Buddhist Study | บทที่ 22 ฌานจิต | |||
"ถ้าไม่ใช่พระอรหันต์
"ชวนจิตส่วนใหญ่
"กุศลจิต อกุศลจิต
"ฌานจิต
"ขณะที่ฌานจิตเกิด
"ฌานจิต คือ
"นอกจาก
"ฌานจิตรู้อารมณ์
"ฌานจิตเกิดขึ้น
"อัปปนาสมาธิจะ
"ฌานจิตเป็น
"ฌานจิตเป็น
"การที่จะบรรลุ
|
ในชีวิตประจำวัน จิตหลายประเภทเกิดขึ้นรู้อารมณ์ที่กระทบปัญจทวารและมโนทวาร เราเห็น ได้ยิน รับรู้อารมณ์ทางอารมณ์อื่นๆทางปัญจทวาร แล้วก็คิดถึงอารมณ์เหล่านี้ ชวนจิตเกิดทั้งทางปัญจทวารและมโนทวาร ซึ่งถ้าไม่ใช่พระอรหันต์ชวนจิตก็เป็นกุศลจิตหรืออกุศลจิต ชวนจิตส่วนใหญ่เป็นอกุศล เพราะเรายึดมั่นในอารมณ์ทุกอย่างที่รับรู้ทางปัญจทวารและมโนทวาร เรายึดในรูปารมณ์และการเห็น เสียงและการได้ยินและทุกอารมณ์ที่รับรู้ เรารักชีวิต ปราถนาที่จะมีชีวิตต่อไปและรับรู้อารมณ์ต่างๆ เราอาจไม่ได้สังเกตุว่ามีการยึดติดหลังจากที่เห็นหรือได้ยินแล้ว โดยเฉพาะเมื่อไม่รู้สึกยินดีสักเท่าไหร่ในสิ่งที่เห็นหรือได้ยิน แต่ก็อาจจะมีโลภมูลจิตที่เกิดร่วมกับอุเบกขาเวทนา ซึ่งย่อมจะมีการยึดติดเกิดขึ้นหลายๆขณะ แล้วก็ผ่านไปโดยไม่ได้สังเกตุทั้งในปัญจทวารวิถีและมโนทวารวิถี เมื่อรู้อารมณ์ทางทวารใดทวารหนึ่งในปัญจทวาร แล้วก็รู้อารมณ์นั้นต่อทางมโนทวารอีกหลายวาระ แล้วยังมีมโนทวารวิถีจิตที่คิดถึงสมมุติบัญญัติ เช่น คน สัตว์ วัตถุสิ่งของต่างๆ การยึดติดในสมมุติบัญญัติเกิดขึ้นบ่อยมาก ฉะนั้น ส่วนใหญ่เราจึงคิดถึงสมมุติบัญญัติด้วยอกุศลจิต ขณะที่ไม่ได้เป็นไปในทาน ศีล หรือภาวนา ก็คิดนึกด้วยอกุศลจิต แม้ในขณะที่กระทำกุศล อกุศลจิตก็อาจเกิดขึ้นหลังจากที่กุศลจิตดับไปแล้วไม่นาน เพราะมีการเห็นบ้าง การได้ยินบ้างเกิดขึ้น เมื่อเห็นแล้วหรือได้ยินแล้ว ความชอบใจหรือไม่ชอบใจอาจเกิดขึ้นได้ กุศลจิต อกุศลจิต และจิตทุกดวงที่เกิดในชีวิตประจำวันของเรา เป็นจิตขั้นกามภูมิหรือ กามาวจรจิต จิตที่รู้กามอารมณ์นั้นมักจะเป็นไปกับกิเลส
ฉะนั้น
แม้ก่อนสมัยพระผู้มีพระภาค
ผู้มีปัญญาที่เห็นโทษของกามอารมณ์จึงเจริญ
ฌาน
เพื่อระงับกามอารมณ์ชั่วคราว ฌานจิต
ไม่ใช่กามาวจรจิตเพราะเป็นจิตอีกภูมิหนึ่ง
ฌานจิตรู้อารมณ์กรรมฐานด้วย สมาธิที่แนบแน่น
ทางมโนทวาร
ขณะที่ฌานจิตเกิดนั้นไม่รับรู้กามอารมณ์
จึงระงับกิเลสที่ข้องอยู่กับกามอารมณ์
ฌานจิต คือ รูปาวจรจิต
(รูปฌานจิต) และ นอกจาก กามาวจรจิต รูปาวจรจิต และ อรูปาวจรจิต ยังมีอีกภูมิหนึ่งคือ โลกุตตรจิต (จิตที่พ้นจากโลก) ซึ่งมี พระนิพพาน เป็นอารมณ์ ผู้ที่รู้แจ้งอริยสัจจธรรมมีโลกุตตรจิต โดยมีนิพพานเป็นอารมณ์ สำหรับฌานจิตนั้น ฌานจิต ไม่มีสี เสียง กลิ่น รส หรือโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์ ฌานจิตรู้อารมณ์กรรมฐานทางมโนทวาร ในฌานวิถีนั้น วิถีจิตขณะแรกๆเป็นกามาวจรจิตซึ่งรู้อารมณ์กรรมฐานนั้นเอง ต่อจากนั้นฌานจิตจึงเกิด ฌานวิถีจิตเกิดตามลำดับดังนี้ คือ กามาวจรจิต
ฌานจิต
สำหรับบางบุคคล บริกัมม์อาจไม่เกิด ฉะนั้น หลังจากที่มโนทวาราวัชชนจิตดับแล้ว จะมี กามาวจรจิต เกิดก่อนฌานจิตเพียง 3 ดวง เท่านั้น แทนที่จะมี 4 ดวง โคตรภู (จิตที่ข้ามจากกามภูมิ) เป็นจิตดวงสุดท้ายในวิถีนั้นซึ่งเป็นกามาวจรจิต ในวิสุทธิมัคค์ ปฐวีกสิณนิทเทศ กล่าวถึงฌานวิถีจิตที่เกิดเป็นครั้งแรก ข้อความในวิสุทธิมัคค์ ปฐวีกสิณนิทเทส กล่าวว่า ฌานจิตเกิดขึ้นเพียงขณะเดียวเท่านั้น เมื่อดับไปแล้วภวังคจิตก็เกิดสืบต่อ ต่อจากนั้นก็เป็นวิถีของกามาวจรจิตซึ่งเกิดทางมโนทวาร พิจารณาฌานที่เพิ่งเกิดและดับไปแล้ว ข้อความในวิสุทธิมัคค์กล่าวว่า อัปปนาสมาธิจะ "ดำรง" อยู่ตราบเท่าที่จิตสงบจากนิวรณธรรมอย่างแท้จริง ก่อนอื่นจะต้องระงับกามฉันทะโดยพิจารณาโทษของกามฉันทะ และระงับ "นิวรณธรรม" อื่นๆ ฌานจิตเป็นกุศลกรรมขั้นสูง เมื่อฌานจิตเกิด นิวรณธรรม คือ กามฉันทะ พยาปาทะ ถีนมิทธะ อุทธัจจะกุกกุจจะ และวิจิกิจฉา สงบระงับชั่วคราว ขณะนั้นจึงเป็นความสงบที่แท้จริง อย่างน้อยชั่วในขณะนั้น ในบทที่แล้ว เราได้ศึกษาว่า ผู้ที่ต้องการเจริญสมถะเพื่อบรรลุฌานจิต ต้องเจริญองค์ฌาน 5 ซึ่งระงับนิวรณธรรมดังนี้คือ วิตก (สภาพธรรมที่จรดหรือตรึกในอารมณ์) วิจาร (สภาพธรรมที่ประคองอารมณ์) ปีติ (สภาพธรรมที่ปลาบปลื้ม) สุข (ความรู้สึกโสมนัส) สมาธิ (สภาพธรรมที่ตั้งมั่นในอารมณ์) ฌานจิตเจริญขึ้นเป็นลำดับขั้น และฌานที่สูงขึ้นแต่ละขั้นก็ละเอียดขึ้นๆ รูปฌานจิตมี 5 ขั้น ปฐมฌานจิตนั้นจะต้องมีองค์ฌานครบทั้ง 5 แต่ในฌานขั้นสูงขึ้นไปก็จะลดองค์ฌานไปตามลำดับ เมื่อบรรลุทุติยฌาน ก็ละวิตก ทุติยฌานจิตแนบแน่นในอารมณ์กรรมฐานได้โดยไม่ต้องอาศัย วิตก (ซึ่งเป็นสภาพธรรมที่นำจิตสู่อารมณ์และทำกิจจรดในอารมณ์นั้น) ส่วนองค์ฌานอีก 4 องค์ ยังเกิดกับทุติยฌานจิต เมื่อบรรลุตติยฌานจิต ก็ละ วิจารเจตสิก ฌานขั้นนี้ไม่จำเป็นต้องมีวิตกและวิจารที่จะทำให้จิตแนบแน่นในอารมณ์กรรมฐาน ฉะนั้นจึงมีองค์ฌานที่เหลือเพียง 3 องค์ คือ ปีติ สุข และ เอกัคคตา (สมาธิ) เมื่อบรรลุจตุตยฌานก็ละปีติ มีแต่โสมนัสเวทนา แต่ไม่มีปีติ เมื่อละปีติได้แล้ว ฌานจิตขั้นนี้จึงสงบขึ้น ประณีตขึ้น เมื่อบรรลุปัญจมฌานก็ละ สุขเวทนา มีอุเบกขาเวทนาเกิดร่วมด้วยแทนสุขเวทนา ผู้บรรลุฌานขั้นนี้ไม่ยินดีในโสมนัสเวทนา แต่องค์ฌานซึ่งเป็น เอกัคคตา ยังคงมีอยู่ ขณะที่บรรลุฌานขั้นที่สอง
บางท่านละได้ทั้งวิตกและวิจาร
ฉะนั้น ในฌานจิตขั้นที่สาม
จึงละปีติได้
และในฌานจิตขั้นที่ 4
จึงละสุขได้ ฉะนั้น
ท่านเหล่านั้นจึงมี ฌานจิต 4
ขั้นเท่านั้น แทนที่จะมี
5 ขั้น
ด้วยเหตุนี้เองจึงกล่าวได้ว่า รูปฌานทั้งหมดมีได้ถึง 5 ขั้น
ฉะนั้นจึงมี รูปาวจรกุศลจิต 5
(รูปฌานกุศลจิต)
ฌานจิตเป็นกุศลกรรมขั้นสูง
ฉะนั้น
ผลคือกุศลวิบากจึงเป็นขั้นสูงด้วย
ฌานจิตไม่ทำให้เกิดวิบากในชาตินั้น
ผลของฌานจิต
คือการเกิดในภพภูมิที่สูงขึ้น
คือ เกิดในรูปพรหมภูมิ
ถ้ารูปาวจรกุศลจิตจะให้ผลในชาติหน้า
รูปาวจรกุศลจิตจะเกิดก่อนจุติจิต
ปฏิสนธิจิตของชาติหน้าจึงเป็นรูปาวจรวิบากจิต
ซึ่งเกิดในรูปพรหมภูมิที่ควรแก่ฌานนั้นๆ
รูปาวจรวิบากจิตรู้อารมณ์กรรมฐานเดียวกับ รูปาวจรวิบากจิตทำกิจ ปฏิสนธิ ภวังค์ และ จุติ เท่านั้น มี รูปาวจรกิริยาจิต 5 ดวง ซึ่งเป็นจิตของพระอรหันต์ผู้บรรลุรูปฌาน พระอรหันต์ไม่มีกุศลจิต แต่มีกิริยาจิตแทน ฉะนั้น รูปาวจรจิตจึงมีทั้งหมด 15 ดวง คือ
ผู้ที่บรรลุฌานขั้นสูงสุด
และเห็นโทษของรูปฌานที่ยังมีรูปเป็นอารมณ์
อาจปราถนาที่จะเจริญ อรูปฌาน
คือฌานที่ไม่มีรูปเป็นอารมณ์
อรูปฌานมี 4 ขั้น
อรูปฌานขั้นที่หนึ่งคือ อากาสานัญจายตนฌาน
การที่จะบรรลุอรูปฌานขั้นต้นได้นั้น
จะต้องบรรลุรูปฌานขั้นสูงสุดโดยมีกสิณใดกสิณหนึ่งในหมวดกสิณเป็นกรรมฐาน
(กสิณเป็นอารมณ์กรรมฐานของรูปฌาน
เช่น วัณณะกสิณ หรือ
ปถวีกสิณ) ยกเว้นอากาศกสิณ
และมีความชำนาญยิ่งด้วย
สำหรับอากาสานัญจายตนะ วิสุทธิมัคค์ อารุปปนิทเทส อธิบายการเพิกกสิณ ว่า
ด้วยวิธีนี้จึง เพิกกสิณ
ได้
และบรรลุอรูปฌานขั้นที่หนึ่งคือ
อากาสานัญจายตนะ
อรูปฌานขั้นที่สองคือ วิญญาณัญจายตนะ
อรูปฌานขั้นนี้มีจิตคือวิญญาณัญจายตนจิตนั่นเองเป็นอารมณ์
ผู้ที่ปราถนาจะบรรลุอรูปฌานขั้นนี้จะต้องมีความชำนาญแคล่วคล่องในอากาสานัญจายตนะ
เห็นโทษของอากาสานัญจายตนฌานจิตแล้ว
ละความยินดีในอากาสานัญจายตนฌาน
อรูปฌานขั้นที่สามคือ อากิญจัญญายตนะ
ในวิสุทธิมัคค์
อารุปปนิทเทส มีข้อความว่า
ผู้ที่ปราถนาที่จะบรรลุอรูปฌานขั้นนี้จะต้องใส่ใจใน
ความไม่มีอะไรของวิญญาณ
ที่แผ่ไปทั่วอากาศที่ไม่มีที่สิ้นสุด
ซึ่งเป็นอารมณ์ของอรูปฌานที่สอง
(วิญญาณัญจายตนะ)
ข้อความในวิสุทธิมัคค์ อารุปปนิทเทส มีข้อความต่อไปว่า
อรูปฌานที่สี่คือ เนวสัญญานาสัญญายตนะ
(จะว่าสัญญาก็ไม่ใช่
ไม่ใช่สัญญาก็ไม่ใช่)
เนวสัญญาสัญญายตนฌานมีอากิญจัญญายตนฌานเป็นอารมณ์
ข้อความต่อไปนี้ว่า
และยังอธิบายต่อไปว่า เวทนาที่เกิดกับฌานจิตขั้นนี้จะเป็นเวทนาก็ไม่ใช่ จะไม่ใช่เวทนาก็ไม่ใช่ (เพราะเหตุว่าเป็นเวทนาที่ละเอียดมากเหมือนส่วนที่ยังจางไปไม่หมด) จิต ผัสสเจตสิกและเจตสิกอื่นที่เกิดพร้อมกับฌานจิตก็มีนัยเดียวกัน เมื่ออรูปฌานมี 4 ขั้น จึงมี อรูปาวจรกุศลจิต 4 ประเภท ซึ่งเป็นปัจจัยให้วิบากปฏิสนธิใน อรูปพรหมภูมิ อรูปาวจรกุศลจิตเป็นปัจจัยให้เกิด อรูปาวจรวิบากจิต 4 ประเภท ซึ่งทำกิจ ปฏิสนธิ ภวังค์ และจุติ ได้เท่านั้น มี อรูปาวจรกิริยาจิต 4 ประเภท
ซึ่งเป็นจิตของพระอรหันต์ที่บรรลุอรูปฌาน
ฉะนั้น รวมทั้งหมดจึงมี
ผู้ที่เจริญฌานสามารถเจริญ อภิญญา (บางแห่งแปลว่า ปาฏิหาริย์) ได้ ซึ่งจะต้องบรรลุรูปฌานขั้นสูงสุด (รูปฌานที่ 4 หรือที่ 5 โดยจตุตถนัยหรือโดยปัญจกนัย) โดยมีกสิณเป็นกรรมฐาน และจะต้องฝึกจิตโดยอาการ 14 เช่น เข้าฌานขั้นต่างๆ โดยมีกสิณต่างๆเป็นกรรมฐานโดยอนุโลมและปฏิโลม ในการเจริญอภิญญาหรืออิทธิปาฏิหาริย์นั้น สมาธิจะต้องแนบแน่นมั่นคงยิ่งขึ้น อภิญญา มีดังนี้ คือ
นี่เป็นโลกียอภิญญา 5
แต่มีอภิญญาที่ 6 คือ โลกุตตรจิต บางแห่งก็กล่าวถึง อภิญญา 3 คือ
ผู้ที่อบรมเจริญเหตุปัจจัยที่ถูกต้องสามารถบรรลุอภิญญา
ในอังคุตตรนิกาย ติกนิบาต
สังคารวสูตร
มีข้อความที่กล่าวถึงอภิญญาขั้นสูงสุด
พระผู้มีพระภาคตรัสถาม
สังคารวพราหมณ์ประกาศความเลื่อมใสในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และทูลขอเป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ในสมัยที่พระผู้มีพระภาคยังทรงมีพระชนมายุนั้น พระภิกษุเป็นจำนวนมากได้อบรมเจริญวิชชาที่ยอดเยี่ยมที่สุด วิชชาในการแสดงพระธรรมเป็นวิชชาที่ยอดเยี่ยมที่สุด เพราะสามารถนำไปสู่การดับกิเลสได้หมดสิ้น เป็นสมุจเฉท ซึ่งเป็นความสิ้นสุดแห่งทุกข์ ผู้ที่สะสมมาที่จะเจริญฌานนั้น ย่อมได้คุณประโยชน์หลายประการ เพราะฌานเป็นกุศลกรรมขั้นสูง คุณประการหนึ่ง คือ การเกิดในสุคติภูมิ แม้ว่าบรรลุเพียงอุปจารสมาธิเท่านั้น แต่การเกิดในสุคติก็ยังเป็นทุกข์ เพราะหลังจากสุคติภูมิแล้วก็เกิดในทุคติภูมิได้ ด้วยเหตุนี้ การไม่เกิดเลยนั้น ดีกว่าการเกิดในภูมิใดๆซึ่งจะรู้จริงๆได้ก็ต่อเมื่ออบรมเจริญปัญญาที่ดับกิเลสเท่านั้น ในพระธรรมวินัยแสดงว่า ฌานเป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในอัตภาพนี้ (มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ สัลเลขสูตร) ผู้ที่ชำนาญคล่องแคล่วในฌาน มีฌานจิตเกิดสืบต่อกันได้มากมายเพราะมีเหตุปัจจัยได้สะสมมาแล้ว แต่พระผู้มีพระภาคตรัสว่าธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขไม่ใช่ธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส ในมัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ สัลเลขสูตร พระผู้มีพระภาคตรัสกะท่านพระมหาจุนทะถึงพระภิกษุที่บรรลุอรูปฌานว่า ภิกษุนั้นจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า "เราย่อมอยู่ด้วยธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส" ดูกรจุนทะ แต่ธรรมคือจตุตถฌานนี้ เราไม่กล่าวว่าเป็นธรรมเครื่องขัดเกลาในวินัยของพระอริยะ เรากล่าวว่าเป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในอัตภาพนี้ ในวินัยของพระอริยะฯ พระผู้มีพระภาคตรัสถึงพระภิกษุที่บรรลุอรูปฌานว่า ภิกษุนั้นพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า "เราย่อมอยู่ด้วยธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส ดูกรจุนทะ แต่ธรรมเหล่านี้ เราไม่ควรกล่าวว่าเป็นธรรมเครื่องขัดเกลาในวินัยของพระอริยะ เรากล่าวว่าเป็นธรรมเตรื่องอยู่สงบระงับในวินัยของพระอริยะฯ ผู้ที่มีความชำนาญแคล่วคล่องในฌานและอบรมเจริญวิปัสสนา
สามารถประจักษ์แจ้งอริยสัจจธรรมพร้อมกับฌาน
โดยมีพระนิพพานเป็นอารมณ์ขององค์ฌาน
แทนอารมณ์ ผู้ที่บรรลุฌานที่สี่คือ
เนวสัญญานาสัญญายตนะ
และเป็นพระอนาคามีบุคคลหรือพระอรหันตบุคคล
สามารถเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติซึ่งดับจิตและเจตสิกได้ชั่วคราว
ผู้ที่เข้า นิโรธสมาบัติ
ต่างกับร่างที่สิ้นชีวิตแล้ว
เมื่อออกจากนิโรธสมาบัติ
จิตขณะแรกที่เกิดเป็น ผลจิต
ในมัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ มหายมกวรรค จูฬโคสิงคสาลสูตร มีข้อความว่า พระผู้มีพระภาคเสด็จไปหาท่านพระอนุรุทธ ท่านพระนันทิยะ และท่านพระกิมิละ ขณะที่ท่านเหล่านั้นพำนักอยู่ที่ป่าโคสิงคสาลวัน พระผู้มีพระภาคตรัสถามถึงความเป็นอยู่ของท่านเหล่านั้น ท่านเหล่านั้นบรรลุรูปฌานและอรูปฌาน และสามารถเข้าฌานได้ตามความปราถนา พระผู้มีพระภาคตรัสว่า "ดีละ ดีละ อนุรุทธ ก็คุณวิเศษคือญาณทัสสนะอันสามารถกระทำความเป็นพระอริยะ อันยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ ซึ่งเป็นเครื่องอยู่สำราญที่พวกเธอได้บรรลุแล้ว เพื่อความก้าวล่วง เพื่อความระงับแห่งธรรมเป็นเครื่องอยู่อันนี้ อย่างอื่นมีอยู่หรือฯ" "เพราะเหตุอะไรเล่า จะไม่พึงมี พระพุทธเจ้าข้า พวกข้าพระองค์หวังอยู่เพียงว่า เพราะล่วงเสียซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนะโดยประการทั้งปวง พวกเราบรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ เพราะเห็นแม้ด้วยปัญญา อาสวะของท่านผู้นั้นย่อมหมดสิ้นไป อันนี้ได้แก่คุณวิเศษคือญาณทัสสนะอันสามารถกระทำความเป็นพระอริยะ อันยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ ซึ่งเป็นเครื่องอยู่สำราญอย่างอื่น เพื่อความก้าวล่วง เพื่อความระงับแห่งธรรมเป็นเครื่องอยู่อันนี้ได้บรรลุแล้ว พระพุทธเจ้าข้า อนึ่ง พวกข้าพระองค์ยังไม่พิจารณาเห็นธรรมเป็นเครื่องอยู่สำราญอย่างอื่น ที่ยิ่งกว่าหรือประณีตกว่าธรรมเป็นเครื่องอยู่สำราญอันนี้ฯ" "ดีละ ดีละ อนุรุทธ
ธรรมเป็นเครื่องอยู่สำราญอย่างอื่น
ที่ยิ่งกว่าหรือประณีตกว่าธรรมเป็นเครื่องอยู่สำราญอันนี้หามีไม่ฯ"
home ปัญหาถาม-ตอบ หนังสือธรรมะ หมายเหตุ:
คัดลอกจากหนังสือ
|
|