นคงเป็นของศักดิ์สิทธิ์ดุจเทพเจ้า แต่ครั้นถูกถามเข้าก็คงไม่ปริปากได้ และยิ่งจะอึดอัดลำบากใจ ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะข้อนั้นไม่ใช่วิสัยฯ นอกเหนือจากสภาพธรรมซึ่งสามารถรู้ได้โดยทวารทั้งหกนี้แล้ว ก็ไม่มีสภาพธรรมอื่นใดอีกเลย ในสูตรเดียวกันนี้มีข้อความต่อไปว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมแก่เธอทั้งหลายเพื่อรู้ยิ่งรอบรู้แล้วละสิ่งทั้งปวง เธอทั้งหลายจงฟังธรรมนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมสำหรับรู้ยิ่ง รอบรู้แล้วละเสียซึ่งสิ่งทั้งปวงเป็นไฉน จักขุรูป จักขุวิญญาณ จักขุสัมผัส เป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่ง ควรรอบรู้แล้วละ แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ก็เป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่ง ควรรอบรู้แล้วละเสีย ฯลฯ ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส เป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่ง ควรรอบรู้แล้วละเสีย แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยก็เป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่ง ควรรอบรู้แล้วละเสีย นี้เป็นธรรมสำหรับรู้ยิ่งรอบรู้แล้วละสิ่งทั้งปวงเสีย สภาพธรรมเหล่านี้เป็นธาตุต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นแล้วก็ดับไปหาใช่สัตว์บุคคลที่ยั่งยืนไม่ การเห็นก็ไม่ใช่บุคคลไม่ใช่ตัวตน
แต่เป็นเพียงสภาพรู้
คือจิตขณะหนึ่ง
ซึ่งเกิดขึ้นกระทำกิจเห็นแล้วก็ดับไปในทันที
เราไม่มีอำนาจเหนือการเห็น
การเห็นไม่ได้เป็นของเรา
การเห็นเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีเหตุปัจจัยสำหรับการเห็นนั้น
เมื่อไม่มีจักขุปสาท
การเห็นก็เกิดไม่ได้
จักขุปสาทเป็นปัจจัยหนึ่งของการเห็น
เราเป็นนายเหนือจักขุปสาทของเราหรือเปล่า
เราเป็นผู้สร้างจักขุปสาทของเราหรือเปล่า
สิ่งที่ปรากฏทางตาก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งของการเห็น
เมื่อไม่มีสิ่งที่ปรากฏทางตา
การเห็นก็เกิดไม่ได้
สภาพธรรมทุกอย่างในตัวเราและรอบ
ๆ ตัวเรา
เกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีปัจจัยอันเหมาะสมที่จะทำให้สภาพธรรมนั้น
ๆ เกิดขึ้น
หากปราศจากปัจจัยอันควรแล้วสภาพธรรมเหล่านี้ก็จะเกิดขึ้นไม่ได้
ถึงแม้ว่าเราปรารถนาที่จะให้เกิดขึ้นก็ตาม
เราบังคับบัญชาสภาพธรรมไม่ได้
เราคิดว่าตัวเราจะเป็นนายเหนือจิตใจและร่างการของเรากระนั้นหรือ
เราสามารถจะป้องกันไม่ให้จิตใจและ
ร่างกายเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลาได้ละหรือ สิ่งที่เราเรียกว่า
ชีวิต หรือ โลก
นั้นก็เป็นแต่เพียงนามธรรม
ซึ่งสามารถรู้อารมณ์
และรูปธรรมซึ่งไม่สามารถรู้อารมณ์
การเห็นเป็นนามธรรมเพราะรู้สิ่งที่ปรากฏทางตา มีผู้ถามว่าเราจะเรียกสิ่งที่เป็น
นาม ว่าเป็นตัวรู้
และเรียกรูปว่า
เป็นสิ่งที่ถูกรู้ จะได้หรือไม่
นามก็สามารถเป็นสิ่งที่ถูกรู้ได้ด้วย
นามธรรมเป็นสภาพธรรมที่รู้ได้ทั้งรูปและนาม ดูเหมือนกับว่า การจำแนกสภาพธรรมในตัวเราและนอกตัวเรา เป็นนามกับรูปนั้นจะยุ่งยากสับสน แต่แท้ที่จริงแล้วการจำแนกเช่นนี้ไม่ง่ายกว่าการติดอยู่ในชื่อและค่านิยมต่าง ๆ ที่เราบัญญัติขึ้นดอกหรือ เราอาจจะพยายามนำเอาปรัชญาหรือศัพท์ทางวิชาการต่างๆ ที่เราได้เคยเรียนรู้ไปปรับใช้กับพระพุทะศาสนา เราไม่ได้พยายามทำให้พระพุทธศาสนามีทัศนะเดียวกับทัศนะในชีวิตของเราและ โลกของเรา ดอกหรือ เหตุไฉนเราจึงไม่ลืมเรื่องที่เราเคยเรียนและเคยคิดเรื่องเหล่านี้ แล้วศึกษาสภาพธรรมที่ปรากฏอยู่ในขณะนี้เล่า ด้วยวิธีนี้เท่านั้นที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าอะไรเป็นความจริงแท้แน่นอน การเจริญวิปัสสนานั้นรู้แจ้งอะไร รู้เก้าอี้ด้วยวิปัสสนาได้ไหม รู้บุคคลด้วยวิปัสสนาได้ไหม รู้สภาพแข็งด้วยวิปัสสนาได้ไหม ปัญหาเหล่านี้เป็นเรื่องสำคัญที่เราแสดงความคิดเห็นกันในการประชุม สภาพแข็งรู้ได้เมื่อปรากฏที่กายปสาท ขณะนี้ไม่มีสภาพแข็งหรือ การรู้สภาพแข็งนั้นไม่จำเป็นต้องคิดถึงแข็งหรือเรียกชื่อแข็งเลย สภาพแข็งมีจริง เป็นรูปธรรมซึ่งกระทบสัมผัสรู้ได้ รู้เก้าอี้ทางกายได้ไหม เราคิดว่าเราสัมผัสเก้าอี้ได้ แต่ความจริงแล้วเรากระทบกับอะไรกันแน่ สภาพแข็งหรืออ่อนต่างหากที่กระทบได้จริง ๆ เก้าอี้นั้นกระทบไม่ได้ เป็นแต่เพียงความคิดที่เกิดขึ้นในใจของเราเท่านั้น ความคิด คิดได้สารพัด คิดเรื่องสภาพธรรมและคิดเรื่องสมมุติบัญญัติต่าง ๆ ซึ่งไม่ใช่สภาพธรรม ขณะที่คิดว่าเห็นคน ขณะนั้นไม่ใช่การเห็น แต่เป็นการคิดถึงบัญญัติ สิ่งที่ปรากฏทางตาเท่านั้นที่เห็นได้ทาง จักขุปสาท ขณะที่สัมผัสสิ่งที่เรายึดถือว่าเป็นคนนั้น อะไรปรากฏ แข็ง อ่อน ร้อน หรือเย็น เท่านั้นที่รู้ได้ด้วยกายปสาท หาใช่คนไม่ พระบรมศาสดาได้ทรงสอนว่าไม่มีบุคคลหรือตัวตนเลย แต่ทว่าเราก็ได้สะสมอวิชชาและความเห็นผิด ที่ทำให้รู้สึกเหมือนว่าเราเห็นและสัมผัสคน เราอาจจะรู้สึกว่ายากที่จะเข้าใจว่า โดยแท้จริงแล้วไม่มีคนเลย การไม่มีคนนั้นหาได้หมายความว่าไม่มีสภาพธรรม สิ่งที่เราไปยึดถือว่าเป็นคนนั้นก็คือ เป็นนามธรรมและรูปธรรมต่าง ๆ ซึ่งเกิดขึ้นและดับไป สภาพธรรมเหล่านั้นได้แก่ การเห็น การคิด หรือความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่เป็นต้น ไม่ใช่คนและไม่ยั่งยืน เวลาที่เราคิดว่าคนนี้โอบอ้อมอารีนั้น แท้ที่จริงแล้วก็เป็นเพียงจิตขณะหนึ่งที่โอบอ้อมอารีเท่านั้น ซึ่งเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยแล้วดับไป คุณสุจินต์ได้กล่าวว่า เวลาให้ทำไมเราจึงชอบใส่ตัวคนลงไปในการให้ เรารู้ได้จากการเจริญวิปัสสนาว่าอะไรจริง และอะไรไม่จริง บัญญัติต่าง ๆ ไม่ใช่อารมณ์ของสติปัฏฐานเพราะไม่ใช่สิ่งที่มีจริง นามและรูปต่าง ๆ ที่ปรากฏทีละอย่างต่างหากที่เป็นสิ่งที่จะต้องอบรมเจริญปัญญา สติ ในการเจริญวิปัสสนานั้นเป็นอย่างไร นี่เป็นอีกหัวข้อหนึ่งของการอภิปรายของเรา สติที่กำลังระลึกรู้อารมณ์นั้นเหมือนกับจิตที่รู้อารมณ์หรือเปล่า เช่น ในขณะที่จิตรู้แข็งนั้นมีสติระลึกรู้ในความแข็งนั้นหรือเปล่า สภาพระลึกรู้ หรือสติในภาษาบาลีนั้น เกิดขึ้นกับโสภณจิต (จิตที่ดีงาม) สติเป็นสภาพธรรมฝ่ายดี สติมีหลายระดับ สติที่เกิดกับทาน กุศลจิตที่กระทำทานนั้นเกิดไม่ได้ถ้าสติไม่เกิด สติเกิดกับศีลก็มี ขณะที่กุศลจิตเกิดขึ้นรักษาศีล ขณะนั้นสติก็ระลึกที่จะละเว้นทุจริตกรรม กุศลจิตที่เจริญสมถภาวนาก็มีสติเกิดร่วมด้วยโดย ระลึกรู้ อารมณ์ของสมถภาวนา กุศลจิตที่เจริญวิปัสสนาก็มีสติเกิดร่วมด้วย สติขั้นวิปัสสนาต่างกับสติขั้นสมถภาวนา สติขั้นวิปัสสนานั้นระลึกรู้นามหรือรูปที่ปรากฏขณะนี้ ทางทวารใดทวารหนึ่งใน ๖ ทวาร อารมณ์ที่สติขั้นวิปัสสนาระลึกรู้อาจเป็นสิ่งที่ปรากฏทางตา การเห็น เสียง การได้ยิน การคิด หรือสภาพธรรมอื่นๆ ที่ปรากฏในขณะนี้ เพื่อที่จะเข้าใจถึงกิจหน้าที่ของสติขั้นวิปัสสนาแจ่มแจ้งขึ้น เราควรเข้าใจอารมณ์ของสติเสียก่อน สติระลึกรู้ลักษณะของจิตได้ยินได้ แล้วสติจะระลึกรู้ได้ยินเดี๋ยวนี้ไม่ได้หรือ จิตได้ยินไม่มีสติเกิดร่วมด้วย จิตได้ยินทำกิจได้ยินเท่านั้น คือ เพียงแต่รู้เสียงแล้วก็ดับไป แต่สติทำกิจระลึกรู้ เราไม่ต้องคอยนับว่าจิตเกิดขึ้นแล้วดับไปกี่ขณะหลังจากได้ยิน และก่อนที่สติจะระลึกรู้สภาพได้ยินนั้น สติเกิดกับกุศลจิต แต่อกุศลจิตก็เป็นอารมณ์ของสติได้ เช่น จิตที่ไม่พอใจเป็นอารมณ์ของสติได้ เมื่อความไม่พอใจดับไปแล้วจิตที่มีสติก็เกิดขึ้น แต่ลักษณะของความไม่พอใจจะไม่ปรากฏกับสติเลยกระนั้นหรือ ความไม่พอใจต่างกับความพอใจหรือการเห็น สติรู้สภาพธรรมที่ต่างกันเหล่านี้ได้ การมีสติระลึกรู้สภาพธรรม ไม่เหมือนกับการรู้อารมณ์ของจิต เช่น ขณะที่สภาพแข็งกระทบกับกายปสาท จิตที่เพียงรู้ว่าแข็งก็เกิดขึ้นทำกิจรู้สภาพแข็ง จิตดวงนี้ไม่มีความพอใจหรือไม่พอใจต่ออารมณ์นั้นเลย และก็ไม่มีปัญญาด้วย เป็นเพียงสภาพรู้ความแข็งทางกายปสาทแล้วก็ดับไป เมื่อจิตดวงนี้ดับไปและจิตอื่นเกิดดับสืบต่อแล้วไม่นาน อกุศลจิตหรือกุศลจิตจึงเกิด ถ้าหากมีเหตุปัจจัยให้สติเกิดกับกุศลจิต ก็จะระลึกรู้และ พิจารณาศึกษา ลักษณะของสิ่งที่ปรากฏนั้นเพื่อปัญญาจะได้เจริญขึ้น ปัญญาเกิดขึ้นทันทีไม่ได้ แต่จะเจริญขึ้นโดยการมีสติระลึกรู้ เราเคยศึกษาแต่เพียงจากการอ่านการฟังหรือการคิดเท่านั้น ซึ่งไม่เหมือนการศึกษาโดยมีสติระลึกรู้ เพราะเป็นการศึกษาโดยระลึกรู้นามและรูปต่าง ๆ ตามที่ปรากฏทีละอย่าง คุณสุจินต์ กล่าวบ่อย ๆ ว่า ถ้าไม่พิจารณาศึกษา ปัญญาก็เจริญไม่ได้ สติระลึกรู้สภาพธรรมได้ทีละอย่างเท่านั้น เราจะรู้อารมณ์มากกว่าหนึ่งอารมณ์ในขณะเดียวกันได้ไหม ดูเหมือนว่าเราเห็นและได้ยินพร้อมกัน แต่จิตที่เกิดขึ้นแต่ละดวงนั้นรู้อารมณ์ได้อารมณ์เดียวแล้วก็ดับไป แล้วจิตดวงต่อไปก็เกิดขึ้นสืบต่อ จิตเห็นสิ่งที่ปรากฏทางตาโดยจักขุทวารแล้วก็ดับไป จิตได้ยินก็ต่างกับจิตเห็นอย่างสิ้นเชิง จิตได้ยินเสียงทางโสตทวารแล้วก็ดับไป จิตเกิดขึ้นได้ขณะละหนึ่งดวงเท่านั้นคือ รู้อารมณ์ทีละขณะ ด้วยเหตุที่จิตเกิดขึ้นแล้วดับไปอย่างรวดเร็ว จึงทำให้รู้สึกเสมือนว่าการเห็นและการได้ยินนั้นคงอยู่ชั่วขณะ และเกิดขึ้นพร้อม ๆ กันได้ แต่ความจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ ขณะนี้ไม่มีการเห็นหรือการได้ยินเลยหรือ
แต่การหลงลืมมีอยู่บ่อย ๆ
ไม่ได้ศึกษาพิจารณาสภาพธรรมใด ๆ
เลย
สภาพแข็งกระทบกับกายปสาทครั้งแล้วครั้งเล่า
แต่ก็ไม่ได้ศึกษาพิจารณาแข็งนั้นว่าเป็นเพียงแข็งเท่านั้น
เมื่อสัมผัสสิ่งที่แข็งเราก็ไม่สงสัยเลยว่ามันแข็ง
แม้แต่เด็กเล็กก็รู้
แต่ศึกษาพิจารณาลักษณะที่แข็งนั้นว่าเป็นเพียงสภาพแข็งเท่านั้นหรือเปล่า
โดยไม่สับสนกับความคิดถึงนิ้วหรือเก้าอี้ว่าเป็นสิ่งที่แข็ง
ขณะคิดว่ากระทบกับ
สิ่งหนึ่ง เช่น
นิ้วหรือเก้าอี้
ก็แสดงว่าไม่มีสติระลึกรู้สภาพธรรมเลย
เราอาจกระทบกับสภาพแข็งหลายครั้งด้วย
โลภะ โทสะ และโมหะ
บางครั้งสติอาจจะเกิดขึ้น
และในขณะนั้นก็ศึกษาพิจารณาลักษณะของสภาพแข็งเพื่อปัญญาจะได้เจริญขึ้น
จากตัวอย่างนี้เราจะเห็นได้ว่า
สติหรือการระลึกรู้ในขั้นวิปัสสนานั้น
ไม่เหมือนกับสติที่เข้าใจกันทั่วไปว่าเป็น
home ปัญหาถาม-ตอบ หนังสือธรรมะ หมายเหตุ:
คัดลอกจากหนังสือ
"ธรรมจาริกในศรีลังกา"
|
|