Buddhist Study | บทที่ 16 อารมณ์และทวาร | |||
"จะมีจิตเกิด
"จิต
นั่นเองที่
"ลักษณะของ
"อารมณ์ทั้ง
"เมื่อเราคิดว่า
"ธัมมารมณ์
"จะรู้ปสาทรูป
"ถ้าเรายึด
|
จิตรู้ อารมณ์ จะมีจิตเกิดขึ้นโดยไม่รู้อารมณ์ไม่ได้ เมื่อมีอารมณ์ปรากฏทางทวารหนึ่งทวารใดใน 6 ทวาร เรารู้ไหมว่า จิต นั่นเองที่รู้อารมณ์นั้น เมื่อไม่รู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง เราก็คิดว่าเป็นตัวเราที่รู้อารมณ์ และยิ่งไปกว่านั้น เรายึดถืออารมณ์นั้นว่าเที่ยง เป็นตัวตน เช่น เมื่อเห็นท่อนไม้ เรามักคิดว่าสิ่งที่ เห็น ขณะนั้นเป็นท่อนไม้ เราไม่ได้รู้ตามความเป็นจริงว่า สิ่งที่ปรากฏทางตา เป็นสิ่งที่มอง เห็น ได้ เมื่อ สัมผัส ท่อนไม้นั้น สภาพแข็ง หรือ สภาพเย็น ก็ปรากฏทาง กาย เราคิดว่าท่อนไม้นั้นไม่เสื่อมสลาย แต่สิ่งที่เราเรียกว่าท่อนไม้เป็นรูปต่างๆซึ่งเกิดแล้วก็ดับไป ลักษณะของรูปแต่ละลักษณะเท่านั้นที่ปรากฏแต่ละขณะ ถ้าเราระลึกศึกษารู้ลักษณะของสภาพธรรมซึ่งปรากฏทางทวารต่างๆ เราจะประจักษ์สภาพธรรมต่างๆตามความเป็นจริงได้ พระอริยบุคคลรู้จักชีวิตต่างกะปุถุชน
สิ่งที่ปุถุชนเห็นว่าเป็นความสุข
พระอริยบุคคลเห็นว่าเป็นทุกข์
สิ่งที่ปุถุชนเห็นว่าเป็นทุกข์
พระอริยบุคคลเห็นว่าเป็นสุข พระผู้มีพระภาคทรงแสดงเรื่องจิตรู้อารมณ์ที่ปรากฏทางทวารต่างๆ เพื่อให้เราพ้นจากความมืดบอด เมื่อได้ศึกษาพระธรรมแล้วก็รู้ว่า อารมณ์ทั้งหมดที่จิตรู้ได้มี 6 อารมณ์ อารมณ์ที่หนึ่ง คือ สิ่งที่ปรากฏทางตา
หรือ อารมณ์ที่สอง คือ เสียง หรือ สัททารมณ์ อารมณ์ที่สาม คือ กลิ่น หรือ คันธารมณ์ อารมณ์ที่สี่ คือ รส หรือ รสารมณ์ อารมณ์ที่ห้า คือ อารมณ์ ที่สามารถรู้ได้ ทางกายหรือ โผฏฐัพพารมณ์ อารมณ์นี้ได้แก่: สภาพแข็ง หรือ ธาตุดิน
(ภาษาบาลีเรียกว่า อุตุ หรือ ธาตุไฟ (ภาษาบาลีเรียกว่า เตโชธาตุ ) ซึ่งปรากฏลักษณะ ร้อน หรือ เย็น ให้รู้ได้ สภาพไหว หรือ ธาตุลม (ภาษาบาลีเรียกว่า วาโยธาตุ ) ซึ่งปรากฏลักษณะ ไหว หรือ ตึง ให้รู้ได้ สภาพแข็ง (ดิน) สภาพเกาะกุม (นํ้า) อุตุ (ไฟ) สภาพไหว (ลม) เป็นรูปที่เป็นใหญ่เป็นประธาน 4 รูป (มหาภูตรูป) สภาพเกาะกุม (ภาษาบาลีเรียกว่า อาโปธาตุ) นั้นไม่สามารถรู้ได้ทางกายทวาร เมื่อกระทบนํ้า สภาพแข็งหรืออ่อน ร้อนหรือเย็น ไหวหรือตึง สามารถรู้ได้ทางกายทวาร สภาพเกาะกุม สามารถรู้ได้ ทางมโนทวาร เท่านั้น ลักษณะของธาตุนํ้าจึงเป็นอารมณ์ประเภทที่ 6 คือ ธัมมารมณ์ ธัมมารมณ์ ได้แก่ อารมณ์ทั้งหมดที่ไม่ใช่อารมณ์ 5 ธัมมารมณ์ สามารถรู้ได้ ทางมโนทวารเท่านั้น ผู้ที่ยังไม่ได้เจริญสติปัฏฐาน ย่อมไม่รู้ชัดว่าอารมณ์ใดปรากฏทางทวารใด ยังสับสนเรื่องอารมณ์และทวาร ฉะนั้นจึงสับสนเรื่องโลก พระอริยบุคคลไม่สับสนเรื่องโลก ท่านรู้ว่าอารมณ์ที่ปรากฏทางทวาร 6 นั้นเป็นแต่เพียงนามธรรมและรูปธรรมไม่ใช่ตัวตน ข้อความใน มัชฌิมนิกาย
อุปริปัณณาสก์ พระผู้มีพระภาคตรัสเรื่องบุคคลที่มีโลภะ โทสะ โมหะ เมื่อรู้อารมณ์ทางทวาร 6 ว่า
ทางทวารอื่นๆ ก็โดยนัยเดียวกัน ข้อความต่อไป
ทรงแสดงเรื่องบุคคลที่มีโยนิโส
ธัมมารมณ์ซึ่งเป็นอารมณ์ที่ 6 นั้นมี 6 ประการ คือ
ธัมมารมณ์ประเภทที่ 1
คือปสาทรูป 5
เป็นรูปที่สามารถรับกระทบรูป
เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ
ปสาทรูปไม่รู้อะไร เป็นรูป
ไม่ใช่นาม
เป็นทางให้จิตรู้อารมณ์ได้
ปสาทรูปเป็นอารมณ์ของจิตทางตา สำหรับ รูปละเอียด (สุขุมรูป)
นั้นมี 16 รูป
รูปทั้งหมดมี 28 รูป เป็น รูปหยาบ
12 รูป (โอฬาริกรูป) และ รูปละเอียด
16 รูป รูปหยาบ 7 รูป
สามารถรู้ได้ทางทวาร 5 คือ
รูปหยาบ 4 รูปรู้ได้ทางตา หู
จมูก ลิ้น ตามลำดับ อีก 3
รูป คือ ธาตุดิน ธาตุไฟ
ธาตุลม รู้ได้ทางกาย
นอกจากนั้นมีรูปหยาบอีก 5
รูปคือปสาทรูป 5 สุขุมรูป 16 รูป รู้ได้เฉพาะ ทางมโนทวารเท่านั้น เช่น โอชา วจีวิญญัตติ ซึ่งเป็นรูปที่เป็นปัจจัยให้เกิดคำพูด กายวิญญัตติ เป็นรูปที่เป็นปัจจัยให้เกิดการแสดงความหมายออกทางกาย ลักษณะของสุขุมรูปจะรู้ได้หรือไม่นั้นย่อมขึ้นอยู่กับปัญญา การคิดถึง สุขุมรูปใดรูปหนึ่งก็ไม่ได้หมายความว่ามีปัญญา ซึ่งรู้ลักษณะของรูปนั้นว่าไม่ใช่ตัวตน จิต เป็นธัมมารมณ์ จิตรู้อารมณ์ แต่จิตก็เป็นอารมณ์ด้วยเหมือนกัน จิตมีกุศลจิตหรืออกุศลจิตหรือจิตอื่นๆ เป็นอารมณ์ก็ได้ ธัมมารมณ์อีกประเภทหนึ่ง คือ เจตสิกทั้ง 52 ดวง เวทนา เป็นเจตสิก ขณะที่จิตรู้ทุกขเวทนา ขณะนั้นอารมณ์ของจิตเป็นธัมมารมณ์ ขณะรู้ลักษณะ แข็ง อารมณ์ขณะนั้นไม่ใช่ธัมมารมณ์ แต่เป็นโผฏฐัพพารมณ์ ความแข็งและความไม่สบายทางกายปรากฏต่อกันได้ ถ้าไม่สังเกตุสำเหนียกว่า ความแข็งและความไม่สบายทางกายเป็นอารมณ์ต่างกัน และไม่รู้ลักษณะที่ต่างกันของนามธรรมและรูปธรรม ก็จะยึดถือนามธรรมและรูปธรรมว่าเป็นตัวตนต่อไป จิตรู้อารมณ์ได้ทุกอย่าง แม้ นิพพาน จิตก็รู้ได้ นิพพาน เป็น ธัมมารมณ์ ซึ่งรู้ได้เฉพาะทางมโนทวารเท่านั้น ฉะนั้นจิตรู้ได้ทั้ง สังขารธรรม และ วิสังขารธรรม จิตที่รู้สังขารธรรมเป็น โลกียจิต (โลกียะในทางธรรมมีความหมายไม่เหมือนโลกียะที่เข้าใจกันทั่วๆไปในทางโลก) จิตที่ประจักษ์แจ้งนิพพานเป็น โลกุตตรจิต ธัมมารมณ์อีกประเภทหนึ่งคือ บัญญัติ
จะเห็นว่า เรื่องหรือคำที่จิตคิดไม่ใช่ปรมัตถธรรม
เราคิดถึงคน สัตว์
หรือวัตถุสิ่งของได้เพราะการทรงจำเหตุการณ์ที่ผ่านมาแล้ว
แต่สิ่งเหล่านั้นไม่ใช่ คำที่บัญญัติขึ้นอาจหมายถึงทั้งสภาพธรรมที่มีจริงและสิ่งที่ไม่มีจริง
คำบัญญัตินั้นไม่ใช่ปรมัตถธรรม อารมณ์ 5 คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เป็นรูป ส่วนธัมมารมณ์ 6 ได้แก่ จิต เจตสิก ปสาทรูป สุขุมรูป นิพพาน และบัญญัติ อารมณ์ต่างๆรู้ได้ ทางทวาร
ต่างๆเช่น จักขุปสาทรูป
(รูปที่รับกระทบสิ่งที่ปรากฏทางตาได้)
เป็นปัจจัยที่สำคัญปัจจัยหนึ่งที่ทำให้จิตรู้อารมณ์ทางตา จิตที่เป็นปัญจทวารวิถีรู้อารมณ์ทางตา
หู จมูก ลิ้น กาย
สำหรับกายทวารนั้น
กายปสาทที่กระทบอารมณ์ทางกาย
เช่น แข็ง อ่อน ร้อน
เย็น ไหว หรือ ตึง
นั้นคือส่วนที่กระทบ ทวาร 5 เป็นรูป ทวารเดียวเท่านั้นเป็นนาม มโนทวาร เป็น นาม มโนทวารวิถีจิตรู้อารมณ์ทางมโนทวาร ภวังคจลนะ และ ภวังคุปัจเฉทะ เกิดก่อนมโนทวาราวัชชนจิต ภวังคุปัจเฉทะ ซึ่งเกิดก่อนมโนทวาราวัชชนจิตเป็น มโนทวาร เป็นทางที่มโนทวาราวัชชนจิตเกิดขึ้นรู้อารมณ์ การรู้ว่าจิตรู้อารมณ์ทางทวารใดนั้นเป็นประโยชน์ เช่น สิ่งที่ปรากฏทางตาหรือรูปารมณ์นั้นรู้ได้ทางจักขุทวารและทางมโนทวาร วิถีจิตทางตารู้รูปารมณ์ที่ยังไม่ดับ วิถีจิตทางมโนทวารที่เกิดต่อจากจักขุทวารวิถีนั้นรู้รูปารมณ์ที่เพิ่งดับ ขณะนั้นไม่ได้คิดถึงบุคคลหรือวัตถุสิ่งของ แต่มโนทวารวิถีอีกหลายวาระก็เกิดขึ้นคิดถึงบุคคลหรือสิ่งของ อารมณ์ในขณะนั้นเป็นบัญญัติ ไม่ใช่รูปารมณ์ การรู้รูปารมณ์เป็นปัจจัยให้คิดถึงเรื่องราวบัญญัติต่างๆในภายหลัง ชวนจิตเกิดทั้งในปัญจทวารวิถีและมโนทวารวิถี สำหรับผู้ที่ไม่ใช่พระอรหันต์ ชวนจิตเป็นกุศลจิตหรืออกุศลจิต เมื่อรูปารมณ์ปรากฏทางจักขุทวาร ขณะนั้นยังไม่เห็นเป็นบุคคลหรือวัตถุ แต่ในปัญจทวารวิถีนั่นเอง โลภะ หรือโทสะ หรือโมหะ ในสิ่งที่เห็นก็เกิดได้ กิเลสเหนียวแน่นมาก เกิดได้ทั้ง 6 ทวาร เราอาจคิดว่าการเป็นทาสของอารมณ์ที่ปรากฏทางปัญจทวารนั้นเป็นเพราะอารมณ์นั้นเอง แต่ความจริงแล้วกิเลสไม่ได้เกิดขึ้นเพราะอารมณ์ แต่เพราะกิเลสที่สะสมอยู่ในจิตซึ่งรู้อารมณ์นั้น ในสังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค โกฏฐิกสูตร ท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหาโกฏฐิกะพำนักอยู่ในป่าอิสิปตนะ ใกล้เมืองพาราณสี ท่านพระมหาโกฏฐิกะ กล่าวกะท่านพระสารีบุตรว่า
home ปัญหาถาม-ตอบ หนังสือธรรมะ หมายเหตุ:
คัดลอกจากหนังสือ
"พระอภิธรรมในชีวิตประจำวัน"
|
|