Buddhist Study | บทที่ 24 การตรัสรู้อริยสัจจธรรม | |||
"พระอรหันตสัมมา-
"เราอาจเข้าใจความ
"เราไม่ควรเชื่อผู้ที่
"การพิสูจน์สัจจธรรม
"ด้วยการปะพฤติ
"หนทางที่จะรู้แจ้ง
"เราไม่ควรท้อใจ
"บางคนคิดว่าการ
"เมื่อเจริญสมถะ
"จุดประสงค์ของการ
"ขณะเล็กๆน้อยๆที่สติ
"ผู้ที่ใกล้จะรู้แจ้ง
"จิตขณะหนึ่งรู้
"อารมณ์ของ
"ขณะที่โคตรภูเกิด
"ผลจิตเกิดสืบต่อ
|
ก. เราจะรู้แจ้งอริยสัจจธรรม โดยไม่เจริญเหตุที่สมควรไม่ได้ ข. อะไรเป็นเหตุปัจจัยให้รู้แจ้งอริยสัจจธรรม ก. ในสังยุตตนิกาย มหาวารวรรค โสดาปัตติสังยุตต์ สารีปุตตสูตรที่ 2 เรื่ององค์ธรรม 4 ประการที่เป็นปัจจัยให้บรรลุเป็นโสดาบันบุคคล ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วพระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามท่านพระสารีบุตรว่า "ดูกรสารีบุตร ที่เรียกว่าโสดาปัตติยังคะๆ ดังนี้ โสตาปัตติยังคะเป็นไฉน" "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
โสตาปัตติยังคะ คือ "ถูกละๆ สารีบุตร โสตาปัตติยังคะ คือ สัปปุริสสังเวสะ 1 สัทธรรมสวนะ 1 โยนิโสมนสิการ 1 ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ 1 ฯ ดูกรสารีบุตร ก็ที่เรียกว่า ธรรมเพียงดังกระแสฯดังนี้ ก็ธรรมเพียงดังกระแสเป็นไฉน" "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ 8 นี้แลคือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิชื่อว่า ธรรมเพียงดังกระแสฯ" "ถูกละๆสารีบุตร อริยมรรคประกอบด้วยองค์ 8 นี้แล ชื่อว่าธรรมเพียงดังกระแสฯ ดูกรสารีบุตร ที่เรียกว่า โสดาบันฯดังนี้ โสดาบันเป็นไฉนฯ" "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ผู้ใดประกอบด้วยอริยมรรคมีองค์ 8 นี้ ผู้นี้เรียกว่า พระโสดาบัน ท่านผู้นี้นั้น มีนามอย่างนี้ มีโครตอย่างนี้ฯ" ข. สำหรับปัจจัยที่ 1 คือการคบสัปบุรุษนั้นจำเป็นด้วยหรือ เราจะหาหนทางที่ถูกต้องเอาเองไม่ได้หรือ ก.
พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายเท่านั้น
ที่ได้ทรงสะสมพระปัญญาบารมีถึงขั้นที่ทรงค้นพบหนทาง
ข. ถ้าเราไม่มีกัลยาณมิตรที่สามารถชี้หนทางที่ถูกต้องได้ เราควรทำอย่างไร ก. การศึกษาพระไตรปิฎกมีประโยชน์มาก พระธรรมทำให้เราระลึกรู้นามธรรมและรูปธรรมในชีวิตประจำวันได้ แต่เราอาจเข้าใจความหมายของพระธรรมคลาดเคลื่อนไปได้ ขึ้นอยู่กับปัจจัยที่ว่าเราคบบุคคลที่สามารถช่วยให้เราเข้าใจพระธรรมและการปฏิบัติ ที่สอดคล้องกับพระธรรมหรือไม่ กุศลกรรมที่ได้สะสมไว้ย่อมจะเป็นปัจจัยให้เราได้พบสัปบุรุษ ข. เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเราเข้าใจพระธรรมจริงๆ และปฏิบัติถูกต้อง ก. เราจะรู้ได้ด้วยการ ประพฤติปฏิบัติ ถ้าเราปฏิบัติผิด ในที่สุดเราก็จะรู้ว่าข้อปฏิบัตินั้นไม่ได้ทำให้เข้าใจถูกในสภาพธรรมในชีวิตประจำวัน เมื่อได้ฟังพระธรรมจากสัปบุรุษแล้วควรก็พิจารณา
นี่เป็นปัจจัยข้อที่สาม
เราไม่ควรเชื่อผู้ที่สอนธรรมแก่เราอย่างงมงาย
แต่ควรที่จะตรวจสอบสิ่งที่ได้ยินได้ฟังกับพระไตรปิฎกและพิจารณาโดยรอบคอบ
เพื่อพิสูจน์ การพิสูจน์สัจจธรรมก็คือ การปฏิบัติธรรม
นั่นเอง ฉะนั้น
ปัจจัยที่สี่คือปฏิบัติตามพระธรรม
นั่นคือการอบรมเจริญมัคค์มีองค์
8
ด้วยการมีสติระลึกรู้สภาพธรรมที่ปรากฏทางทวาร
6 เราสามารถพิสูจน์ได้ว่า
สภาพธรรมเหล่านี้เป็นเพียงนามธรรมและรูปธรรมที่เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยจริงหรือไม่
เราพิสูจน์ได้ว่า โลกุตตรจิตจะเกิดไม่ได้ถ้าไม่ได้เจริญเหตุปัจจัยที่ถูกต้อง ในสังยุตตนิกาย มหาวารวรรค ปปาตวรรคที่ 5 วาลสูตร ในนครเวสาลี ท่านพระอานนท์เห็นพวกเจ้าลิจฉวีฝึกยิงธนู ท่านไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคและทูลว่า
ข. เมื่อฟังพระสูตรนี้แล้ว ท้อใจจริง ดูเหมือนว่าจะบรรลุอริยสัจจธรรมไม่ได้เลย ก.
ถ้าเจริญหนทางที่ถูก
ไม่ใช่หนทางผิด
ก็จะประจักษ์แจ้งอริยสัจจ์ 4
บรรลุพระนิพพาน
หนทางที่จะรู้แจ้งอริยสัจจ์ 4
คือ มีสติ
ระลึกรู้สภาพธรรมที่กำลังปรากฏขณะนี้
เช่น การเห็น
สิ่งที่ปรากฏทางตา โลภะ บางคนคิดว่า
การเจริญสมถะให้ผลได้เร็วกว่า
การเจริญสมถะนั้นมีความสงบเป็นผล
เมื่อบรรลุฌาน จุดประสงค์ของการเจริญวิปัสสนานั้นไม่ใช่ความสงบ แต่เพื่อ ดับ ความเห็นผิดและดับกิเลสได้หมดในที่สุด ผลที่ว่านี้ดูเหมือนอยู่ห่างไกล แต่ว่าแต่ละขณะเล็กๆน้อยๆที่สติเกิดระลึกรู้นามธรรมและรูปธรรมนั้น เป็นประโยขน์อย่างยิ่ง เพราะทำให้ละคลายการยึดมั่นในตัวเอง ขณะที่สติเกิดนั้นไม่มีโลภะ โทสะ หรือโมหะ ถึงแม้ว่า ความสงบจะไม่ใช่จุดมุ่งหมาย แต่ขณะที่สัมมาสติเกิดก็เป็นกุศลจิตที่สงบ ข. การรู้แจ้งอริยสัจจธรรมหรือการประจักษ์แจ้งพระนิพพาน เหมือนกับการคิดถึงพระนิพพานไหม ก. การรู้ลักษณะของนามธรรมและรูปธรรม เหมือนกับการคิดเรื่องนามธรรมและรูปธรรมหรือเปล่า ข. ไม่เหมือน ก. การประจักษ์แจ้งพระนิพพานก็ต่างกับการคิดถึงพระนิพพานฉันนั้น ข. ผู้รู้แจ้งอริยสัจจ์ประจักษ์แจ้งพระนิพพานทางทวารไหน ก. พระนิพพานเป็นอารมณ์ทางทวาร 5 ไม่ได้เลย พระนิพพานเป็นอารมณืที่รู้ได้ทางมโนทวาร ข. จิตรู้อารมณืที่กระทบทวาร 5 หรือมโนทวารโดยเกิดขึ้นเป็นวิถีจิต วิถีจิตที่ประจักษ์แจ้งพระนิพพานเป็นอย่างไร จิตกี่ดวงประจักษ์แจ้งพระนิพพาน ก. ผู้ที่ใกล้จะรู้แจ้งอริยสัจจธรรมได้เจริญอบรมปัญญา รู้สภาพสังขารธรรมด้วยการเจริญวิปัสสนา รู้ลักษณะของนามธรรมและรูปธรรมชัดขึ้นๆ และประจักษ์การเกิดดับของนามธรรมและรูปธรรม ปัญญาเจริญคมกล้าขึ้นถึงขั้นที่ประจักษ์ อนิจจลักษณะ ทุกขลักษณะ และ อนัตตลักษณะ ของนามธรรมและรูปธรรมที่ปรากฏทางทวาร 6 ในมัคควิถีนั้น มโนทวาราวัชชนจิตมี ลักษณะหนึ่งของไตรลักษณ์ คือ อนิจจลักษณะ หรือทุกขลักษณะ หรืออนัตตลักษณะ ข. ดิฉันเข้าใจว่า อนิจจะ ทุกขะ และอนัตตาเป็นไตรลักษณ์ของสังขารธรรม ฉะนั้น ถ้าเราเห็นลักษณะหนึ่ง เราก็จะเห็นอีกสองลักษณะด้วย ทำไมเราจึงประจักษ์ลักษณะทั้ง 3 ในขณะเดียวกันไม่ได้ ก. จิตขณะหนึ่งรู้อารมณ์ได้อารมณ์เดียวเท่านั้น ฉะนั้นจึงขึ้นอยู่กับการสะสมของผู้ที่มัคควิถีจะเกิดว่าจะประจักษ์ลักษณะใดของไตรลักษณ์ ท่านผู้หนึ่งรู้ลักษณะที่ไม่เที่ยง อีกท่านหนึ่งรู้ลักษณะที่เป็นทุกข์ อีกท่านหนึ่งรู้ลักษณะที่เป็นอนัตตา มโนทวาราวัชชนจิตในมัคควิถีรู้ลักษณะหนึ่งของไตรลักษณ์
ต่อจากนั้นก็มีจิต 3-4
ขณะเกิดสืบต่อซึ่งยังไม่ใช่โลกุตตรจิต
แต่เป็น มหากุศล
(กุศลขั้นกามาวจร) ญาณสัมปยุตต์
มหากุศลจิตขณะแรกเป็น บริกัมม์
มีอารมณ์เดียวกับมโนทวาราวัชชนจิต
ถ้ามโนทวารา- ข. บริกัมม์หมายความว่าอะไร ก. บริกัมม์
หมายถึง การตระเตรียม
จิตนั้นเรียกว่าบริกัมมจิต
เพราะเป็นมหากุศลจิตดวงแรกก่อนที่ เมื่อบริกัมม์ดับไปแล้ว อุปจารจิต ก็เกิดสืบต่อซึ่งยังมีอารมณ์เดียวกับมโนทวาราวัชชนจิต ข. อุปจาระ หมายความว่าอะไร ก. อุปจาระ หมายถึง ใกล้เคียง จิตดวงนี้เป็นมหากุศลจิตดวงที่สองในมัคควิถี เป็นจิตที่ใกล้กับขณะที่โลกุตตรจิตจะเกิด อนุโลมจิต เกิดสืบต่ออุปจาระ อนุโลมมีอารมณ์เดียวกับมโนทวาราวัชชนจิต ข. อนุโลม หมายความว่าอะไร ก. อนุโลม หมายถึง การคล้อยตาม เมื่ออนุโลมดับ โคตรภู เกิดสืบต่อ โคตรภูเป็น กามาวจรจิตดวงสุดท้าย ในมัคควิถี บางครั้งโคตรภูแปลว่าเปลี่ยนโคตร ข. ดิฉันได้ทราบว่าการเจริญสมถะก็มีโคตรภูเหมือนกัน โคตรภูในสมถะเป็นจิตประเภทเดียวกันหรือต่างกันกับโคตรภูในวิปัสสนา ก.
โคตรภูเป็นกามาวจรวิถีจิตดวงสุดท้าย
ก่อนที่จิตภูมิอื่นจะเกิดขึ้นในวาระวิถีนั้น
จิตภูมิอื่นอาจจะเป็น ใน สมถะ โคตรภูเป็นกามาวจรจิตดวงสุดท้ายก่อนรูปฌานจิตหรืออรูปฌานจิตจะเกิด ใน วิปัสสนา โคตรภูเป็นกามาวจรจิตดวงสุดท้ายของปุถุชนก่อนที่โลกุตตรจิตจะเกิดเป็นพระอริยบุคคล อารมณ์ของโคตรภูจิตซึ่งเกิดก่อนโลกุตตรจิตต่างจากอารมณ์ของโคตรภูในสมถะ ข. อะไรเป็นอารมณ์ของโคตรภูซึ่งเกิดก่อนโลกุตตรจิต ก. โคตรภูที่เกิดก่อนโลกุตตรจิตมีนิพพานเป็นอารมณ์ ข. ทำไมโคตรภูจึงไม่ใช่โลกุตตรจิต โคตรภูเป็นจิตดวงแรกที่มีพระนิพพานเป็นอารมณ์ ก. ขณะที่โคตรภูจิตเกิด ท่านที่กำลังรู้แจ้งอริยสัจจธรรมยังเป็นปุถุชนอยู่ โคตรภูไม่ได้ดับกิเลส มัคคจิตซึ่งเกิดต่อจากโคตรภูทำกิจปหานกิเลส ในขั้น พระโสดาบันบุคคล มัคคจิต เป็น โลกุตตรจิตดวงแรก ในมัคควิถี เมื่อมัคคจิตดับไปแล้ว ผลจิต 2 (หรือ 3) ขณะซึ่งเป็นผลของมัคคจิตก็เกิดสืบต่อ และยังคงมีพระนิพพานเป็นอารมณ์ จะเห็นว่า ผลจิตเกิดสืบต่อมัคคจิตทันทีในวาระวิถีเดียวกัน มัคคจิตไม่ให้ผลเป็นปฏิสนธิวิบาก ไม่เหมือนกับกุศลจิตภูมิอื่นๆ เมื่อผลจิตดับไปแล้วภวังคจิตก็เกิดต่อ บางท่านไม่มีบริกัมมจิต สำหรับท่านผู้นั้น ผลจิตจะเกิด 3 ขณะ แทนที่จะเป็น 2 ขณะ สรุปมัคควิถีจิต ดังนี้
ข. เมื่อโลกุตตรจิตดับไปแล้ว กามาวจรจิตก็เกิดสืบต่ออีก พระนิพพานเป็นอารมณ์ของกามาวจรจิตได้ไหม ก. พระนิพพานเป็นอารมณ์ของกามาวจรจิตซึ่งเกิดหลังจากที่โลกุตตรจิตดับไปแล้วได้ ก่อนที่จะตรัสรู้เป็นอริยบุคคล ก็เพียงแต่คิดคาดคะเนสภาพพระนิพพานเท่านั้น เมื่อเป็นพระอริยบุคคลประจักษ์แจ้งสภาพพระนิพพานแล้ว ก็สามารถย้อนระลึกถึงพระนิพพานได้อีก ในวิสุทธิมัคค์ ญาณทัสสนวิสุทธินิทเทส มีข้อความตอนหนึ่งว่า เมื่อโลกุตตรจิตดับไปแล้ว พระอริยบุคคลนั้นก็พิจารณามัคคจิต ผลจิต กิเลสที่ดับแล้ว กิเลสที่ยังเหลืออยู่ และพระนิพพานทางมโนทวารแต่ละวาระ ข. การรู้แจ้งอริยสัจจธรรมเกิดในขณะที่กำลังทำกิจวัตรในชีวิตประจำวันได้ไหม หรือว่าจำเป็นจะต้องไปสู่ที่วิเวกเพื่อที่จะตรัสรู้ ก. เมื่ออบรมเจริญปัญญาในชีวิตประจำวันแล้ว ทำไมจะอบรมเจริญปัญญาให้ถึงขั้นที่บรรลุอริยสัจจธรรมในชีวิตประจำวันไม่ได้เล่า การตรัสรู้ย่อมเกิดได้ในขณะที่ทำกิจการงานต่างๆในชีวิตประจำวัน เมื่อปัญญาเจริญจนถึงขั้นนั้น ดังที่ได้ศึกษาแล้วว่า การรู้แจ้งพระนิพพานนั้นเพียงไม่กี่ขณะจิต ซึ่งเกิดขึ้นแล้วก็ดับไปอย่างรวดเร็วที่สุด ในมัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ ปริพาชกวรรค ฑีฆนขสูตร พระผู้มีพระภาคตรัสสอนฑีฆนขปริพาชก ที่เขาคิชฌกูฏใกล้พระนครราชคฤห์ พระองค์ตรัสสอนฑีฆนขะปริพาชกเรื่องการละมิจฉาทิฏฐ ิและเรื่องความไม่เที่ยงของสังขารธรรมทั้งหลาย ท่านพระสาลีบุตรผู้ซึ่งบรรลุเป็นอริยบุคคลแล้วแต่ยังไม่ได้เป็นอรหันต์บุคคลอยู่ ณ ที่นั้นด้วย ข้อความมีว่า
ท่านพระสารีบุตรไม่ได้ไปสู่ที่วิเวกเพื่อบรรลุเป็นพระอรหันต์ ท่านกำลังถวายงานพัดพระตถาคต ในสังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค มัชฌิมปัณณาสก์ เถรวรรคที่ 4 เขมกสูตร ท่านพระเขมกะผู้ซึ่งเป็นอนาคามีบุคคลบรรลุอรหัตตผลขณะที่กำลังแสดงธรรม และพระภิกษุที่กำลังฟังธรรมก็บรรลุอรหัตตผลเช่นเดียวกัน ข้อความนั้นมีว่า
ถ้าเราปฏิบัติหนทางที่ถูก ปัญญาก็เจริญขึ้นได้จนถึงขั้นรู้แจ้งอริยสัจจธรรม ไม่ว่าจะอยู่ในสภาพใดๆก็ตาม ข. คนอื่นจะสังเกตรู้ได้ไหมขณะที่ใครรู้แจ้งอริยสัจจธรรม ก. เรา มองเห็น ได้ไหมว่าใครกำลังมีสติหรือไม่มีสติ ใครร้จิตของผู้อื่นบ้าง ถ้าเราไม่ได้อบรมเจริญอภิญญาที่รู้วาระจิตของผู้อื่น เราก็รู้ไม่ได้เลยว่าใครกำลังมีสติระลึกรู้นามธรรมและรูปธรรมหรือรู้แจ้งพระนิพพาน ข. เราสามารถที่จะบรรลุเป็นพระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์ในชาติเดียวได้ไหม ก.
สามารถตรัสรู้อริยสัจจธรรมทั้ง 4
ขั้นได้ในชาติเดียว
ในพระสูตรหลายพระสูตรมีข้อความหลายตอนที่แสดงว่า
พระสาวกได้ตรัสรู้อริยสัจจธรรมแล้ว
ภายหลังจึงบรรลุเป็นอรหันต์
เช่น
ท่านพระอานนท์ไม่ได้เป็นพระอรหันต์ระหว่างที่พระผู้มีพระภาคยังมีพระชนม์อยู่
แต่ได้เป็นอรหันตบุคคลหลังจากพระผู้มีพระภาคทรงดับ ข. พระอรหันต์ปหานกิเลสหมดแล้ว ท่านจึงดับสังสารวัฏฏ์ (ชาติ ชรา พยาธิ และมรณะ) ท่านรู้ว่าดับทุกได้แล้ว ท่านจะไม่เกิดอีก แต่ท่านยังต้องตาย ฉะนั้น ในขณะที่ท่านบรรลุความเป็นพระอรหันต์นั้น ท่านบรรลุถึงการดับทุกข์จริงๆหรือ ก. เมื่อพระอรหันต์เกิด ท่านก็ต้องตาย ท่านได้รับผลของอกุศลกรรมที่ท่านได้กระทำไว้ก่อนบรรลุเป็นพระอรหันต์ แต่เพราะท่านไม่มีกิเลสอีกเลย ท่านจึงไม่สะสมกรรมใหม่ที่จะทำให้เกิดวิบากต่อไปอีก พระอรหันต์พ้นจากทุกข์อย่างแท้จริง ในขุททกนิกาย อิติวุตตกะ ทุกกนิบาต วรรคที่ 2 ธาตุสูตร อธิบายนิพพานธาตุ 2 คือ สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ เป็นพระนิพพานที่ยังมีขันธ์ 5 เหลืออยู่ พระอรหันต์ผู้ยังไม่ปรินิพพาน ยังมีจิต เจตสิก รูป ซึ่งเกิดดับแม้ว่าท่านปหานกิเลสหมดแล้ว อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ เป็นพระนิพพานที่ไม่มีขันธ์ 5 เหลือ พระอรหันต์ปรินิพพานแล้ว ไม่มีจิต เจตสิก รูป เกิดดับอีกเลย ข้อความต่อไปมีว่าพระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
ข. เมื่อเป็นพระอรหันต์แล้วไม่เกิดอีก ถ้าเป็นเพียงพระโสดาบันบุคคลล่ะ จะต้องเกิดอีกกี่ครั้ง ก. พระโสดาบันบุคคลจะไม่เกิดเกินกว่า 7 ชาติ ในที่สุดท่านก็จะไม่เกิดอีก ถ้าเราไม่อบรมเจริญวิปัสสนา ก็จะเกิดอีกไม่มีที่สิ้นสุด พระผู้มีพระภาคทรงพระมหากรุณาแสดงโทษภัยของการเกิดเพื่อให้เราอบรมเจริญสติ ในสังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
ปปาตวรรคที่ 5
home ปัญหาถาม-ตอบ หนังสือธรรมะ หมายเหตุ:
คัดลอกจากหนังสือ
"พระอภิธรรมในชีวิตประจำวัน"
|
|