ฺBuddhist Study | บทที่ 2 ขันธ์ 5 | |||
home
"นิพพานไม่ใช่ขันธ์ นิพพานเป็นขันธวิมุตติ พ้นจากความเป็นขันธ"
"โทมนัสเวทนาเกิดร่วมกับอกุศลจิต ไม่ใช่วิบากโทมนัสเวทนาเกิดเพราะโทสะที่สะสมไว้เป็นปัจจัย"
"เมื่อดับเหตุที่ทำให้เกิดโทสะแล้ว
ทุกขเวทนาก็ยังเกิดได้
แต่ไม่มีโทมนัสเวทนาอีกต่อไป
"เรามักยึดมั่นในเวทนาที่ดับไปแล้ว แทนที่จะระลึกรู้สภาพธรรมที่กำลังปรากฏทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ"
"ขันธ์ 5 ได้ชื่อว่า อุปาทานขันธ์ เพราะเป็นที่ตั้งแห่งการยึดถือ "
"ตราบใดขันธ์ 5 ยังเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นแล้ว ตราบนั้นเราก็เป็นเสมือนบุคคลที่ถูกเบียดเบียนด้วยโรคาพยาธิ"
"ตราบใดที่ยังยึดติดในขันธ์ 5 ขันธ์ 5 ก็จะเกิดขึ้นในภพชาติต่อไป ซึ่งก็ต้องเป็นทุกข์ "
"เมื่ออบรม เจริญมัคค์มีองค์ 8 ก็จะเริ่มรู้สภาพของขันธ์ 5 ตามความเป็นจริงเป็นการดำเนินไปสู่ความดับทุกข์ซึ่งไม่มีการเกิด แก่ เจ็บ ตาย อีกเลย " |
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้แจ้งสภาพธรรมทั้งปวง พระองค์ทรงประจักษ์แจ้งลักษณะของสภาพธรรมแต่ละลักษณะด้วยพระองค์เอง พระองค์ทรงพระมหากรุณาธิคุณ แสดงพระธรรมให้สัตว์โลกได้รู้ลักษณะของสภาพธรรมโดยนัยต่างๆ เพื่อจะได้เข้าใจสภาพธรรมทั้งภายในและภายนอกลึกซึ้งยิ่งขึ้น สภาพธรรมทั้งหลายโดย ปรมัตถธรรม คือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน จิต เจตสิก รูป เป็นสังขารธรรม เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยแล้วก็ดับไป ไม่เที่ยง นิพพานปรมัตถ์ เป็นวิสังขารธรรม เป็นธรรมที่ไม่เกิดและไม่ดับ ปรมัตถธรรมทั้ง 4 เป็นอนัตตา จิต เจตสิก รูป
ซึ่งเป็น สังขารธรรม
นั้นจำแนกได้อีกนัยหนึ่ง คือ
โดยเป็นขันธ์ 5 1. รูปขันธ์
ได้แก่
รูปทุกรูป เจตสิก 52 ดวง จำแนกเป็น ขันธ์ 3 คือ เวทนาเจตสิก 1 ดวง เป็น เวทนาขันธ์ สัญญาเจตสิก 1 ดวง เป็น สัญญาขันธ์ เจตสิกที่เหลืออีก 50 ดวง เป็น สังขารขันธ์ เช่น เจตนา โลภะ โทสะ โมหะ เมตตา อโลภะ และปัญญา เป็นต้น อีกประการหนึ่ง สังขารขันธ์ หมายถึง สภาพซึ่ง "กระทำ" หรือ "นามธรรมที่ปรุงแต่งจิต" สำหรับจิตปรมัตถ์นั้น จิตทุกดวง
เป็น วิญญาณขันธ์
ในภาษาบาลี คำว่า วิญญาณ
มโน จิตเป็นคำที่หมายถึงสภาพธรรมอย่างเดียวกัน
คือสภาพธรรมที่มีลักษณะ รู้อารมณ์
เมื่อจำแนกจิตโดยนัยของ
ขันธ์ ก็ใช้คำว่า
"วิญญาณ" นิพพานไม่ใช่ขันธ์ นิพพานเป็นขันธวิมุตติ พ้นจากความเป็นขันธ์ ข้อความใน วิสุทธิมัคค์ ทัสสนวิสุทธินิทเทส แสดงการเกิดและดับของนามรูป
ขันธ์มีจริง เรารู้ขันธ์ได้
เช่น เรารู้ รูปขันธ์
เวทนาขันธ์ มีจริง เรารู้เวทนาขันธ์ได้ ความรู้สึกทุกอย่างเป็นเวทนาขันธ์ เวทนาจำแนกได้หลายนัย บางครั้งก็จำแนกเป็น 3 คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อุเบกขาเวทนา (อทุกขมสุขเวทนา) บางครั้งก็จำแนกเป็น 5 คือ โสมนัสเวทนา โทมนัสเวทนา อทุกขมสุขเวทนา สุขเวทนา ทุกขเวทนา ความรู้สึกทางกายมีกายปสาทซึ่งเป็น
รูป
ที่สามารถกระทบสัมผัสทางกายเป็นปัจจัย
เพราะเวทนาต่างๆ
เกิดขึ้นแล้วก็ดับไปๆ
จึงยากที่จะรู้ว่า
เป็นเวทนาแต่ละประเภท เช่น
เราอาจปนสุขเวทนาทางกายซึ่งเป็นวิบาก
กับโสมนัสเวทนาที่พอใจในสุขเวทนานั้น
ซึ่งเกิดขึ้นภายหลัง
หรืออาจเข้าใจว่า
ทุกขเวทนาและโทมนัสเวทนาซึ่งเกิดขึ้นภายหลังนั้นเป็นความไม่สบายใจ ในสังยุตตนิกาย สคาถวรรค มารสังยุตต์ ทุติยวรรคที่ 2 สกลิกสูตรที่ 3 ข้อ 452 มีข้อความว่า
เวทนาจำแนกเป็น 6 โดยนัยของ ทวาร 6 เวทนาเกิดทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย และทางใจ เวทนา 6 นี้ต่างกันเพราะเกิดจากปัจจัยต่างกัน เวทนาเกิดดับพร้อมกับจิตที่เวทนานั้นๆเกิดร่วมด้วย ฉะนั้ทุกขณะจึงไม่ใช่เวทนาเดียวกันเลย ในสังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เคสัญญสูตรที่ 2 มีข้อความว่า
เวทนายังจำแนกได้อีกหลายนัย เมื่อรู้วิธีจำแนกเวทนาโดยนัยต่างๆ ก็จะทำให้เข้าใจจริงๆว่า เวทนาเป็นเพียงนามธรรมชนิดหนึ่งซึ่งเกิดเพราะเหตุปัจจัย เรามักยึดมั่นในเวทนาที่ดับไปแล้ว แทนที่จะระลึกรู้สภาพธรรมที่กำลังปรากฏทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ ในวิสุทธิมัคค์ที่กล่าวถึงข้างต้นนั้น อุปมานามธรรมและรูปธรรมที่เกิดขึ้น เสมือนเสียงขลุ่ยซึ่งไม่ได้มาจากที่ใดเลย หรือไปดังที่ใดเลยเมื่อเสียงดับไป หรือสะสมเก็บไว้ ณ ที่ใดเลย แต่เราก็ยึดติดในเวทนานั้นเสียจนไม่รู้เลยว่า เวทนาที่ดับไปแล้วนั้นดับไปหมดไม่เหลืออยู่เลย เวทนาขันธ์ไม่เที่ยง สัญญาขันธ์ มีจริง
และจะรู้ได้เมื่อจำสิ่งใดได้
สัญญาเกิดกับจิตทุกดวง
จิตแต่ละดวงเกิดขึ้นรู้อารมณ์
และสัญญาซึ่งเกิดกับจิตก็จำและหมายรู้อารมณ์นั้น
เพื่อจำอารมณ์นั้นได้อีก
แม้ขณะที่จำไม่ได้
จิตขณะนั้นก็รู้อารมณ์
และสัญญาที่เกิดกับจิตก็หมายรู้อารมณ์นั้น
สังขารขันธ์ (เจตสิก 50 ดวง เว้นเวทนาและสัญญา) มีจริงและรู้ได้ เรารู้สังขารขันธ์ได้ในขณะที่มีโสภณเจตสิก เช่น ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ กรุณาหรือในขณะที่มีอกุศลเจตสิก เช่น โทสะ มัจฉริยะ สภาพธรรมเหล่านี้เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป สังขารขันธ์ไม่เที่ยง วิญญาณขันธ์ (จิต) มีจริง รู้ได้เมื่อมีการเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การลิ้มรส การกระทบสัมผัสทางกาย หรือการคิดนึก วิญญาณขันธ์เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป ไม่เที่ยง สังขารธรรมทั้งหลาย (ธรรมที่เกิดเพราะเหตุปัจจัย) คือ ขันธ์ 5 ไม่เที่ยง ขันธ์ 5 ได้ชื่อว่า
อุปาทานขันธ์
เพราะเป็นที่ตั้งแห่งการยึดถือ
ผู้ที่ไม่ใช่พระอรหันต์ยังยึดมั่นในขันธ์
5
เรายึดถือร่างกายว่าเป็นตัวตน
ฉะนั้น
เราจึงยึดมั่นในรูปขันธ์
เรายึดนามธรรมว่าเป็นตัวตน
เราจึงยึดมั่นในเวทนาขันธ์
สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์
และวิญญาณขันธ์ ในสังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค นกุลปีตวรรคที่ 1 นกุลปีตสูตร มีข้อความว่า คฤหบดี ชื่อ นกุลบิดาเป็นผู้แก่เฒ่า เจ็บป่วยเนืองๆ เข้าไปเผ้าพระผู้มีพระภาคซึ่งขณะนั้นประทับอยู่ ณ เภสกฬาวัน (ป่าเป็นที่นางยักษ์ชื่อ เภสกฬา อาศัยอยู่) อันเป็นสถานที่ให้อภัยแก่หมู่มฤค ใกล้เมืองสุงสุมารคิรในภัคคชนบท พระผู้มีพระภาคตรัสให้นกุลบิดาคฤหบดีพิจารณาว่า "เมื่อเรามีกายกระสับกระส่ายอยู่ จิตของเราจักไม่กระสับกระส่าย" หลังจากนั้นท่านพระสารีบุตรก็ได้อธิบายขยายความว่า
ตราบใดที่ยังยึดติดในขันธ์ 5
ก็เป็นเสมือนคนป่วยแต่ความป่วยไข้ก็อาจจะหายได้เมื่อประจักษ์แจ้งขันธ์
5 ตามความเป็นจริง ขันธ์ 5
ไม่เที่ยง จึงเป็นทุกข์
ในสังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค
home ปัญหาถาม-ตอบ หนังสือธรรมะ
|
|