Buddhist Study | บทที่ 13 กิจของจิตในปัญจทวารวิถีและมโนทวารวิถี | |||
"ไม่มีจิต
"ปัญจทวารา-
"เมื่อปัญจ-
"เมื่อวิถีจิต
"เมื่อปัจจัย
"กุศลจิตและ
"เมื่อถึงเวลาที่
"ถ้าเราเพียง
"คนเราสะสม
|
จิตทุกดวงมี กิจ เฉพาะตน ไม่มีจิตดวงใดที่เกิดขึ้นแล้วไม่กระทำกิจ เช่น การเห็น การได้ยิน เป็น กิจ ของจิต เราไม่เคยสังเกตุพิจารณาว่าการเห็นและการได้ยินเป็นกิจ เพราะเหตุว่าเรายึดมั่นในตัวตน ถ้าต้องการรู้เรื่องจิตมากขึ้น ก็ควรศึกษาเรื่องกิจต่างๆของจิต กิจที่
1 คือ ปฏิสนธิกิจ
ซึ่งเป็นกิจของจิตดวงแรกในชีวิต
กิจที่ 2 คือ ภวังคกิจ
ซึ่งเป็นกิจของภวังคจิตที่ดำรงภพชาติให้ดำเนินต่อไปในชาตินั้นๆ เมื่อรูปกระทบปสาท ก็กระทบภวังค์ และภวังคจิตก็เกิดอีก 2-3 ขณะ ต่อจากนั้นปัญจทวาราวัชชนจิตก็เกิด ปัญจทวาราวัชชนจิตเป็นวิถีจิตดวงแรกที่รู้อารมณ์ที่กระทบกับปสาท ปัญจทวาราวัชชนจิต ทำ อาวัชชนกิจ
คือ
ปัญจทวาราวัชชนจิตเป็นวิถีจิตดวงแรก เพราะเกิดก่อนปัญจวิญญาณ (จิตเห็น จิตได้ยิน เป็นต้น) เมื่อปัญจทวาราวัชชนจิตรู้อารมณ์ที่กระทบจักขุปสาทนั้น รู้อารมณ์โดยอาศัย จักขุทวาร จึงเป็น จักขุทวาราวัชชนจิต เมื่อปัญจทวาราวัชชนจิตรู้อารมณ์ที่กระทบ โสตปสาท ก็เป็น โสตทวาราวัชชนจิต ปัญจทวาราวัชชนจิตมีชื่อตามทวารที่รับอารมณ์ วันหนึ่งๆ ปัญจทวาราวัชชนจิตเกิดดับนับไม่ถ้วน แต่เราไม่รู้เลย จิตเห็นเกิดต่อจากจักขุทวาราวัชชนจิตที่รู้อารมณ์ที่กระทบจักขุปสาทและดับไปแล้ว จิตได้ยินหรือจิตอื่นๆ ที่เป็นปัญจวิญญาณเกิดต่อจากปัญจทวาราวัชชนจิตที่รู้อารมณ์ที่กระทบทวารนั้นๆและดับไปแล้ว เมื่อปัญจทวาราวัชชนจิตดับแล้ว จิตอื่นๆก็เกิดขึ้นรู้อารมณ์เดียวกันทางทวารเดียวกัน เมื่อวิถีจิตทางปัญจทวารดับหมดแล้ว มโนทวารวิถีจิตก็รู้อารมณ์นั้นต่อโดยภวังคจิตเกิดขึ้นคั่นก่อน แล้ว มโนทวาราวัชชนจิต ก็เกิดขึ้นกระทำ กิจอาวัชชนะ ทาง มโนทวาร ฉะนั้น จิตที่ทำ กิจอาวัชชนะ จึงมี 2 ดวง คือ ปัญจทวาราวัชชนจิต รู้อารมณ์ ทางทวารใดทวารหนึ่งใน 5 ทวาร และ มโนทวาราวัชชนจิต รู้อารมณ์ ทางมโนทวาร มโนทวาราวัชชนจิตเป็น อเหตุกกิริยาจิต คือ ไม่มีอกุศลเหตุหรือโสภณเหตุเกิดร่วมด้วย เมื่อมโนทวาราวัชชนจิตดับแล้ว กุศลจิตหรืออกุศลจิตจึงเกิดต่อ เมื่อรูปารมณ์กระทบจักขุปสาท จักขุทวาราวัชชนจิตนึกถึงรูปารมณ์ทางจักขุทวาร เมื่อจักขุทวาราวัชชนจิตดับไปแล้ว จักขุวิญญาณเกิดสืบต่อ จักขุวิญญาณทำ กิจเห็น (ทัสสนกิจ) จิตเห็น เป็น วิบาก เป็นผลของกุศลกรรมหรืออกุศลกรรม เราเกิดมาเพื่อรับผลของกรรม เมื่อกระแสภวังค์สิ้นสุดลง วิบากจิตก็เกิดขึ้นต่อจากปัญจทวาราวัชชนจิต จิตที่ทำกิจ เห็น (ทัสสนกิจ) เห็นรูปารมณ์ เท่านั้น จิตดวงนี้ไม่ยินดียินร้าย เป็น อเหตุกวิบากจิต จิตดวงนี้ไม่ได้คิดถึงรูปารมณ์ คนที่ไม่ได้อบรมเจริญปัญญาจะไม่รู้ว่าจิตที่เห็นรูปารมณ์ต่างกับจิตชอบหรือไม่ชอบรูปารมณ์ และต่างกับจิตที่ใส่ใจในรูปพรรณสัณฐาน เพราะอวิชชาและความเห็นผิดที่ได้สะสมมานาน จึงทำให้ไม่รู้ว่าจิตไม่เที่ยง เกิดแล้วก็ดับไปอย่างรวดเร็ว แล้วก็มีจิตอีกดวงหนึ่งซึ่งเป็นสภาพธรรมอีกประเภทหนึ่งเกิดสืบต่อ มี จิต 2 ดวง เท่านั้นที่ทำกิจเห็น เป็น อกุศลวิบาก 1 และ กุศลวิบาก 1 เมื่อเสียงกระทบโสตปสาท
โสตทวาราวัชชนจิตเกิดแล้วก็ดับไป
โสตวิญญาณจิตเกิดสืบต่อ อีกกิจหนึ่งของจิต คือ กิจได้กลิ่น (ฆายนกิจ) จิต 2 ดวง ซึ่งเป็นอเหตุกะทำกิจนี้คือ อกุศลวิบาก 1 และ กุศลวิบาก 1 อเหตุกจิต 2 ดวงทำ กิจลิ้มรส (สายนกิจ) เป็น อกุศลวิบาก 1 และ กุศลวิบาก 1 เมื่อจิตดวงนี้ทำกิจลิ้มรส เช่น รสหวานหรือรสเค็ม จิตนี้ก็เพียงแต่ลิ้มรสเท่านั้น ไม่ได้รู้ชื่อของรส จิตที่รู้ชื่อของรสเกิดขึ้นภายหลัง กิจที่กระทบสัมผัสทางกาย (ผุสสนกิจ) เป็นอีกกิจหนึ่งของจิต เมื่อโผฏฐัพพารมณ์กระทบกาย ปัญจทวาราวัชชนจิตนึกถึงอารมณ์ที่กระทบทางกาย เมื่อปัญจทวาราวัชชนจิตดับไปแล้ว กายวิญญาณจิต เกิดขึ้น ทำกิจรู้โผฏฐัพพารมณ์ที่กระทบกาย จิต 2 ดวงซึ่งทำกิจนี้เป็นอเหตุกจิตคือ อกุศลวิบาก 1 และ กุศลวิบาก 1 อารมณ์ ที่รู้ได้ทางกายนั้นได้แก่ รูปแข็งหรืออ่อน ร้อนหรือเย็น ไหวหรือตึง สรุปปัญจวิญญาณทำกิจดังนี้
คือ เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส สัมผัส (รู้โผฏฐัพพะ) เป็นกิจต่างๆ ของจิต ไม่มีตัวตนที่กระทำกิจเหล่านี้ จิตเหล่านี้เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยเฉพาะของจิตนั้นๆ พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่าจิตรู้อารมณ์ทางปัญจทวารและทางมโนทวารได้อย่างไร เพื่อทรงเตือนให้เราระลึกถึงสภาพที่แท้จริงของธรรมเหล่านี้ พระองค์ทรงแสดงปัจจัยต่างๆที่ทำให้จิตเกิดและความไม่เที่ยงของปัจจัยเหล่านี้ เมื่อปัจจัยต่างๆที่ทำให้จิตเกิดไม่เที่ยง จิตก็ย่อมไม่เที่ยงด้วย ในสังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค ทวยสูตรที่ 2 พระผู้มีพระภาคตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า
ทางทวารอื่นๆก็นัยเดียวกัน ในปัญจทวารวิถีนั้น สัมปฏิจฉันนจิตเกิดสืบต่อปัญจวิญญาณจิต สัมปฏิจฉันนจิตทำ สัมปฏิจฉันนกิจ ต่อจากปัญจวิญญาณ สัมปฏิจฉันนจิตเป็น อเหตุกวิบากจิต จิต 2 ดวง ที่ทำกิจนี้เป็น อกุศลวิบาก 1 และ กุศลวิบาก 1 กรรมไม่เพียงแต่เป็นปัจจัยให้เกิดทวิปัญจวิญญาณและสัมปฏิจฉันนจิตเท่านั้น แต่ยังเป็นปัจจัยให้สันตีรณจิตเกิดสืบต่อสัมปฏิจฉันนจิตอีกด้วย สันตีรณจิตที่เกิดทางปัญจทวารทำ สันตีรณกิจ คือ พิจารณาอารมณ์ สันตีรณจิตเป็น อเหตุกวิบากจิต ในบทที่ 9
ได้กล่าวถึงสันตีรณจิต 3 ดวงที่ทำ
เมื่อสันตีรณจิตดับแล้ว โวฏฐัพพนจิต (จิตที่ตัดสินอารมณ์) เกิดสืบต่อ โวฏฐัพพนะ เป็นอีก กิจ หนึ่งของจิต โวฏฐัพพนจิตทำกิจตัดสินอารมณ์ ในปัญจทวารวิถี เมื่อจิตดวงนี้ (ตัดสินอารมณ์) ดับแล้ว กุศลจิตหรืออกุศลจิตเกิดสืบต่อ ปัจจัยที่ทำให้โวฏฐัพพนจิตเกิดต่างจากปัจจัยที่ทำให้สันตีรณจิตเกิด สันตีรณจิตเกิดเพราะกรรมเป็นปัจจัย โวฏฐัพพนจิต ไม่ใช่วิบากจิต ไม่ใช่กุศลจิตหรืออกุศลจิต แต่เป็น อเหตุกกิริยาจิต เราทราบแล้วว่า โวฏฐัพพนจิต คือ มโนทวาราวัชชนจิต ซึ่งทำ กิจโวฏฐัพพนะ ใน ปัญจทวารวิถี จึงเรียกว่า โวฏฐัพพนจิต มโนทวาราวัชชนจิต ทำกิจได้ 2 กิจ คือ ทำอาวัชชนกิจทางมโนทวาร และทำ โวฏฐัพพนกิจทางปัญจทวาร ถ้าเราไม่รู้เรื่องวิถีจิตและปัจจัยของวิถีจิต เราอาจคิดว่ามีตัวตนซึ่งตัดสินที่จะกระทำกุศลกรรมหรืออกุศลกรรมในแต่ละขณะ ความจริงแล้ว ไม่มีบุคคล ตัวตน ซึ่งเป็นผู้ตัดสิน มีแต่จิตที่เกิดขึ้นเพราะกุศลกรรมและอกุศลกรรมที่ได้สะสมมาเป็นปัจจัย จิตรู้อารมณ์ที่น่ายินดีและอารมณ์ที่ไม่น่ายินดีทางปัญจทวารและทางมโนทวาร บุคคลใดสะสมโลภะและโทสะไว้มาก โลภะมูลจิตย่อมเกิดเมื่อรู้อารมณ์ที่น่ายินดี และโทสะมูลจิตย่อมเกิดเมื่ออารมณ์นั้นไม่น่ายินดี จิตเหล่านี้เกิดเพราะเหตุปัจจัย ไม่ใช่ตัวตน ไม่สามารถบังคับบัญชาได้ อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาพระธรรม และยิ่งกว่านั้นคือจากการอบรมเจริญวิปัสสนา ก็จะทำให้มีปัจจัยที่จะทำให้กุศลจิตและโยนิโสมนสิการในอารมณ์เกิดได้ ไม่ว่าอารมณ์นั้นจะเป็นอิฏฐารมณ์หรืออนิฏฐารมณ์ ทางปัญจทวาร กุศลจิตเกิดต่อจากโวฏฐัพพนจิตได้ และทางมโนทวาร เมื่อมโนทวาราวัชชนจิตเกิดขึ้นรู้อารมณ์แล้ว กุศลจิตก็เกิดได้เช่นเดียวกัน เรามักคิดว่า ในวิถีจิตวาระหนึ่งๆ อกุศลจิตควรจะเกิดสืบต่ออกุศลวิบากจิตซึ่งรู้อนิฏฐารมณ์ เพราะเหตุว่าเราถูกอารมณ์นั้นครอบงำ แต่ถ้าพิจารณาโดยแยบคาย ก็จะไม่มีโทสะในอารมณ์นั้น กุศลจิตและอกุศลจิตเกิดเพราะเหตุปัจจัย ซึ่งต่างจากเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดวิบากจิต อกุศลวิบากและกุศลวิบากเป็นผลของกรรม เราอยากจะมีอำนาจเหนือวิบาก แต่ก็เป็นไปไม่ได้ เมื่อถึงเวลาที่อกุศลวิบากจะเกิด เราจะยับยั้งไม่ไห้เกิดก็ไม่ได้ เราต้องตระหนักความจริง ชีวิตของเราก็คือ นามธรรมและรูปธรรม ซึ่งเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยแล้วก็ดับไป ถ้าเราเพียงแต่รู้ว่าวิบากเป็นจิตขณะหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นแล้วก็ดับไปทันที เราก็จะขุ่นเคืองใจในอนิฏฐารมณ์ที่ปรากฏน้อยลง บางคนอาจสงสัยว่าจำเป็นหรือที่จะต้องรู้เรื่องจิตและกิจของจิตอย่างละเอียด ถ้ารู้เพียงเรื่องกุศลจิตและอกุศลจิตเท่านั้นไม่พอหรือ นอกจากกุศลจิตและอกุศลจิตแล้ว เราควรรู้เรื่องวิถีจิตประเภทอื่นๆ ซึ่งทำกิจต่างๆ และเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยต่างๆกัน และก็จะเข้าใจยิ่งขึ้นว่า ไม่มีตัวตนที่สามารถจัดการให้จิตดวงใดเกิดขึ้นในขณะใดได้เลย ไม่มีตัวตนซึ่งตัดสินให้กุศลจิตเกิด คนเราสะสมมาต่างกัน ฉะนั้นเมื่ออารมณ์ใดปรากฏ วิถีจิตที่เกิดขึ้นรู้อารมณ์วาระนั้น ก็จะเป็นกุศลจิตหรืออกุศลจิตตามการสะสมของแต่ละบุคคล เช่น เมื่อได้กลิ่นอาหารอร่อย บางคนอาจจะเกิดอกุศลจิต บางคนเกิดกุศลจิต คนที่ชอบรับประทานก็ย่อมจะเกิดโลภะมูลจิต คนที่มีทานุปนิสัย พอได้กลิ่นอาหาร กุศลจิตก็อาจเกิด อาจอยากใส่บาตร บางคนก็อาจมีกุศลจิตที่เกิดร่วมกับปัญญา ระลึกรู้ว่ากลิ่นเป็นแต่เพียงกลิ่น เป็นรูปซึ่งไม่ใช่สิ่งหนึ่งสิ่งใด ไม่ใช่ตัวตน ถ้าขณะนี้มีการ "พิจารณาอารมณ์โดยแยบคาย" ก็จะเป็นปัจจัยให้มี "การพิจารณาโดยแยบคาย" เกิดขึ้นอีกในอนาคต กุศลจิตและอกุศลจิตย่อมเกิด เพราะเราสะสมมาแล้วทั้งกุศลและอกุศล ส่วนมากมักจะโทษโลกว่าทำให้เกิดกิเลส เพราะไม่รู้ว่ากิเลสสะสมอยู่ในจิต กิเลสไม่ได้อยู่ที่วัตถุรอบตัวเรา บางคนอาจไม่อยากมีตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เพื่อจะได้ไม่มีกิเลส อย่างไรก็ตาม หนทางเดียวที่จะดับกิเลสได้คือ รู้ สภาพธรรมที่ปรากฏทางทวารต่างๆ ตามความเป็นจริงใน สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค อาทิตตปริยายสูตร พระผู้มีพระภาคตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า
home ปัญหาถาม-ตอบ หนังสือธรรมะ หมายเหตุ:
คัดลอกจากหนังสือ
"พระอภิธรรมในชีวิตประจำวัน"
|
|