Buddhist Study | บทที่ 5 โลภะขั้นต่างๆ | |||
"มีวิธีที่จะกำจัดโลภะให้หมดไปได้ นั่นคือ ด้วยการอบรมเจริญปัญญาซึ่งประจักษ์สภาพธรรมทั้งหลายตามความเป็นจริง"
"เราไม่สามารถบังคับตัวเองไม่ให้มีโลภะ แต่เราก็สามารถรู้ลักษณะโลภะได้เมื่อโลภะเกิดปรากฏ"
"การกระทำชั่ว ภาษาบาลีเรียกว่า อกุศลกรรม กรรมเป็น เจตสิกธรรม (นามธรรมที่เกิดร่วมกับจิต)ซึ่งเป็น ความตั้งใจ หรือ ความจงใจ ภาษาบาลีเรียกว่า เจตนา"
"อกุศลกรรมบทมี 10
อย่าง ซึ่งมี
" เราจะพูดเรื่องคนอื่นหรือวิจารณ์คนอื่นน้อยลง เมื่อรู้ว่าทั้งตัวเราเองและคนอื่นนั้นเป็นสภาพธรรมที่เกิดเพราะเหตุปัจจัยและไม่เที่ยง"
"โลภะทุกระดับขั้น ไม่ว่าหยาบหรือละเอียด ย่อมเป็นเหตุของทุกข์ "
"ถ้าเรายึดถือในความชอบพอรักใคร่ที่คนอื่นมีต่อเราอย่างมากมายเหลือเกินแล้ว จิตก็จะหม่นหมองได้ง่ายและตกเป็นทาสของอารมณ์และความรู้สึกต่างๆ"
"เมื่อใครพูดคำที่ไม่น่าฟังกะเรา ก็เพราะมีเหตุปัจจัยทำให้เขาพูดอย่างนั้น และก็มีเหตุปัจจัยที่ทำให้เราได้ยินคำเหล่านั้น"
"มิจฉาทิฏฐิต้องดับหมดก่อน
" เมื่อถือว่าตนเอง ดีกว่า เสมอกัน หรือ ด้อยกว่า คนอื่น นั่นเป็นการสำคัญตน ขณะนั้นจึงเป็นมานะ"
"มานะฝังลึกในจิตซึ่งจะดับหมดเป็นสมุจเฉทก็ต่อเมื่อบรรลุเป็นพระอรหันต์"
|
โลภะ ความผูกพันยึดมั่น ทำให้เกิดความทุกข์โทมนัส ถ้าเข้าใจความจริงข้อนี้อย่างถ่องแท้ เราคงปราถนาที่จะกำจัดโลภะให้หมดไป แต่โลภะจะหมดไปในทันทีทันใดไม่ได้ เราอาจจะระงับ โลภะได้เพียงชั่วคราว แต่โลภะก็จะเกิดอีกเมื่อมีเหตุปัจจัยที่ทำให้โลภะเกิดขึ้น แม้จะรู้ว่าโลภะทำให้เกิดทุกข์โทมนัส โลภะก็ย่อมเกิดครั้งแล้วครั้งเล่า แต่ก็มีวิธีที่จะกำจัดโลภะให้หมดไปได้ นั่นคือ ด้วยการอบรมเจริญปัญญาซึ่งประจักษ์สภาพธรรมทั้งหลายตามความเป็นจริง เมื่อศึกษาเรื่องจิตละเอียดขึ้น
ก็จะทำให้เรารู้จักตัวเอง
เราไม่ควรรู้เพียงแต่โลภะขั้นหยาบเท่านั้น
แต่ควรรู้โลภะขั้นต่างๆที่ละเอียดขึ้น
เราควรรู้โลภะที่ละเอียดขึ้นเมื่อชื่นชอบกลิ่นหอมหรือดนตรีเพราะๆด้วย ดูเหมือนกับว่าจิตไม่เป็นอกุศลเมื่อไม่ได้ทำร้ายใคร แต่โลภะที่ละเอียดๆก็เป็นอกุศลด้วย โลภะต่างกับอโลภะซึ่งเป็นกุศล เราไม่สามารถบังคับตัวเองไม่ให้มีโลภะ แต่เราก็สามารถรู้ลักษณะโลภะได้เมื่อโลภะเกิดปรากฏ ไม่ใช่แต่เฉพาะพระสูตรเท่านั้น พระวินัยก็มีตัวอย่างของโลภะที่ละเอียดขึ้นอีกด้วย พระธรรมวินัยทั้งหมด คือ พระวินัย พระสูตร และพระอภิธรรม ทำให้เรารู้จักตัวเองดีขึ้น เมื่อศึกษาพระวินัยจะเห็นว่า แม้พระภิกษุซึ่งดำเนินชีวิตอย่างมักน้อยสันโดษ ก็ยังสะสมเหตุปัจจัยของโลภะมาแล้วด้วย ทุกครั้งที่มีเหตุการณ์ที่พระภิกษุหันเหจากเพศบรรพชิต พระผู้มีพระภาคก็ทรงบัญญัติพระวินัยขึ้นเพื่ออนุเคราะห์พระภิกษุให้สำรวมยิ่งขึ้น ฉะนั้น เราจึงเข้าใจคุณประโยชน์ของพระวินัยซึ่งมีข้อปลีกย่อยเรื่องความประพฤติของพระภิกษุสงฆ์ได้ สิกขาบทเกื้อกูลพระภิกษุให้สังวรแม้ขณะที่ทำกิจต่างๆในชีวิตประจำวัน เช่น การฉัน การดื่ม การครองจีวร และการเดินเป็นต้น มีวินัยที่ห้ามพระภิกษุทำสิ่งที่ดูเหมือนว่าไม่เป็นการเสียหาย เป็นต้นว่า การเล่นในนํ้าหรือเล่นนํ้า (ปาจิตตีย์ 53) หรือการล้อเลียนพระภิกษุอื่นๆ การกระทำเหล่านี้ไม่ได้เกิดจากกุศลจิต แต่เกิดจากอกุศลจิต ในพระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค ปาจิตตีย์ วรรคที่ 9 รตนวรรค สิกขาบทที่ 3 มีข้อความว่า ภิกษุไม่ควรเข้าไปในหมู่บ้านในเวลาวิกาล ด้วยเหตุว่า ย่อมเพลิดเพลินในดิรัจฉานกถาได้ง่าย ข้อความมีว่า
ข้อความดังกล่าวเป็นประโยชน์ต่อคฤหัสถ์ด้วย เราอดพูดดิรัจฉานกถาไม่ได้ แต่ก็ควรรู้ว่าการพูดของเรานั้นแม้จะดูเหมือนว่าไม่เป็นโทษภัย แต่ก็พูดด้วยโลภมูลจิตหรือโทสมูลจิตบ่อยๆ การที่จะรู้จักตัวเองนั้น ควรพิจารณาให้รู้ว่าพูดด้วยจิตอะไร โลภะสะสมมากขึ้นทุกครั้งที่โลภมูลจิตเกิด เมื่อมีเหตุปัจจัย โลภะก็ทำให้กระทำทุจริตทางกายวาจาหรือใจ เมื่อเรารู้ว่าการกระทำใดเกิดจากโลภะ ก็จะขวนขวายยิ่งขึ้นที่จะละโลภะ การกระทำชั่ว ภาษาบาลีเรียกว่า อกุศลกรรม กรรมเป็น เจตสิกธรรม (นามธรรมที่เกิดร่วมกับจิต)ซึ่งเป็น ความตั้งใจ หรือ ความจงใจ ภาษาบาลีเรียกว่า เจตนา คำว่า "กรรม" โดยทั่วไปหมายถึง การกระทำ ซึ่งเกิดจากเจตนาที่จงใจ คำว่า "กรรมบถ" (โดยพยัญชนะหมายความว่า ทางแห่งการกระทำ) หมายถึงเจตสิกนี้ด้วย กรรมมีทั้งอกุศลกรรมบท และกุศลกรรมบทซึ่งเป็นการกระทำ ทางกาย วาจา และใจ อกุศลกรรมบทมี 10 อย่าง ซึ่งมีโลภะ โทสะ และโมหะ เป็นเหตุปัจจัยให้เกิด โมหะหรืออวิชชาเกิดกับอกุศลจิตทุกดวง โมหะเป็นรากเหง้าของของอกุศลทั้งปวง ขณะใดที่เป็นอกุศลกรรมบท ขณะนั้นต้องมีโมหะ อกุศลกรรมบทบางอย่างเกิดเพราะโลภะมูลจิต และบางอย่างก็เกิดเพราะโทสมูลจิต เพราะฉะนั้น เวลาเห็นใครทำอกุศลกรรม เราจึงไม่อาจรู้ได้แน่ชัดว่า กรรมนั้นเกิดจากจิตประเภทใด อกุศลกรรมบท 10 คือ
การฆ่า การลักทรัพย์ และการประพฤติผิดในกามเป็นอกุศลกรรมบททางกาย การพูดเท็จ การพูดส่อเสียด การพูดคำหยาบ และการพูดเพ้อเจ้อเป็นอกุศลกรรมบททางวาจา การเพ่งเล็งอยากได้ของของผู้อื่น การคิดร้าย และการเห็นผิด เป็นอกุศลกรรมบททางใจ สำหรับอกุศลกรรมบททางกายนั้น การฆ่าเกิดจากโทสมูลจิต การลักทรัพย์บางครั้งเกิดจากโลภมูลจิตและบางครั้งก็เกิดจากโทสมูลจิต ถ้าอยากได้ของของผู้อื่นเพราะต้องการของนั้น การลักทรัพย์นั้นก็กระทำด้วยโลภมูลจิต ถ้าเอาของของคนอื่นไปเพราะต้องการให้เขาเดือดร้อน การกระทำนั้นก็ทำไปด้วยโทสมูลจิต ส่วนการประพฤติผิดในกามนั้นกระทำด้วยโลภมูลจิต สำหรับอกุศลกรรมบททางวาจานั้น การพูดเท็จ การพูดส่อเสียด และการพูดเพ้อเจ้อมีโลภมูลจิตเป็นเหตุ เมื่ออยากได้อะไรหรืออยากให้ตนเองเป็นที่รักของตนอื่น ในเรื่องการพูดเท็จ เราอาจคิดว่าการพูดเท็จโดยไม่เจตนาร้ายหรือเพื่อสนุกสนานนั้นจะไม่เป็นโทษภัย แต่การพูดเท็จทุกอย่างกระทำไปด้วยอกุศลจิตเป็นเหตุ ในมัขฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ ภิกขุวรรค จูฬราหุโลวาทสูตร พระผู้มีพระภาคตรัสกะท่านพระราหุลผู้เป็นพระโอรสเรื่องการพูดเท็จว่า
การพูดเท็จมีโทสมูลจิตเป็นเหตุก็ได้ หากผู้พูดต้องการให้ผู้อื่นเดือดร้อน การพูดส่อเสียดนั้น
เราทุกคนมักจะกล่าวถึงผู้อื่น
แต่ถ้าไม่มีเจตนาที่จะทำลายชื่อเสียงของคนอื่น
การพูดคำหยาบมีโทสมูลจิตเป็นปัจจัย การพูดเพ้อเจ้อเป็นการพูดเรื่องไร้สาระประโยชน์ การพูดเพ้อเจ้ออาจมีโลภมูลจิตหรือโทสมูลจิตเป็นเหตุ และไม่จำเป็นต้องเป็นอกุศลกรรมบถเสมอไป แต่มีอกุศลจิตเป็นปัจจัย ซึ่งไม่แรงถึงขั้นอกุศลกรรมบถ อกุศลกรรมบถทางใจ คือ พยาบาท การมุ่งร้าย เบียดเบียนคนอื่น มีโทสมูลจิตเป็นปัจจัย ส่วนการเพ่งเล็งอยากได้ของของคนอื่นและความเห็นผิดนั้น มีโลภมูลจิตเป็นปัจจัย เจตนาที่จะเอาวัตถุสิ่งของของคนอื่นมาเป็นของตนโดยทุจริตเป็นอกุศลกรรมบถ สำหรับมิจฉาทิฏฐิ (การเห็นผิด) นั้น มีหลายอย่าง แต่ ทิฏฐิ 3 อย่าง เป็นอกุศลกรรมบถทางใจ ความเห็นผิดอย่างหนึ่งก็คือ อเหตุกทิฏฐิ ความเห็นว่าสัตว์ทั้งหลายเกิดขึ้นโดยไม่มีเหตุ ความดีหรือความชั่วก็ไม่มีเหตุ มิจฉาทิฏฐิที่เป็นอกุศลกรรมบถทางใจอีกอย่างหนึ่ง คือ อกิริยทิฏฐิ ความเห็นว่าไม่มีกรรมดีและกรรมชั่วที่จะทำให้เกิดผลในอนาคต มิจฉาทิฏฐิซึ่งเป็นอกุศลกรรมบถทางใจอย่างที่สาม คือ นัตถิกทิฏฐิ ซึ่งเป็นความเห็นว่าผลของกรรมไม่มีและตายแล้วไม่เกิด โลภะทุกระดับขั้น ไม่ว่าหยาบหรือละเอียด ย่อมเป็นเหตุของทุกข์ เราเป็นเหมือนทาสตราบใดที่ยังเพลิดเพลินมัวเมาหลงติดในอารมณ์ที่ปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เราไม่เป็นอิสระเลยถ้าความสุขของเราขึ้นอยู่กับสถาณการณ์ที่เกิดกับเรา และการกระทำของคนอื่นต่อเรา คนอื่นอาจดีกับเราขณะหนึ่ง แต่อีกขณะหนึ่งก็อาจไม่ดีก็ได้ ถ้าเรายึดถือในความชอบพอรักใคร่ที่คนอื่นมีต่อเราอย่างมากมายเหลือเกินแล้ว จิตก็จะหม่นหมองได้ง่ายและตกเป็นทาสของอารมณ์และความรู้สึกต่างๆ เราจะเป็นอิสระขึ้นได้ถ้ารู้ความจริงว่าทั้งตัวเราเองและคนอื่นเป็นเพียงนามธรรมและรูปธรรมซึ่งเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยแล้วก็ดับไป เมื่อใครพูดคำที่ไม่น่าฟังกะเรา ก็เพราะมีเหตุปัจจัยทำให้เขาพูดอย่างนั้น และก็มีเหตุปัจจัยที่ทำให้เราได้ยินคำเหล่านั้น การกระทำของคนอื่นและปฏิกิริยาของเราต่อการกระทำนั้นๆ ล้วนเป็นสภาพธรรมที่เกิดเพราะเหตุปัจจัยและไม่เที่ยง ขณะที่กำลังคิดถึงสภาพธรรมเหล่านี้ สภาพธรรมเหล่านี้ก็ดับไปแล้ว การอบรมเจริญปัญญาเป็นทางที่จะทำให้ละคลายการยึดมั่นในการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในชีวิต เมื่อสติระลึกรู้สภาพธรรมที่กำลังเกิดปรากฏ การถือว่าการกระทำของคนอื่นต่อเราก็สำคัญน้อยลง เมื่อโลภะฝังลึกในจิตอย่างเหนียวแน่นถึงเพียงนี้
การละโลภะต้องเป็นไปตามลำดับขั้น
มิจฉาทิฏฐิต้องดับหมดก่อน
แล้วโลภะอื่นๆจึงจะดับหมดสิ้นได้
พระโสดาบันบุคคล
(บุคคลที่บรรลุ ดังที่ได้ศึกษาแล้วว่า โลภมูลจิต 4 ดวง เกิดร่วมด้วยมิจฉาทิฏฐิ (ทิฏฐิคตสัมปยุตต์) และโลภมูลจิต 4 ดวง ไม่เกิดร่วมกับมิจฉาทิฏฐิ (ทิฏฐิคตวิปปยุตต์) โลภมูลจิตที่ไม่เกิดร่วมกับมิจฉาทิฏฐิยังคงเกิดกับพระโสดาบันบุคคล เพราะพระโสดาบันบุคคลยังไม่ได้ดับโลภะทั้งหมด พระโสดาบันบุคคลยังมีมานะ มานะเกิดกับโลภมูลจิต 4 ดวงที่ไม่เกิดร่วมกับมิจฉาทิฏฐิ (ทิฏฐิคตวิปปยุตต์) เมื่อเปรียบเทียบตัวเรากับคนอื่น ขณะนั้นเป็นมานะ เช่น ขณะที่คิดว่าเรามีปัญญามากกว่าคนอื่น เป็นต้น เมื่อถือว่าตนเอง ดีกว่า เสมอกัน หรือ ด้อยกว่า คนอื่น นั่นเป็นการสำคัญตน ขณะนั้นจึงเป็นมานะ ขณะที่คิดว่าตนเองด้อยกว่าคนอื่นนั้น ไม่ใช่ว่าจะต้องเป็นกุศล อาจเป็นอาการหนึ่งของการถือตน ฉะนั้นจึงเป็นมานะ มานะฝังลึกในจิตซึ่งจะดับหมดเป็นสมุจเฉทก็ต่อเมื่อบรรลุเป็นพระอรหันต์ ผู้ที่บรรลุโลกุตตรธรรมขั้นที่สองเป็น พระสกทาคามีบุคคล (ผู้กลับมาสู่กามโลกอีกครั้งหนึ่ง นั้น ละคลายโลภะได้มากกว่าพระโสดาบันบุคคล พระอนาคามีบุคคล (ผู้ไม่กลับมาสู่กามโลก) ซึ่งบรรลุโลกุตตรธรรมขั้นที่ 3 ดับโลภะในกามอารมณ์ 5 ได้ แต่ยังมีมานะและยินดีพอใจในการเกิด พระอรหันต์ ดับโลภะได้ทั้งหมดเป็นสมุจเฉทฯ พระอรหันต์พ้นจากทุกข์ทั้งปวงเพราะท่านดับกิเลสได้หมดเป็นสมุจเฉท ในสังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค ปัคคัยหสูตรที่ 1 มีข้อความว่า สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิคมชื่อว่า เทวทหะ ของสากยราชทั้งหลาย ในสักกชนบท พระผู้มีพระภาคตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า
home ปัญหาถาม-ตอบ หนังสือธรรมะ หมายเหตุ:
คัดลอกจากหนังสือ
"พระอภิธรรมในชีวิตประจำวัน"
|
|