home
ปัญหาถาม-ตอบ
หนังสือธรรมะ
พระไตรปิฎก
"รูปดำรงอยู่
ได้นาน
17ขณะ"
"วิถีจิตทุกดวง
ตั้งแต่ปัญจ-
ทวาราวัชชน-
จิต รู้อารมณ์
เดียวกันที่
กระทบปสาท
ใดปสาทหนึ่ง"
"ใน
กามวิถี
เท่านั้นที่กรรม
เป็นปัจจัยให้
ตทาลัมพณ
เกิดต่อจาก
ชวนจิตได้"
"ตทาลัมพณ-
จิตไม่ได้รู้
อารมณ์
เฉพาะทาง
ปัญจทวาร
เท่านั้น แต่รู้
ทางมโนทวาร
ได้ด้วย"
"นอกจากทำ
สันตีรณกิจ
แล้ว
สันตีรณจิต
ยังทำ
ปฏิสนธิกิจ
ภวังคกิจ
จุติกิจ และ
ตทาลัมพณ-
กิจได้ด้วย"
"กิจสุดท้าย
ของจิตใน
ชาติหนึ่งๆ
คือ จุติกิจ"
"สำหรับผู้ที่
บรรลุสัจจ-
ธรรมเป็น
พระอรหันต์
จุติจิตก็จะ
ต้องเกิด แต่
ไม่มีปฏิสนธิ-
จิตเกิดสืบต่อ
ฉะนั้นจึงไม่
มีการเกิด
แก่ เจ็บ ตาย
อีกต่อไป"
"ผู้ที่รู้สึกเจ็บ
ปวดอย่างรุน
แรงก่อนสิ้น
ชีวิตเนื่องจาก
อุปัทวเหตุหรือ
ความเจ็บป่วย
ชวนจิตสุดท้าย
ก่อนจุติจิตไม่
จำเป็นต้อง
เป็นอกุศลจิต"
"ขณะที่เจ็บ
ปวดมากนั้น
อาจจะเกิด
โทสะ แต่ชวน
จิตสุดท้าย
อาจเป็น
กุศลจิตก็ได้
ถ้ามีโยนิโส-
มนสิการ
ก่อนจุติจิต"
|
อารมณ์ที่กระทบปสาท
5 นั้นจะเป็นรูป เสียง กลิ่น
รส หรือโผฏฐัพพะก็ได้
อารมณ์เหล่านี้เป็นรูปธรรมซึ่งเกิดแล้วก็ดับไป
แต่ไม่รวดเร็วเท่านามธรรม
รูปดำรงอยู่ได้นานถึง 17
ขณะจิต
ขณะที่รูปกระทบปสาทใดปสาทหนึ่ง
ปัญจทวาราวัชชนจิตไม่ได้เกิดทันที
ต้องมีภวังคจิตเกิดก่อน คือ
อตีตภวังค์ ภวังคจลนะ
ภวังคุปัจเฉทะ
ซึ่งเป็นภวังคจิตดวงสุดท้ายก่อนกระแสภวังค์สิ้นสุดลง
ภวังคจิตเหล่านี้ไม่รู้รูปซึ่งกระทบปสาท
ปัญจทวาราวัชชนจิตซึ่งเป็นกิริยาจิต
รู้อารมณ์ที่กระทบปสาทแล้ว
ทวิปัญจวิญญาณ เช่น
จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ
ซึ่งเป็นวิบากจิตจึงเกิดต่อ
วิบากจิตเป็นผลของกุศลกรรมหรืออกุศลกรรม
อย่างไรก็ตาม
ไม่ใช่วิบากจิตเพียงดวงเดียวเท่านั้นที่เป็นวิถีจิต
แต่มีวิบากจิตหลายดวง เช่น
สัมปฏิจฉันนจิต
ซึ่งเกิดต่อจากทวิปัญจวิญญาณ
และสันตีรณจิตซึ่งเกิดต่อจากสัมปฏิจฉันนจิตก็เป็นวิบากจิต
โวฏฐัพพนจิตซึ่งเกิดต่อจากสันตีรณจิตเป็นกิริยาจิต
เมื่อโวฏฐัพพนจิตดับแล้ว
สำหรับผู้ที่ไม่ใช่พระอรหันต์มีชวนจิต
7
ดวงที่เป็นอกุศลหรือกุศลเกิดสืบต่อ
วิถีจิตทุกดวง
ตั้งแต่ปัญจทวารา
วัชชนจิต
รู้อารมณ์เดียวกันที่กระทบปสาทใดปสาทหนึ่งดังที่ได้ทราบแล้วว่า
รูปหนึ่งมีอายุนานเท่ากับจิต
17 ขณะ
ถ้ารูปซึ่งกระทบปสาทเกิดในขณะเดียวกันกับอตีตภวังค์
เมื่อชวนจิตที่เจ็ดดับไปแล้วรูปก็ยังไม่ดับ
จิตเกิดดับไปเพียง 15
ดวงเท่านั้นตั้งแต่อตีตภวังค์
ฉะนั้นจึงยังมีวิถีจิตอีก 2
ดวงที่จะรู้อารมณ์นั้นได้อีก
หลังจากที่ชวนจิตดับแล้ว
วิบากจิต 2
ดวงเกิดขึ้นรู้อารมณ์ จิต 2
ดวงนี้เป็น ตทารัมมณจิต
(ตทารัมพณจิต) ซึ่งทำ
ตทาลัมพณกิจ หรือ ตทาลัมมณกิจ
คือ
กิจรับอารมณ์ต่อจากชวนจิต
โดยพยัญชนะ ตทาลัมพณ
แปลว่า "อารมณ์นั้น"
เมื่อตทาลัมพณจิตดับแล้ว
ปัญจทวารวิถีก็เกิดครบทุกวิถี
ถ้ารูปที่กระทบปสาทเกิดก่อนอตีตภวังค์
วิถีจิตก็เกิดไม่ครบทุกวิถี
เพราะว่ารูปดับก่อน
ตทาลัมพณจึงเกิดไม่ได้
ใน กามวิถี
เท่านั้นที่กรรมเป็นปัจจัยให้ตทาลัมพณเกิดต่อจากชวนจิตได้
สำหรับผู้ที่เกิดใน
รูปาวจรภูมิ
ซึ่งมีกามอารมณ์น้อยกว่า
และสำหรับผู้ที่เกิดใน อรูปาวจรภูมิ
ซึ่งไม่มีกามอารมณ์เลยนั้น
ไม่มีตทาลัมพณจิต
[การเกิดในรูปพรหมภูมิเป็นผลของรูปาวจรกุศลจิต(รูปฌานจิต)
และการเกิดในอรูปพรหมภูมิเป็นผลของอรูปาวจรกุศลจิต(อรูปฌานจิต)]
รวมประเภทจิตซึ่งเกิดดับสืบต่อกันตั้งแต่รูปกระทบปสาท
และเป็นอารมณ์ของปัญจทวารวิถีจิต
ดังนี้
- อตีตภวังค์
- ภวังคจลนะ
- ภวังคุปัจเฉทะ
- ปัญจทวาราวัชชนจิต
- ทวิปัญจวิญญาณจิต
- สัมปฏิจฉันนจิต
- สันตีรณจิต
- โวฏฐัพพนจิต
- ชวนะ กุศลหรืออกุศลจิต
(สำหรับผู้ที่ไม่ใช่พระอรหันต์)
แล่นไปในอารมณ์
- ชวนะ กุศลหรืออกุศลจิต
(สำหรับผู้ที่ไม่ใช่พระอรหันต์)
แล่นไปในอารมณ์
- ชวนะ กุศลหรืออกุศลจิต
(สำหรับผู้ที่ไม่ใช่พระอรหันต์)
แล่นไปในอารมณ์
- ชวนะ กุศลหรืออกุศลจิต
(สำหรับผู้ที่ไม่ใช่พระอรหันต์)
แล่นไปในอารมณ์
- ชวนะ กุศลหรืออกุศลจิต
(สำหรับผู้ที่ไม่ใช่พระอรหันต์)
แล่นไปในอารมณ์
- ชวนะ กุศลหรืออกุศลจิต
(สำหรับผู้ที่ไม่ใช่พระอรหันต์)
แล่นไปในอารมณ์
- ชวนะ กุศลหรืออกุศลจิต
(สำหรับผู้ที่ไม่ใช่พระอรหันต์)
แล่นไปในอารมณ์
- ตทาลัมพณจิต
- ตทาลัมพณจิต
ตทาลัมพณจิตไม่ได้รู้อารมณ์เฉพาะทางปัญจทวารเท่านั้น
แต่รู้ทางมโนทวารได้ด้วย
ทางปัญจทวารวิถี
ตทาลัมพณจิตจะเกิดก็ต่อเมื่ออารมณ์ยังไม่ดับ
ถ้าตทาลัมพณจิตเกิดทางปัญจทวารวิถีแล้ว
มโนทวารวิถีที่เกิดต่อจากปัญจทวารวิถีนั้น
ก็มี
ตทาลัมพณเกิดด้วย
ตทาลัมพณจิต เป็น วิบากจิต
ซึ่งสามารถรู้อารมณ์ได้ทั้ง 6
ทวาร
ถ้าอารมณ์นั้นเป็นรูปารมณ์
(สิ่งที่ปรากฏทางตา)
จิตรู้อารมณ์ทางจักขุทวาร
ตทาลัมพณก็เป็นจักขุทวารวิถี
คือ รู้อารมณ์นั้นทางตา
ตทาลัมพณจิตทางมโนทวารวิถีที่เกิดต่อจากจักขุทวารวิถีนั้นก็รู้อารมณ์นั้นทางมโนทวาร
ถ้าอารมณ์ที่กระทบทางปัญจทวารเป็นอารมณ์ที่ไม่น่ายินดี
วิบากจิตที่เกิดทางทวารนั้นทุกดวงรวมทั้งตทาลัมพณจิตด้วย
(ถ้าตทาลัมพณจิตเกิด)
ก็เป็นอกุศลวิบาก
ตทาลัมพณจิตทางมโนทวารซึ่งเกิดต่อจากปัญจทวารวิถีนั้นก็เป็นอกุศลวิบากด้วย
ถ้าอารมณ์ที่กระทบปัญจทวารเป็นอารมณ์ที่น่ายินดี
วิบากจิตทุกดวงที่เกิดทางทวารนั้นรวมทั้งตทาลัมพณจิตด้วยก็เป็นกุศลวิบาก
ตทาลัมพณจิตทางมโนทวารวิถีซึ่งเกิดต่อจากปัญจทวารก็เป็นกุศลวิบากเช่นเดียวกัน
จิตที่ทำกิจตทาลัมพณะมี 11 ดวง
คือ
อเหตุกวิบากจิต 3 ดวง
(ไม่ประกอบด้วยเหตุ) และ สเหตุกวิบากจิต
8 ดวง (ประกอบด้วยโสภณเหตุ)
ถ้าตทาลัมพณจิตเป็น อเหตุกะ
สันตีรณจิต
ก็ทำกิจตทาลัมพณะ
ดังที่ทราบแล้วว่า
สันตีรณจิตซึ่งเป็นอเหตุกวิบากจิตสามารถทำกิจได้มากกว่าหนึ่งกิจ
สันตีรณจิตทำสันตีรณกิจ
คือ
พิจารณาอารมณ์ทางปัญจทวารวิถีสืบต่อจาก
สัมปฏิจฉันนจิต
นอกจากทำสันตีรณกิจแล้ว
สันตีรณจิตยังทำปฏิสนธิกิจ
ภวังคกิจ จุติกิจ
และตทาลัมพณกิจได้ด้วย
ตามที่ได้กล่าวมาแล้วว่า
สันตีรณจิตมี 3 ประเภท คือ
- สันตีรณจิตเป็นอกุศลวิบาก
เกิดร่วมกับอุเบกขาเวทนา
- สันตีรณจิตเป็นกุศลวิบาก
เกิดร่วมกับอุเบกขาเวทนา
- สันตีรณจิตเป็นกุศลวิบาก
เกิดร่วมกับโสมนัสเวทนา
สันตีรณจิตดวงที่ 1 และดวงที่ 2
(อุเบกขาสันตีรณอกุศลวิบากและอุเบกขาสันตีรณกุศลวิบาก)
เท่านั้นที่ทำกิจปฏิสนธิภวังค์
และจุติได้
สันตีรณจิตทั้ง 3
ประเภททำกิจพิจารณาอารมณ์
(สันตีรณกิจ) ได้
ส่วนโสมนัสสันตีรณจิตกระทำสันตีรณกิจเมื่ออารมณ์นั้นเป็นอารมณ์ที่น่ายินดียิ่ง
จิตเกิดดับทำกิจตลอดเวลา กิจสุดท้าย
ของจิตในชาติหนึ่งๆ คือ จุติกิจ
เมื่อกล่าวโดยสมมุติว่า
คนหนึ่งสิ้นชีวิต จุติจิต
ซึ่งเป็นจิตดวงสุดท้ายของชาตินั้นดับแล้วปฏิสนธิจิตในชาติต่อไปก็เกิดต่อ
จุติจิต
ความตายเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
ทุกคนไม่ว่าจะเกิดในนรกภูมิ
หรือมนุษยภูมิ หรือเทวภูมิ
ก็ต้องมีจุติจิต
ในพระไตรปิฎกมีเรื่องการเกิด
การแก่ การเจ็บป่วย
และการตาย
เมื่อเกิดแล้วก็แก่
ก่อนที่จะเจ็บป่วย
เพราะเมื่อเกิดแล้วก็แก่ลง
ในขุททกนิกาย สุตตนิบาต
มหาวรรคที่ 3
สัลลสูตรที่ 8 มีข้อความว่า
(คำแปลภาษาอังกฤษโดย อี เอ็ม แฮร์)
ชีวิตของสัตว์ทั้งหลายในโลกนี้
ไม่มีเครื่องหมาย
ใครรู้ไม่ได้ ทั้งลำบาก
ทั้งน้อย และประกอบด้วยทุกข์
สัตว์ทั้งหลายผู้เกิดแล้วจะไม่ตายด้วยความพยายามอันใด
ความพยายามอันนั้นไม่มีเลย
แม้อยู่ได้ถึงชราก็ต้องตาย
เพราะสัตว์ทั้งหลายมีอย่างนี้เป็นธรรมดา
ผลไม้สุกงอมแล้ว
ชื่อว่าย่อมมีภัย
เพราะจะต้องร่วงหล่นไปในเวลาเช้าฉันใด
สัตว์ทั้งหลายผู้เกิดแล้ว
ชื่อว่าย่อมมีภัย
เพราะจะต้องตายเป็นนิตย์ฉันนั้น
ภาชนะดินที่นายช่างทำแล้วทุกชนิด
มีความแตกเป็นที่สุดแม้ฉันใด
ชีวิตของสัตว์ทั้งหลายก็ฉันนั้น
ทั้งเด็ก ทั้งผู้ใหญ่
ทั้งคนเขลา ทั้งคนฉลาด
ล้วนไปสู่อำนาจของมฤตยู
มีมฤตยูเป็นที่ไปในเบื้องหน้าด้วยกันทั้งหมด
เมื่อสัตว์เหล่านั้นถูกมฤตยูครอบงำแล้ว
ต้องไปปรโลก
บิดาจะป้องกันบุตรไว้ก็ไม่ได้
หรือพวกญาติจะป้องกันพวกญาติไว้ก็ไม่ได้
ท่านจงเห็นเหมือนเมื่อหมู่ญาติของสัตว์ทั้งหลายผู้จะต้องตายกำลังแลดูรำพันอยู่โดยประการต่างๆ
สัตว์ผู้จะต้องตายผู้เดียวเท่านั้นถูกมฤตยูนำไป
เหมือนโคที่บุคคลจะพึงฆ่าถูกนำไปตัวเดียวฉะนั้น
ความตายและความแก่กำจัดสัตว์โลกอยู่อย่างนี้
เพราะเหตุนั้น
นักปราชญ์ทั้งหลายทราบชัดสภาพของโลกแล้ว
ย่อมไม่มีเศร้าโศก
ท่านย่อมไม่รู้ทางของผู้มาหรือผู้ไป
ไม่เห็นที่สุดทั้งสองอย่าง
ถึงจะครํ่าครวญไปก็ไร้ประโยชน์
ผู้ไม่มีปัญญา ย่อมเศร้าโศก
แต่ผู้เจริญมัคค์มีองค์ 8
ย่อมเศร้าโศกน้อยลง
สำหรับผู้ที่บรรลุสัจจธรรมเป็นพระอรหันต์
จุติจิตก็จะต้องเกิด
แต่ไม่มีปฏิสนธิจิตเกิดสืบต่อ
ฉะนั้นจึงไม่มีการเกิด แก่
เจ็บ ตาย อีกต่อไป
ในอังคุตตรนิกาย ติกนิบาต
มหาวรรค ภยสูตร มีข้อความว่า
"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภัย 3
อย่างนี้ เป็นอมาตาปุตติภัย 3
อย่างนี้เป็นไฉน
มารดานี้ย่อมไม่ได้ตามใจหวังดังนี้ว่า
เราจงแก่
บุตรของเราอย่าได้แก่
ก็หรือว่า เมื่อมารดาแก่
บุตรย่อมไม่ได้ตามใจหวังดังนี้ว่า
เราจงแก่
มารดาของเราอย่าได้แก่
ความเจ็บไข้
ความตายก็โดยนัยเดียวกัน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภัย 3
อย่างนี้แล
เป็นอมาตาปุตติกภัยฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
มรรคาปฏิปทาซึ่งเป็นไปเพื่อละเพื่อก้าวล่วงสมาตาปุตติกภัย
3 อย่างนี้ และอมาตาปุตติกภัย 3
อย่างนี้มีอยู่
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็มรรคาปฏิปทาซึ่งเป็นไปเพื่อละ
เพื่อก้าวล่วงสมาตาปุตติกภัย
3อย่างนี้ และอมาตาปุตติกภัย 3
อย่างนี้เป็นไฉน
คืออริยมรรคมีองค์ 8 นี้แล
กล่าวคือ สัมมาทิฏฐิ
.......สัมมาสมาธิ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
มรรคาปฏิปทาซึ่งเป็นไปเพื่อละเพื่อก้าวล่วงสมาตาปุตติกภัย
3 อย่างและอมาตาปุตติกภัย 3
อย่างนี้แลฯ"
ผู้ที่ยังไม่ใช่พระอรหันต์นั้น
ปฏิสนธิจิตเกิดสืบต่อจุติจิต ก่อนจุติจิตเกิด
มีชวนจิตเกิด 5 ดวง
แทนที่จะมี 7 ดวง
ชวนจิตเหล่านี้เป็นชวนจิตสุดท้ายในชาตินั้น
ถ้ากุศลกรรมเป็นปัจจัยให้เกิดปฏิสนธิจิตในชาติต่อไป
ชวนจิต 5 ดวงสุดท้ายก็เป็นกุศล
และถ้าอกุศลกรรมเป็นปัจจัยให้เกิดปฏิสนธิจิตในชาติต่อไป
ชวนจิตเหล่านี้ก็เป็นอกุศล
ชวนจิตเหล่านี้รู้อารมณ์ที่น่ายินดีหรือไม่น่ายินดีทางปัญจทวารหรือทางมโนทวาร
อารมณ์นั้นปรากฏโดยกรรมที่ทำให้ปฏิสนธิจิต
(ดูบทที่ 10) เกิดเป็นปัจจัย
คนที่ใกล้จะตายอาจจะคิดถึงกรรมที่ได้ทำมาแล้ว
หรือเห็นนิมิตของกรรม
(ที่ได้ทำมาแล้ว)
หรือเห็นนิมิตของสถานที่ที่จะเกิดในภพต่อไป
อาจจะมีตทาลัมพณจิตเกิดต่อชวนจิตหรือไม่มีก็ได้
จุติจิตทำกิจเคลื่อนจากชาตินั้น
จุติจิตเป็นวิบากจิตที่เกิดจากกรรมซึ่งเป็นปัจจัยให้ปฏิสนธิจิตและภวังคจิตเกิดในชาตินั้น
จิตทั้ง 3
ดวงเป็นจิตประเภทเดียวกันและรู้อารมณ์เดียวกัน
เมื่อจุติจิตดับไปแล้ว
ปฏิสนธิจิตในชาติต่อไปก็เกิดสืบต่อซึ่งจะเป็นจิตประเภทไหนนั้นย่อมขึ้นอยู่กับกรรมที่เป็นปัจจัยให้ปฏิสนธิจิตเกิด
ปฏิสนธิจิตดวงนี้รู้อารมณ์เดียวกับชวนจิต
5
ดวงสุดท้ายที่เกิดก่อนจุติจิตในชาติก่อน
ปฏิสนธิจิต ภวังคจิตทุกดวง
และจุติจิตของชาติหน้ารู้อารมณ์เดียวกันนั้น
จิตประเภทเดียวกันที่ทำปฏิสนธิกิจและภวังคกิจนั้นทำจุติกิจด้วย
เมื่อมี จิต 19 ดวง ทำ ปฏิสนธิกิจ
(ดูบทที่ 11) และ ภวังคกิจ
ก็มี จิต 19 ดวง ทำ จุติกิจ
ผู้ที่รู้สึกเจ็บปวดอย่างรุนแรงก่อนสิ้นชีวิตเนื่องจากอุปัทวเหตุหรือความเจ็บป่วย
ชวนจิตสุดท้ายก่อนจุติจิตไม่จำเป็นต้องเป็นอกุศลจิต
ขณะที่เจ็บปวดมากนั้นอาจจะเกิดโทสะ
แต่ชวนจิตสุดท้ายอาจเป็นกุศลจิตก็ได้ถ้ามีโยนิโสมนสิการก่อนจุติจิต
ในอังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต
ทุติยปัณณาสก์ มหาวรรคที่ 1
ผัคคุณสูตร มีข้อความว่า
พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปเยี่ยมท่านพระผัคคุณะซึ่งอาพาธหนัก
ท่านพระผัคคุณะได้บรรลุเป็นพระสกทาคามี
จิตของท่านยังไม่หลุดพ้นจาก
โอรัมภาคิยสังโยชน์
พระผู้มีพระภาคตรัสกะท่าน
พระผัคคุณะว่า
"ดูกรผัคคุณะ
เธอพออดทนได้หรือ
พอยังอัตภาพให้เป็นไปได้หรือ
ทุกขเวทนาย่อมบรรเทา
ไม่กำเริบหรือปรากฏว่าบรรเทา
ไม่กำเริบขึ้นหรือ"
"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ข้าพระองค์อดทนไม่ได้
ยังอัตภาพให้เป็นไปไม่ได้
ทุกขเวทนาของข้าพระองค์กำเริบหนักไม่บรรเทา
ปรากฏว่ากำเริบขึ้น
ไม่บรรเทาเลย
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
เปรียบเหมือนบุรุษมีกำลังพึงเฉือนศีรษะด้วยมีดโกนที่คม
ฉันใด
ลมกล้าเสียดแทงศีรษะของข้าพระองค์ฉันนั้น
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ข้าพระองค์อดทนไม่ได้ ยัง
อัตตภาพให้เป็นไปไม่ได้
ทุกขเวทนาของข้าพระองค์กำเริบหนัก
ไม่บรรเทาฯ"
ลำดับนั้นแล
พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงด้วยธรรมีกถาให้พระผัคคุณะเห็นแจ้ง
ให้สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง
แล้วลุกจากอาสนะหลีกไป
ครั้นเมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จไปแล้วไม่นาน
ท่านพระผัคคุณะได้กระทำกาละ
และในเวลาตาย
อินทรีย์ของท่านพระผัคคุณะนั้นผ่องใสยิ่งนักฯ
ครั้งนั้น
ท่านพระอานนท์เข้าไปเผ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ
ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า
"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จจากมาไม่นาน
ท่านพระผัคคุณะก็กระทำกาละ
และในเวลาตาย
อินทรีย์ท่านพระผัคคุณะผ่องใสยิ่งนัก"
"ดูกรอานนท์
ก็อินทรีย์ของผัคคุณภิกษุจักไม่ผ่องใสได้อย่างไร
จิตของผัคคุณภิกษุยังไม่หลุดพ้นจากสังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องตํ่า
5 เพราะได้ฟังธรรมเทศนานั้น
ดูกรอานนท์
อานิสงส์ในการฟังธรรมในกาลอันควร
ในการใคร่ครวญเนื้อความแห่งธรรมโดยกาลอันควร
6 ประการนี้
6 ประการนี้เป็นไฉน
ดูกรอานนท์
จิตของพระภิกษุในธรรมวินัยนี้ยังไม่หลุดพ้นจากสังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องตํ่า
5 ในเวลาใกล้ตาย
เธอได้เห็นตถาคต
ตถาคตย่อมแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น
อันงามในท่ามกลาง
อันงามในที่สุด
ประกาศพรหมจรรย์
(ชีวิตที่สะอาดบริสุทธิ์
คำนี้หมายถึงชีวิตของบรรพชิตและคฤหัสถ์ที่รักษาอุโบสถศีล
ทั้งยังใช้กับผู้เจริญ
มัคค์มีองค์ 8 ด้วย
จุดมุ่งหมายของพรหมจรรย์
คือ การดับกิเลสเป็นสมุจเฉท)
พร้อมทั้งอรรถ
ทั้งพยัญชนะบริสุทธิ์
บริบูรณ์สิ้นเชิงแก่เธอ
จิตของเธอย่อมหลุดพ้นจากสังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องตํ่า
5
(ผู้ที่บรรลุอริยสัจจธรรมขั้นที่สาม
คือ พระอนาคามีบุคคล
ดับโอรัมภาคิยสังโยชน์ 5 ได้)
เพราะได้ฟังธรรมเทศนานั้น
ดูกรอานนท์
นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ 1
ในการฟังธรรมโดยกาลอันควร
อีกประการหนึ่ง .....
เธอไม่ได้เห็นตถาคต
แต่ได้เห็นสาวกของพระตถาคต
สาวกของพระตถาคตย่อมแสดงธรรม ....
ประกาศพรหมจรรย์ ....
จิตของเธอย่อมหลุดพ้นจากสังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องตํ่า
5 ดูกรอานนท์
นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ 2
ในการฟังธรรมโดยกาลอันควรฯ
อีกประการหนึ่ง .....
เธอไม่ได้เห็นตถาคตและไม่ได้เห็นสาวกของตถาคตเลย
แต่ย่อมตรึกตรองเพ่งด้วยใจซึ่งธรรมตามที่ได้ฟังมา
ได้เรียนมา
จิตของเธอย่อมหลุดพ้นจากสังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องตํ่า
5
ดูกรอานนท์นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่
3
ในการใคร่ครวญเนื้อความแห่งธรรมโดยกาลอันควรฯ"
พระผู้มีพระภาคตรัสข้อความเดียวกันนี้กะพระภิกษุซึ่งได้บรรลุเป็นพระอนาคามีบุคคลแล้ว
และเมื่อมีโอกาสได้ฟังพระธรรมและพิจารณาธรรมในขณะที่กำลังฟังธรรมนั้นด้วย
ก็ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์
กิจของจิตโดยย่อ
- ปฏิสนธิกิจ
(เกิด)
- ภวังคกิจ
(ดำรงภพชาติ)
- อาวัชชนกิจ
(รู้ว่าอารมณ์กระทบ)
- ทัสสนกิจ
(เห็น)
- สวนกิจ
(ได้ยิน)
- ฆายนกิจ
(ได้กลิ่น)
- สายนกิจ
(ลิ้มรส)
- ผุสสนกิจ
(สัมผัสทางกาย)
- สัมปฏิจฉันนกิจ
(รับอารมณ์)
- สันตีรณกิจ
(พิจารณาอารมณ์)
- โวฏฐัพพนกิจ
(ตัดสินอารมณ์)
- ชวนกิจ
(แล่นไปในอารมณ์)
- ตทาลัมพณกิจ
(รับอารมณ์ต่อจากชวนจิต)
- จุติกิจ
(ตาย)
ดูสารบัญ
home
ปัญหาถาม-ตอบ
หนังสือธรรมะ
พระไตรปิฎก
หมายเหตุ:
คัดลอกจากหนังสือ
"พระอภิธรรมในชีวิตประจำวัน"
โดย Nina Van Gorkom
แปลโดย ดวงเดือน บารมีธรรม
มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
|