Buddhist Study | บทที่ 3 ลักษณะประการต่างๆของจิต | |||
home
"ไม่มีใครสามารถบังคับบัญชาจิตได้ "
"อุปนิสัยที่ดีและไม่ดีนั้นสะสมสืบต่อมาในจิตทุกดวง"
"ทุกครั้งที่ประสบอารมณ์ซึ่งไม่เป็นที่น่ายินดีพอใจทางทวารใดทวารหนึ่งใน
5 ทวาร
"เพราะอกุศลกรรมและกุศลกรรมได้สะสมไว้แล้ว เมื่อมีเหตุปัจจัยพร้อมแล้ว ผลก็เกิดขึ้นเป็น วิบาก"
"สัตว์ดิรัจฉานก็มีจิต และอาจทำชั่วหรือทำดีก็ได้ ฉะนั้น สัตว์ดิรัจฉานก็สะสมกรรมต่างๆ ซึ่งทำให้เกิดผลต่างๆด้วย"
"เมื่อเข้าใจสภาพธรรมแล้วก็จะรู้ว่าไม่ใช่ตัวตนซึ่งได้รับสิ่งที่น่ายินดีพอใจหรือได้รับทุกข์ แต่เป็นเพียง วิบาก" |
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงสภาพธรรมต่างๆที่มีจริง เราสามารถพิสูจน์พระธรรมที่ทรงแสดงด้วยตัวของเราเอง เราไม่รู้สภาพธรรมที่เกิดขึ้นเป็นปกติในชีวิตประจำวันอย่างแท้จริง กล่าวคือ นามธรรมและรูปธรรม ซึ่งปรากฏทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย และทางใจ ดูเหมือนว่าเราสนใจในสิ่งที่แล้วมาหรือสิ่งที่ยังมาไม่ถึงเป็นส่วนใหญ่ แต่เราสามารถจะรู้สภาพที่แท้จริงของชีวิตได้ เมื่อเรารู้สภาพธรรมในขณะนี้มากขึ้น และ เมื่อสติระลึกรู้สภาพธรรมในขณะที่สภาพธรรมนั้นๆ กำลังปรากฏ พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า จิต เป็นสภาพธรรมที่มีจริง เราอาจจะสงสัยว่าจิตมีจริงหรือ เราจะพิสูจน์ได้อย่างไรว่าจิตมีจริง เป็นไปได้ไหมว่ามีแต่รูปธรรมเท่านั้น ส่วนนามธรรมนั้นไม่มี เรารู้ว่ามีหลายอย่างในชีวิตของเรา เช่น ที่อยู่อาศัย อาหาร เสื้อผ้า เครื่องมือเครื่องใช้ประจำวัน สิ่งเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นเอง แต่เกิดขึ้นโดย จิต จิตเป็นนามธรรม จิตเป็น สภาพรู้ สิ่งใดสิ่งหนึ่ง จิตต่างจากรูปธรรมซึ่งเป็นสภาพที่ไม่รู้อะไร เราฟังดนตรีซึ่งเรียบเรียงโดยนักดนตรี ซึ่งก็เป็นจิตนั่นเองที่คิดนึกเรียบเรียงขึ้น และก็จิตนั่นเองที่ทำให้มือของนักดนตรีเคลื่อนไหวในขณะเขียนโน้ตเพลง ถ้าไม่มีจิต มือของเขาจะเคลื่อนไหวไม่ได้เลย จิตเป็นสภาพธรรม ที่วิจิตรมาก จิตทำให้มีสิ่งต่างๆเกิดขึ้น ในอัฏฐสาลินี ซึ่งเป็นอรรถกถาธัมมสังคณีปกรณ์ ตอน 2 จิตตุปปาทกัณฑ์ มีข้อความว่า
และมีข้อความที่แสดงว่า สิ่งต่างๆสำเร็จด้วยจิต เช่น การให้ทานซึ่งเป็นกุศลกรรม การทารุณโหดร้าย การหลอกลวง ซึ่งเป็นอกุศลกรรม กุศลกรรมและอกุศลกรรมย่อมให้ผลต่างกัน ฉะนั้นจึงไม่ใช่ว่ามีจิตเพียงประเภทเดียวเท่านั้น แต่มีจิตมากมายหลายประเภททีเดียว แต่ละคนมีการแสดงออกต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต่างกัน ทั้งนี้เพราะ จิตประเภทต่างๆ ที่เกิดขึ้น คนหนึ่งชอบสิ่งหนึ่ง แต่อีกคนหนึ่งไม่ชอบ เราอาจสังเกตุเห็นว่า แต่ละคนไม่เหมือนกันขณะที่ทำสิ่งหนึ่งสิ่งใด ถึงแม้ว่าคน 2 คน คิดที่จะทำสิ่งเดียวกัน แต่ผลก็ต่างกัน เช่น คน 2 คนเขียนภาพต้นไม้ต้นเดียวกัน ภาพ 2 ภาพก็จะแตกต่างกันบ้าง แต่ละคนมีความเฉลียวฉลาดและความสามารถไม่เหมือนกัน บางคนศึกษาได้โดยไม่ยากเลย แต่บางคนก็ไม่สามารถจะศึกษาได้ ไม่มีใครสามารถบังคับบัญชาจิตได้ จิตแต่ละดวง (ประเภท) มีปัจจัยเฉพาะแต่ละขณะที่เกิดขึ้น เพราะเหตุใดคนเราจึงต่างกัน เหตุผลก็คือ แต่ละคนประสบสิ่งต่างๆในชีวิตไม่เหมือนกัน จึงเป็นเหตุให้ แต่ละคนสะสมอุปนิสัยต่างๆกัน เด็กที่ได้รับการอบรมสั่งสอนให้เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แต่เยาว์วัยก็ย่อมสะสมอุปนิสัยนั้น คนที่โกรธบ่อยๆ ก็ย่อมสะสมความโกรธไว้มาก แต่ละคนสะสมอุปนิสัย รสนิยม และความชำนาญมาต่างๆกัน จิตดวงหนึ่งเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป จิตอีกดวงหนึ่งก็เกิดขึ้นสืบต่อทันทีทุกขณะ ฉะนั้นจะมีการสะสมสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นในชีวิต และอุปนิสัยที่ดีและไม่ดีได้อย่างไร เหตุผลก็คือ เมื่อจิตขณะหนึ่งดับไปแล้ว จิตอีกขณะหนึ่งก็เกิดสืบต่อทันที ชีวิตของเราเป็นเพียงการเกิดดับสืบต่อของจิตทีละดวงโดยไม่ขาดสาย จิตแต่ละขณะเป็นปัจจัยให้จิตขณะต่อไปเกิดขึ้น ฉะนั้น จิตที่ดับไปแล้วจึงเป็นปัจจัยให้จิตขณะนี้เกิดขึ้น เป็นความจริงที่กุศลจิตและอกุศลจิตในอดีตเป็นปัจจัยของอุปนิสัยในปัจจุบัน ทั้งนี้เพราะอุปนิสัยที่ดีและไม่ดีนั้นสะสมสืบต่อมาในจิตทุกดวง เราได้สะสมอุปนิสัยที่ไม่ดีและกิเลสไว้มาก เช่น โลภะ โทสะ และ โมหะ เป็นต้น กิเลสมีหลายระดับขั้น มีกิเลสอย่างละเอียด กิเลสอย่างกลาง และกิเลสอย่างหยาบ กิเลสอย่างละเอียดไม่ปรากฏ แต่เป็นอนุสัย คือกิเลสที่ละเอียดสะสมในจิต ในขณะที่นอนหลับสนิทและไม่ฝันนั้นอกุศลจิตไม่เกิด แต่ก็มีอนุสัยกิเลสอยู่ในจิตสันดาน เมื่อตื่นขึ้นอกุศลจิตก็เกิดขึ้นอีก อกุศลจิตจะเกิดได้อย่างไรถ้าจิตแต่ละดวงไม่ได้สะสมอนุสัยกิเลสไว้ และถึงแม้ว่าจิตที่เกิดขึ้นจะไม่เป็นอกุศลจิต แต่จิตนั้นก็ยังมีอนุสัยกิเลสอยู่ตราบที่ปัญญายังไม่ได้ดับให้หมดสิ้นไป กิเลสอย่างกลาง (ปริยุฏฐานกิเลส) นั้น ต่างกับอนุสัยกิเลส เพราะปริยุฏฐานกิเลสเกิดขึ้นพร้อมกับจิตซึ่งมีโลภะ โทสะ และโมหะเป็นมูล เช่น ความยินดีพอใจในสิ่งที่เห็น หรือได้ยิน หรือสัมผัสทางกาย หรือความไม่พอใจในอารมณ์ที่ปรากฏ ปริยุฏฐานกิเลสไม่ได้เป็นปัจจัยให้กระทำอกุศลกรรม กิเลสอย่างหยาบเป็นปัจจัยให้เกิดอกุศลกรรมทางกาย ทางวาจา และทางใจ เช่น การฆ่า การกล่าวร้ายผู้อื่น หรือความต้องการที่จะเอาทรัพย์ของผู้อื่นมาเป็นของตน กรรม (เจตนา) เป็นนามธรรมประเภทหนึ่งซึ่งสะสมไว้ด้วย ฉะนั้นทุกคนจึงสะสมกิเลสและกรรมต่างๆกัน การสะสมกรรมต่างๆกันเป็นปัจจัยให้เกิด ผลในชีวิตต่างๆกัน ซึ่งกฏของ กรรม และ วิบาก กฏของ เหตุ และ ผล เราจะเห็นว่าคนเราเกิดในสภาพแวดล้อมต่างกัน บางคนมีชีวิตในสภาพแวดล้อมที่สุขสบายและประสบแต่สิ่งที่น่ายินดีพอใจเป็นส่วนมาก บางคนอาจประสบสิ่งที่ไม่น่ายินดีพอใจเป็นส่วนใหญ่ ยากจนหรือต้องทนทุกข์เพราะโรคภัย เมื่อเราได้รับข่าวเด็กป่วยเพราะขาดอาหาร เราก็อาจสงสัยว่าทำไมเด็กหล่าวนี้จึงมีสภาพเช่นนี้ ในขณะที่เด็กอื่นๆมีทุกสิ่งทุกอย่างที่ต้องการ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ทุกคนย่อมได้รับผลของการกระทำของตน
กรรมที่ได้กระทำแล้วสามารถให้ผลในกาลภายหน้า
เพราะอกุศลกรรมและกุศลกรรมได้สะสมไว้แล้ว
เมื่อมีเหตุปัจจัยพร้อมแล้ว
ผลก็เกิดขึ้นเป็น วิบาก
เมื่อใช้คำว่า "ผล"
บางคนอาจจะคิดถึงผลที่ได้กระทำต่อบุคคลอื่น
แต่ "ผล"
ที่เป็นวิบากไม่ใช่เช่นนั้น
วิบากจิตเป็นจิตที่ประสบกับสภาพธรรมที่ไม่น่ายินดีพอใจหรือสภาพธรรมที่น่ายินดีพอใจ
จิตที่เป็นวิบากนั้นเป็น
ผลของการกระทำของเราเอง เราเคยคิดว่าเป็นตัวตนที่ประสบสิ่งที่ไม่น่ายินดีพอใจหรือสิ่งที่น่ายินดีพอใจ
แต่แท้จริงแล้วไม่มีตัวตน
มีแต่จิตเท่านั้นที่เกิดขึ้นรู้อารมณ์ต่างๆ
จิตบางดวงเป็นเหตุ
จิตเหล่านี้เป็นเหตุให้เกิดกุศลกรรมหรืออกุศลกรรม
ซึ่งสามารถทำให้เกิดผลซึ่งสมควรแก่เหตุนั้นๆ
จิตบางดวงเป็น ผล หรือ วิบาก
เมื่อเห็นสิ่งซึ่งไม่น่ายินดีพอใจ
ก็ไม่ใช่ตัวตนที่เห็น
แต่เป็น จิต คือ จักขุวิญญาณ
ซึ่งเป็นผลของอกุศลกรรมหนึ่งที่ได้กระทำแล้วในชาตินี้หรือในชาติก่อนๆ
จิตดวงนี้เป็น อกุศลวิบากจิต
เมื่อเห็นสิ่งที่น่ายินดีพอใจก็เป็น
กุศลวิบาก
ซึ่งเป็นผลของกุศลกรรมหนึ่งที่ได้กระทำมาแล้ว
ทุกครั้งที่ประสบอารมณ์ซึ่งไม่เป็นที่น่ายินดีพอใจทางทวารใดทวารหนึ่งใน
5 ทวาร ถ้าถูกคนอื่นทำร้ายร่างกาย ความรู้สึกเจ็บปวดไม่ใช่วิบาก (ผล) ของการกระทำของคนอื่น ผู้ที่ถูกทำร้ายได้รับผลของอกุศลกรรมซึ่งตนได้กระทำมาแล้วขณะนั้นเป็นอกุศลวิบากของตนเองที่เกิดขึ้นทางกายการกระทำของคนอื่นเป็นเพียงปัจจัยของความเจ็บปวด ส่วนคนที่ทำร้ายคนอื่นนั้น ก็เป็นอกุศลจิตของเขาซึ่งเป็นเหตุให้ทำอกุศลกรรม ไม่ช้าก็เร็วเขาก็จะได้รับผลของอกุศลกรรมนั้น เมื่อเข้าใจเรื่อง กรรม และ วิบาก ดีขึ้น เราก็จะเข้าใจเหตุการณ์ต่างๆในชีวิตของเราได้ชัดขึ้น ในอัฏฐสาลินีตอน 2 จิตตุปปาทกัณฑ์ มีข้อความเรื่องกรรมของบุคคลต่างๆ ซึ่งให้ผลต่างกันในขณะปฏิสนธิและในขณะปวัตติกาลต่อมา แม้แต่รูปร่างลักษณะก็เป็นผลของกรรม ซึ่งมีข้อความว่า
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สภาพธรรมทั้งปวงเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย การที่คนเรามีรูปร่างลักษณะและมีชีวิตในสภาพแวดล้อมต่างกันนั้นไม่ใช่เพราะเหตุบังเอิญ แม้การที่สัตว์ดิรัจฉานมีรูปร่างลักษณะต่างกันก็เพราะทำกรรมต่างกัน สัตว์ดิรัจฉานก็มีจิต และอาจทำชั่วหรือทำดีก็ได้ ฉะนั้น สัตว์ดิรัจฉานก็สะสมกรรมต่างๆ ซึ่งทำให้เกิดผลต่างๆด้วย ถ้าเรารู้ว่ากรรมแต่ละกรรมย่อมนำมาซึ่งผลของกรรมนั้น เราก็จะเห็นว่า ไม่มีเหตุผลอันใดที่จะทะนงตนที่เกิดในตระกูลมั่งมีหรือเมื่อได้รับคำสรรเสริญ ลาภ สักการะ เมื่อเรามีทุกข์ เราก็รู้ว่าความทุกข์นั้นเป็นผลของการกระทำของเราเอง ฉะนั้น เราก็ย่อมจะโทษผู้อื่นน้อยลงว่าทำให้เราได้รับทุกข์ หรือไม่ริษยาเมื่อผู้อื่นได้รับสิ่งที่น่ายินดีพอใจ เมื่อเข้าใจสภาพธรรมแล้วก็จะรู้ว่าไม่ใช่ตัวตนซึ่งได้รับสิ่งที่น่ายินดีพอใจหรือได้รับทุกข์ แต่เป็นเพียง วิบาก เป็นจิตประเภทหนึ่งที่เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย แล้วก็ดับไปทันที เราจะเห็นว่าคนที่เกิดในสิ่งแวดล้อมเดียวกัน ก็ยัง ประพฤติต่างกัน เช่น คนที่เกิดในตระกูลมั่งคั่งนั้น บางคนก็ตระหนี่ บางคนก็ไม่ตระหนี่ การเกิดในสกุลที่มั่งคั่งนั้นเป็นผลของกรรม ส่วนความตระหนี่เกิดจากกิเลสที่ได้สะสมไว้ มีเหตุปัจจัยหลายหย่างที่เป็นปัจจัยสำคัญในชีวิตของแต่ละคน กรรม เป็นเหตุให้คนเกิดในสิ่งแวดล้อมต่างๆกัน และ กิเลสที่สะสม ไว้นั้น ทำให้อุปนิสัยของแต่ละคนต่างกัน บางคนอาจสงสัยในเรื่องชาติก่อนและชาติหน้า
เพราะเหตุว่าเรารู้แต่ชาตินี้เท่านั้น
แต่ในชาตินี้เราก็อาจสังเกตุได้ว่า
คนเราได้รับผลกรรมต่างกัน ชาติก่อน ชาติปัจจุบัน และชาติหน้า เป็น การสืบต่อของจิตมากมายหลายประเภท โดยไม่ขาดสาย จิตแต่ละดวงซึ่งเกิดขึ้นย่อมดับไปทันที แล้วจิตดวงต่อไปก็เกิดสืบต่อ จิตไม่เที่ยง แต่ก็ไม่มีแม้สักขณะเดียวที่ไม่มีจิต ถ้าขณะใดไม่มีจิต ร่างกายขณะนั้นก็จะเป็นร่างที่ตายแล้ว แม้ในขณะที่หลับสนิทก็มีจิตเกิดดับ จิตแต่ละดวงซึ่งเกิดขึ้นแล้วก็ดับไปนี้ เป็นปัจจัยให้จิตดวงต่อไปเกิดขึ้นสืบต่อ และแม้จิตดวงสุดท้ายของชาตินี้ก็เป็นปัจจัยให้จิตดวงแรกของชาติหน้าคือปฏิสนธิจิตเกิดขึ้น ฉะนั้นจะเห็นได้ว่าชีวิตย่อมหมุนเวียนไปในสังสารวัฏฏ์ไม่สิ้นสุด เป็นสังสารวัฏฏ์ของการเกิดและการตาย จิตดวงต่อไปจะเกิดขึ้นไม่ได้จนกว่าจิตดวงก่อนดับไปแล้ว
ในขณะหนึ่งๆ
จะมีจิตเพียงหนึ่งดวงเท่านั้นแต่จิตก็เกิดดับรวดเร็วจนทำให้เรารู้สึกว่าในขณะหนึ่งนั้นมีจิตมากกว่าหนึ่งดวง
เราอาจคิดว่าเราเห็นและได้ยินพร้อมกัน
แต่ความจริงนั้นจิตแต่ละดวงเกิดต่างขณะกัน
เราสามารถพิสูจน์ได้ด้วยตัวเองว่า
การเห็นเป็นจิตประเภทหนึ่งซึ่งต่างจากการได้ยิน
จิตแต่ละประเภทเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยต่างกันและรู้อารมณ์ต่างกัน โดยปริยัติ เราอาจเข้าใจได้ว่า จิตเห็นมีลักษณะต่างจากจิตได้ยิน และรู้ว่าจิตต่างกับรูปธรรมซึ่งเป็นสภาพธรรมที่ไม่รู้อะไร การรู้เช่นนี้ดูเหมือนว่าเป็นเรื่องง่ายๆ แต่การรู้โดยปริยัติต่างกับการที่รู้ที่ประจักษ์แจ้งด้วยตนเอง การรู้โดยปริยัติไม่ลึกซึ้ง ไม่สามารถดับความเห็นผิดให้หมดสิ้นได้ การมีสติระลึกรู้สภาพธรรมที่เกิดขึ้นทางทวาร 6 เท่านั้นที่ทำให้เรารู้แจ้งความจริงด้วยตนเองได้ ปัญญาซึ่งประจักษ์แจ้งสภาพธรรมสามารถดับความเห็นผิดให้หมดสิ้นได้ อารมณ์ที่เรารู้เป็นโลกที่เราอยู่ ขณะเห็นก็เป็นโลกที่ปรากฏทางตา โลกที่ปรากฏทางตาไม่ยั่งยืน ดับทันที ขณะได้ยิน ก็เป็นโลกเสียงซึ่งก็ดับไปอีก เราติดเพลิดเพลินไปกับสิ่งที่ปรากฏทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย และทางใจ แต่สภาพธรรมเหล่านั้นไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยงย่อมไม่ควรยึดถือว่าเป็นตัวตน ในอังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต โรหิตัสสวรรคที่ 5 โรหิตัสสเทพบุตร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเรื่องที่สุดของโลกว่า
พระผู้มีพระภาคตรัสสอนเรื่องโลก และหนทางที่จะถึงซึ่งความดับของโลก ซึ่งก็คือความดับทุกข์ ทางที่จะประจักษ์ความจริงนี้ได้ก็ด้วยการรู้แจ้งโลก คือ รู้สรีระร่าง มีประมาณวาหนึ่งนี้พร้อมทั้งสัญญา พร้อมทั้งใจครอง ซึ่งเป็นการรู้จักตนเอง
home ปัญหาถาม-ตอบ หนังสือธรรมะ หมายเหตุ:
คัดลอกจากหนังสือ
"พระอภิธรรมในชีวิตประจำวัน"
|
"แม้จิตดวงสุดท้ายของชาตินี้ก็เป็นปัจจัยให้จิตดวงแรกของชาติหน้าคือปฏิสนธิจิตเกิดขึ้น" |