Buddhist Study   บทที่ 14   ชวนกิจ    

 

home

ปัญหาถาม-ตอบ

หนังสือธรรมะ

พระไตรปิฎก

 

 

 

 


"จิตขณะ
แรกๆ
ที่รู้
อารมณ์ทาง
ปัญจทวารนั้น
ไม่ใช่กุศลจิต
หรืออกุศลจิต
แต่เป็น
กิริยาจิต
และวิบากจิต"


 

 

 

 

 

 

 


"การไม่รู้จัก
อกุศลย่อม
เป็นโทษภัย
เมื่อไม่รู้ว่า
อกุศลจิตเกิด
ก็ย่อมสะสม
อกุศล
มากขึ้นๆ"


 

 

 

 

 

 

 


"ตามปรกติ
แล้วจิตที่ทำ
ชวนกิจ
เกิดดับสืบต่อ
กัน 7 ขณะ
ถ้าชวนจิต
ขณะแรกเป็น
กุศล
ชวนจิตที่เกิด
สืบต่อ 6 ขณะ
ก็เป็นกุศล
ถ้าชวนจิต
ขณะแรกเป็น
อกุศล
ชวนจิตที่เกิด
สืบต่อ 6 ขณะ
ก็เป็นอกุศล"


 

 

 

 

 

 

 


"จิตที่ทำ
ชวนกิจ มี
55 ดวง คือ
อกุศลจิต
12 ดวง
กามาวจร-
กุศลจิต
8 ดวง
มหากิริยาจิต
ของพระอรหันต์
8 ดวง"


 

 

 

 

 

 

 


"วิบากจิต
ภูมิอื่นๆทำ
ชวนกิจไม่ได้
แต่โลกุตตร-
วิบากจิตทำ
ชวนกิจได้"


 

 

 

 

 

 

 


"แต่ละครั้งที่
ความไม่พอ
ใจเกิดขึ้น
วิถีจิตหลาย
วาระเกิดขึ้น
รู้อารมณ์นั้น
และในแต่ละ
วาระนั้นก็มี
อกุศลชวน-
จิตเกิด 7 ขณะ"


 

 

 

 

 

 

 


"ปุถุชนอาจ
ล่วงศีลได้เมื่อ
มีเหตุปัจจัย
แต่พระอริย-
บุคคลไม่มี
เหตุปัจจัยที่
จะล่วงศีล
อีกเลย"


 

 

 

 

 

 

 


"ขณะที่หลง
ลืมสติ เราก็
ยึดถืออารมณ์
ที่ปรากฏว่า
เป็นตัวตน"


 

 

 

 

 

 

 



 
     ณะที่ได้เห็น   ได้ยิน  ได้กลิ่น  ลิ้มรส   รู้โผฏฐัพพะทางกาย   หรือรู้อารมณ์ทางใจ   ไม่ใช่มีจิตแต่เพียงดวงเดียวที่รู้อารมณ์ทางทวารนั้นๆ   แต่ วิถีจิตต่างๆ เกิดสืบต่อรู้อารมณ์เดียวกันนั้น   เมื่อรูปกระทบทวารใดทวารหนึ่ง   ก็มีจิตหลายดวงเกิดขึ้นรู้รูปนั้นสืบต่อกัน   เมื่อวิถีจิตทางทวารนั้นดับหมดแล้ว   มโนทวารวิถีจิตก็เกิดขึ้นรู้รูปนั้นอีก   ปัญจทวารวิถีและมโนทวารวิถีเกิดดับสืบต่อตลอดเวลา

เราอาจไม่รู้ว่าอกุศลจิตหรือกุศลจิตเกิดขึ้นทางปัญจทวารและมโนทวาร   ความไม่รู้ที่ได้สะสมมาทำให้เราไม่รู้ชัดในอกุศลจิตและกุศลจิต   และไม่รู้กิเลสที่ละเอียดกว่านั้น

จิตขณะแรกๆที่รู้อารมณ์ทางปัญจทวารนั้นไม่ใช่กุศลจิตหรืออกุศลจิต   แต่เป็นกิริยาจิตและวิบากจิต   ปัญจทวาราวัชชนจิต เป็นอเหตุกกิริยาจิต  (กิริยาจิตที่ไม่ประกอบด้วยโสภณเหตุหรืออกุศลเหตุ)    เมื่อปัญจทวาราวัชชนจิตดับ   ทวิปัญจวิญญาณ ดวงหนึ่งก็เกิดสืบต่อ  (ปัญจวิญญาณ 5 คู่  คือ  เห็น  ได้ยิน   เป็นต้น)   ทวิปัญจวิญญาณเป็นอเหตุกวิบาก   ต่อจากทวิปัญจวิญญาณ   ก็มีอเหตุกวิบากจิต 2 ดวงเกิดสืบต่อคือ  สัมปฏิจฉันนนจิต ซึ่งรับอารมณ์  และ สันตีรณจิต ซึ่งพิจารณาอารมณ์  โวฏฐัพพนจิต ซึ่งเป็นอเหตุกกิริยาจิตเกิดต่อจากสันตีรณจิต   โวฏฐัพพนจิตตัดสินอารมณ์   ต่อจากโวฏฐัพพนจิตก็เป็นกุศลจิตหรืออกุศลจิต   จิตของพระอรหันต์ที่เกิดสืบต่อโวฏฐัพพนจิตจะไม่เป็นกุศลจิตหรืออกุศลจิต   แต่เป็นกิริยาจิต   เมื่อปัญจทวารวิถีจิตดับไปแล้ว   มโนทวารวิถีจิตก็เกิดขึ้นรู้อารมณ์เดียวกันนั้น   โดยมี ภวังคจิต เกิดคั่นก่อน  แล้ว มโนทวาราวัชชนจิต จึงเกิดทำกิจนึกถึงอารมณ์ทางมโนทวาร   เมื่อมโนทวาราวัชชนจิตดับไปแล้ว   สำหรับผู้ที่ไม่ใช่พระอรหันต์   กุศลจิตหรืออกุศลก็เกิดต่อ   มโนทวาราวัชชนจิตไม่ใช่กุศลไม่ใช่อกุศล   แต่เป็นอเหตุกกิริยาจิต

เพราะจิตเกิดดับรวดเร็วมากจึงยากที่จะรู้ว่าจิตที่เกิดขึ้นนั้นต่างกัน   บ่อยทีเดียวที่เราอาจไม่รู้ว่าขณะใดเป็นกุศลจิตหรือเป็นอกุศลจิต   เช่น  หลังจากเห็นแล้ว   อาจไม่รู้ว่าพอใจหรือไม่พอใจสิ่งที่เห็น   หรือว่าไม่รู้สภาพธรรมขณะนั้น   ถ้าศึกษาธรรมเราก็จะรู้ถึงกิเลสที่ละเอียดขึ้น   การไม่รู้จักอกุศลย่อมเป็นโทษภัย   เมื่อไม่รู้ว่าอกุศลจิตเกิดก็ย่อมสะสมอกุศลมากขึ้นๆ

กุศลจิตหรืออกุศลจิตเกิดขึ้นกระทำ ชวนกิจ   คือแล่นไปในอารมณ์   ทางปัญจทวารวิถีนั้น   โวฏฐัพพนจิตตัดสินอารมณ์แล้ว   ชวนจิตจึงเกิด   และทางมโนทวารวิถี   มโนทวาราวัชชนจิตรับรู้อารมณ์แล้ว   ชวนจิตจึงเกิด  ฉะนั้น   กุศลจิตหรืออกุศลจิตซึ่งเกิดต่อจึงมีกิจเดียวเท่านั้นคือ   "แล่นไป" ในอารมณ์     ตามปรกติแล้ว   จิตที่ทำชวนกิจเกิดดับสืบต่อกัน 7 ขณะ   ถ้าชวนจิตขณะแรกเป็นกุศล   ชวนจิตที่เกิดสืบต่อ 6 ขณะก็เป็นกุศล    ถ้าชวนจิตขณะแรกเป็นอกุศล   ชวนจิตที่เกิดสืบต่อ 6 ขณะก็เป็นอกุศล  เรารู้ไหมว่า   ขณะไหนชวนจิตเป็นโลภมูลจิต   หรือโทสมูลจิต   หรือโมหมูลจิต  หรือกุศลจิต   ส่วนใหญ่แล้วเราไม่รู้สภาพธรรมตามความเป็นจริงเลยแม้ในขณะที่ชวนจิตเกิด

จิต ที่ทำ ชวนกิจ มี 55 ดวง  คือ  อกุศลจิต 12 ดวง (โลภมูลจิต 8 ดวง  โทสมูลจิต 2 ดวง   และโมหมูลจิต 2 ดวง)  กามาวจรกุศลจิต 8 ดวง (มหากุศลจิตมหากิริยาจิต ของพระอรหันต์ 8 ดวง (กิริยาจิตซึ่งไม่ใช่อเหตุกะแต่ประกอบด้วยโสภณเหตุ)    พระอรหันต์มีมหากิริยาจิตแทนมหากุศลจิต   เพราะพระอรหันต์ไม่ได้สะสมกรรมอีกต่อไป   มหากิริยาจิตเป็นกามภูมิซึ่งไม่ใช่ฌานจิตหรือโลกุตตรจิต   พระอรหันต์มีกามาวจรจิต   ท่านเห็น   ท่านได้ยินหรือคิดเรื่องปัญจารมณ์   แต่ไม่ว่าพระอรหันต์รู้อารมณ์ใดก็ตาม   กุศลจิตหรืออกุศลจิตก็ไม่เกิด

พระอรหันต์มี อเหตุกกิริยาจิต ที่ทำชวนกิจด้วย  คือ  หสิตุปปาทจิต ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อพระอรหันต์แย้มยิ้ม

สำหรับผู้ที่บรรลุรูปฌานก็มี รูปาวจรกุศลจิตได้ 5 ดวง  เพราะรูปฌานมี 5 ขั้น   พระอรหันต์ที่บรรลุรูปฌานก็มี รูปาวจรกิริยาจิตได้ 5 ดวง ซึ่งทำชวนกิจ

สำหรับผู้ที่บรรลุอรูปฌาน   ก็มี อรูปาวจรกุศลจิตได้ 4 ดวง  เพราะอรูปฌานมี 4 ขั้น   พระอรหันต์ที่บรรลุอรูปฌานก็มี อรูปาวจรกิริยาจิตได้ 4 ดวง   ซึ่งทำชวนกิจ

ผู้ที่รู้แจ้งพระนิพพานมี โลกุตตรจิต    โลกุตตรจิตมี 8 ดวงเป็น มัคคจิต 4 ดวง  และ  ผลจิต 4 ดวง (โลกุตตรจิตจัดเป็น 4 คู่   เพราะการประจักษ์แจ้งพระนิพพานมี 4 ขั้น)     วิบากจิตภูมิอื่นๆทำชวนกิจไม่ได้   แต่โลกุตตรวิบากจิตทำชวนกิจได้   ฉะนั้น โลกุตตรจิตทั้ง 8 ดวง   จึงทำ ชวนกิจ   สรุป   จิต 55 ดวงที่ทำชวนกิจ  คือ

โลภมูลจิต             8 ดวง
โทสมูลจิต             2 ดวง ]- อกุศลจิต 12 ดวง
โมหมูลจิต             2 ดวง

มหากุศลจิต        8 ดวง   (กามาวจรกุศลจิต)
มหากิริยาจิต       8 ดวง
หสิตุปปาทจิต      1 ดวง  (อเหตุกกิริยาจิตซึ่งเกิด
                                  เมื่อพระอรหันต์แย้มยิ้ม)
รูปาวจรกุศลจิต     5 ดวง  (รูปฌานจิต)
รูปาวจรกิริยาจิต    5 ดวง  (รูปฌานจิตของ
                                      พระอรหันต์)
อรูปาวจรกุศลจิต   4 ดวง  (อรูปฌานจิต)
อรูปาวจรกิริยาจิต  4 ดวง  (อรูปฌานจิตของ
                                      พระอรหันต์)

มัคคจิต                 4 ดวง  (โลกุตตรกุศลจิต)
ผลจิต                   4 ดวง  (โลกุตตรวิบากจิต)

เป็นประโยชน์ที่จะรู้ว่าไม่ใช่อกุศลจิตเพียงขณะเดียวเท่านั้นที่เกิดขึ้นรู้อารมณ์หนึ่งๆ   แต่วาระหนึ่งๆมีอกุศลจิตเกิดสืบต่อกันถึง 7 ขณะ   และอกุศลจิตยังเกิดสืบต่ออีกหลายวาระ   แต่ละครั้งที่ความไม่พอใจเกิดขึ้น   วิถีจิตหลายวาระเกิดขึ้นรู้อารมณ์นั้น   และในแต่ละวาระนั้นก็มีอกุศลชวนจิตเกิด 7 ขณะ   อกุศลจิตจึงเกิดขึ้นมากมายเมื่อเรายินดียินร้ายในสิ่งหนึ่งสิ่งใด

ไม่มีตัวตนที่บังคับไม่ให้อกุศลจิตเกิดได้   เมื่อโวฏฐัพพนจิตตัดสินอารมณ์ทางปัญจทวารวิถีแล้ว   อกุศลจิตก็เกิด   เมื่อมโนทวาราวัชชนจิตรับรู้อารมณ์ทางมโนทวารแล้ว   อกุศลจิตก็เกิด   เมื่อมโนทวาราวัชชนจิตรับรู้อารมณ์ทางมโนทวารแล้ว   อกุศลจิตก็เกิดเมื่อชวนจิตขณะแรกเกิดแล้ว   ชวนจิตขณะต่อๆไปก็ต้องเกิดสืบต่อ   ชวนจิตขณะแรกเป็นปัจจัยให้ชวนจิตขณะที่สองเกิดต่อ   ชวนจิตขณะที่สองเป็นปัจจัยให้ชวนจิตขณะที่สามเกิดต่อ   ชวนจิตขณะที่ 3-4-5-6 ก็เช่นเดียวกัน

วาระวิถีที่มีกุศลชวนจิตและวาระวิถีที่มีอกุศลชวนจิตเกิดดับสลับกันได้อย่างรวดเร็ว   เช่น   คนที่ตั้งใจจะถวายอาหารแก่พระภิกษุสงฆ์   เมื่อซื้อของที่จะทำอาหารถวายพระภิกษุมาแล้ว   ก็เกิดคิดว่าของที่ซื้อมาออกจะแพงไป   ขณะนั้นอาจจะเป็นจิตประกอบด้วยความตระหนี่   ชวนจิตก็เป็นอกุศล   จะเห็นได้ว่ากิเลสที่สะสมไว้อาจปรากฏในเวลาใดก็ได้เมื่อมีเหตุปัจจัย   ถึงแม้ว่ามีเจตนาที่จะทำกุศลก็ตาม

จิตสะสมกุศลหรืออกุศลในขณะที่เป็นชวนจิต   บังคับชวนจิตไม่ได้   แต่การรู้ปัจจัยที่ทำให้กุศลจิตเกิดจะทำให้อกุศลจิตเกิดน้อยลง

พระผู้มีพระภาคทรงพระมหากรุณาตรัสสอนหนทางที่จะทำให้อกุศลลดน้อยลง    พระองค์ทรงเตือนให้เราทำกุศลทุกประการ   ไม่ว่าทาน  ศีล  หรือภาวนา พระองค์ทรงสอนให้อบรมเจริญปัญญาซึ่งสามารถดับอกุศลทั้งปวง   ปัญญามีหลายขั้น   ปัญญาที่เพียงแต่รู้ว่าอะไรเป็นกุศลและอะไรเป็นอกุศลนั้นดับอกุศลไม่ได้   ถ้าปัญญาไม่ถึงขั้นประจักษ์แจ้งก็ยังมีความยึดมั่นในตัวตนที่เจริญกุศลและตัวตนที่ละเว้นอกุศล   เมื่อยังยึดมั่นในตัวตนอยู่ก็ดับกิเลสไม่ได้

ผู้ที่ยังไม่ไช่พระอริยบุคคลนั้นสามารถรักษาศีล 5 ได้ก็จริง   แต่ก็ยังต่างกับพระอริยบุคคล   เพราะปุถุชนอาจล่วงศีลได้เมื่อมีเหตุปัจจัย   แต่พระอริยบุคคลไม่มีเหตุปัจจัยที่จะล่วงศีลอีกเลย   พระอริยบุคคลผู้มีศีล   ไม่ได้ยึดถือศีลว่าเป็นตัวตนอีกเลย   เพราะเหตุว่าท่านดับมิจฉาทิฏฐิได้หมดสิ้นแล้ว   ฉะนั้นศีลของพระอริยบุคคลจึงบริสุทธิ์กว่า    พระอริยบุคคลประพฤติปฏิบัติหนทางที่นำไปสู่ความดับกิเลสหมดเป็นสมุจเฉท

ขณะที่หลงลืมสติ   เราก็ยึดถืออารมณ์ที่ปรากฏว่า เป็นตัวตน    เมื่อปัญญาประจักษ์แจ้งสภาพธรรมว่าเป็นนามธรรมและรูปธรรมซึ่งไม่เที่ยง   โอกาสที่อกุศลชวนจิตจะเกิดก็น้อยลง

ในวิสุทธิมัคค์  สีลนิทเทส   เรื่องพระมหาติสสะ   มีข้อความว่า

ได้ยินว่า   สาวสะใภ้ลูกสกุลคนใดคนหนึ่ง   ทะเลาะกับสามี   แล้วประดับตบแต่งอย่างดีราวกะสาวสวรรค์   หนีออกจากอนุราธบุรีแต่เช้าตรู่   กำลังเดินไปสู่เรือนญาติ   พบพระเถระนั้นผู้มาเพื่อเที่ยวบิณฑบาตจากเจติยบรรพตสู่อนุราธบุรี    ในระหว่างทาง (นาง) มีจิตนึกขันจึงหัวเราะขึ้นดังลั่นฯ   ฝ่ายพระเถระเหลียวดูโดยขุกใจว่า   นี่อะไร   กลับได้อสุภสัญญาในกระดูกฟันของนางนั้น   เลยบรรลุพระอรหัตฯ   เพราะเหตุนั้น   พระโบราณจารย์จึงกล่าวไว้ว่า

พระเถระเห็นกระดูกฟันของนางนั้น
ระลึกถึงสัญญาเก่า
พระเถระนั้นยืนอยู่แล้ว
ในที่นั้นเทียวได้ถึงความเป็นพระอรหันต์แล้วแลฯ

แม้สามีของนางนั้นแล   เดินไปตามทาง  พบพระเถระเข้า   จึงถามว่า   ท่านเห็นหญิงบ้างไหมฯ   พระเถระจึงตอบเขาว่า

"ฉันไม่ทราบผู้ที่เดินผ่านจากที่นี้
ว่าเป็นหญิงหรือเป็นชาย
แต่ว่าร่างกระดูกนี้
เดินไปในทางใหญ่ฯ"

ท่านพระมหาติสสะไม่ใส่ใจในนิมิต   และไม่ติดข้องในอนุพยัญชนะในรูปารมณ์นั้น   เมื่อท่านเห็นฟันของหญิงนั้น   ท่านประจักษ์แจ้งในความเป็นปฏิกูลของร่างกาย   ท่านไม่ยึดรูปารมณ์นั้นว่าเป็นตัวตน   การที่เห็นความเป็นปฏิกูลของร่างกายเตือนเราว่า   ไม่มีตัวตนในร่างกาย   มีแต่รูปธรรมซึ่งไม่เที่ยง   ท่านพระมหาติสสะประจักษ์แจ้งสภาพธรรมตามความเป็นจริง   ปัญญาที่เกิดขึ้นในขณะนั้นเป็นปัญญาขั้นที่สามารถดับกิเลสทั้งหมดได้เป็นสมุจเฉท

ชวนจิตที่เป็นโลภะ  โทสะ   โมหะ   เกิดขึ้นนับไม่ถ้วนในวันหนึ่งๆ   ฉะนั้น  จึงไม่ควรประมาท   แต่ควรเจริญสติเท่าที่สามารถจะทำได้
ในสังยุตตนิกาย  สฬายตนวรรค   ปมาทวิหารีสูตร   มีข้อความว่า

พระนครสาวัตถี ฯลฯ   พระผู้มีพระภาคตรัสว่า  "ดูกรภิกษุทั้งหลาย   เราจักแสดงภิกษุผู้อยู่ด้วยความประมาท   และภิกษุผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาท   เธอทั้งหลายจงฟังเถิด

ก็ภิกษุเป็นผู้อยู่ด้วยความประมาทอย่างไร

ดูกรภิกษุทั้งหลาย   เมื่อภิกษุไม่สำรวมจักขุนทรีย์อยู่   จิตย่อมแส่ไปในรูปทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุ   เมื่อภิกษุมีจิตแส่ไปแล้ว   ปราโมทย์ก็ไม่มี   เมื่อปราโมทย์ไม่มี   ปีติก็ไม่มี  เมื่อปีติไม่มี   ปัสสิทธิก็ไม่มี   ภิกษุนั้นก็อยู่ลำบาก   จิตของภิกษุผู้มีความลำบาก   ย่อมไม่ตั้งมั่น เมื่อจิตไม่ตั้งมั่น   ธรรมทั้งหลายก็ไม่ปรากฏ   เพราะธรรมทั้งหลายไม่ปรากฏ   ภิกษุนั้นก็ถึงความนับว่าเป็นผู้อยู่ด้วยความประมาทแท้จริง ฯลฯ
(ทางทวารอื่นก็โดยนัยเดียวกัน)

ดูกรภิกษุทั้งหลาย   ภิกษุเป็นผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาทอย่างไร

เมื่อภิกษุสำรวมจักขุนทรีย์อยู่   จิตก็ไม่แส่ไปในรูปทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุ   เมื่อภิกษุนั้นมีจิตไม่แส่ไปแล้ว   ปราโมทย์ก็เกิด   เมื่อภิกษุเกิดปราโมทย์แล้ว   ปีติก็เกิด   เมื่อภิกษุมีใจเกิดปีติ   กายก็สงบ  ก็อยู่สบาย   จิตของภิกษุผู้มีความสุขก็ตั้งมั่น   เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว   ธรรมทั้งหลายก็ปรากฏ   ธรรมทั้งหลายปรากฏ   ภิกษุนั้นก็ถึงความนับว่าเป็นผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาทแท้จริง ฯลฯ
(ทางทวารอื่นก็โดยนัยเดียวกัน)

ดูกรภิกษุทั้งหลาย   ภิกษุเป็นผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาท   ด้วยประการฉะนี้ฯ"

 

 

 

ดูสารบัญ

home         ปัญหาถาม-ตอบ        หนังสือธรรมะ

พระไตรปิฎก

หมายเหตุ: คัดลอกจากหนังสือ  "พระอภิธรรมในชีวิตประจำวัน"
โดย  Nina Van Gorkom
แปลโดย  ดวงเดือน  บารมีธรรม
มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา

 

Click Here!

 

 


ดูสารบัญ