Buddhist Study | บทที่ 8 อเหตุกจิต | |||
"จิตที่ไม่ประกอบ
"อเหตุกจิต
"อเหตุกจิต
"สิ่งที่เราเห็น
"ผลของกรรม
"ไม่ใช่แต่
"ไม่ใช่มีแต่
|
ถ้าต้องการที่จะรู้จักตัวเอง ก็ไม่ควรที่จะรู้เพียงขณะที่เป็นอกุศลจิตหรือกุศลจิตเท่านั้น แต่ควรรู้ขณะจิตอื่นๆด้วย เมื่อเห็นสิ่งที่ไม่น่ายินดีก็ไม่ชอบสิ่งนั้น ขณะที่ไม่พอใจนั้นเป็นอกุศลจิตที่มีโทสะเป็นมูล ก่อนไม่พอใจก็ต้องเป็นจิตที่รู้อารมณ์ทางตา จิตเหล่านี้ไม่ใช่อกุศลจิต แต่เป็น จิตที่ปราศจากเหตุ เจตสิกที่เป็นเหตุมี 6 ดวง เจตสิก 3 ดวง เป็น อกุศลเหคุ คือ โลภะ โทสะ และ โมหะ เจตสิก อีก 3 ดวง เป็นโสภณเหตุ คือ อโลภะ อโทสะ และอโมหะ จิตหรือเจตสิกที่มี เหตุเกิดร่วมด้วยเป็นสเหตุกะ เช่น โทสมูลจิตเป็นสเหตุกะ โทสมูลจิตมีโมหะและโทสะเป็นเหตุเกิดร่วมด้วย จิตที่ไม่ประกอบด้วยเหตุ
เป็น อเหตุกจิต อเหตุกจิตมี 18 ดวง
เป็นวิบากจิต 15 ดวง
เป็นกิริยาจิต
(จิตที่เป็นกิริยา
ไม่ใช่เหตุและไม่ใช่ผล) 3 ดวง
อเหตุกวิบากจิต 7
ดวงเป็นอกุศลวิบากจิต
(ผลของอกุศลกรรม)
และอเหตุกวิบากจิต 8
ดวงเป็นกุศลวิบากจิต
(ผลของกุศลกรรม)
ขณะที่รูปารมณ์ซึ่งไม่น่าพอใจกระทบจักขุปสาท
จักขุวิญญาณเกิดขึ้นเห็นรูปารมณ์เท่านั้น
ยังไม่มีความไม่พอใจในรูปารมณ์นั้น
จักขุวิญาณเป็นอเหคุกวิบากจิต
จิตที่ไม่ชอบรูปารมณ์นั้น
ซึ่งเกิดขึ้นภายหลังเป็น สเหตุกจิต
(จิตที่ประกอบด้วยเหตุ)
จิตเห็นไม่ใช่จิตที่คิดนึกถึงรูปารมณ์
จิตที่รู้รูปพรรณสัณฐานของรูปารมณ์และรู้ว่าเป็นอะไรนั้น
ไม่รู้รูปารมณ์ทางจักขุทวาร
แต่รู้ทางมโนทวาร
เป็นจิตอีกประเภทหนึ่ง
เมื่อพูดว่า "เห็น"
ก็มักหมายถึงการรู้รูปพรรณสัณฐาน
และรู้ว่าสิ่งที่เห็นนั้นเป็นอะไร
แต่ก็ต้องมีจิตชนิดหนึ่งที่เพียงเห็นรูปารมณ์
และจิตดวงนี้ไม่รู้อะไรอื่นเลย
(นอกจากเห็น)
สิ่งที่เราเห็นนั้นอาจจะเรียกว่า จิตเห็น จิตได้ยิน
จิตได้กลิ่น จิตลิ้มรส
จิตรู้โผฏฐัพพะ
ไม่เกิดเมื่อไม่มีเหตุปัจจัย
สภาพธรรมเหล่านี้เป็นวิบาก
จักขุปสาท โสตปสาท พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดขึ้นนั้นต้องมีเหตุปัจจัย ขณะที่เห็นสิ่งที่ไม่น่าพอใจนั้นก็ต้องมีเหตุปัจจัย ขณะนั้นเป็นผลของอกุศลกรรม อกุศลวิบากจะเป็นผลของกุศลกรรมไม่ได้ ขณะเห็นสิ่งที่น่าพอใจเป็นกุศลวิบากซึ่งเป็นผลของกุศลกรรม วิบากจิตที่เกิดขึ้นเมื่ออารมณ์ที่น่าพอใจหรือไม่น่าพอใจกระทบกับปสาทหนึ่งในปสาท 5 นั้นเป็น อเหตุกะ ขณะนั้นไม่มีอกุศลเหตุ (เหตุที่ไม่ดีงาม) หรือโสภณเหตุ (เหตุที่ดีงาม) เกิดร่วมกับจิต อเหตุกวิบากจิตที่เห็นสิ่งที่ไม่น่าพอใจหรือสิ่งที่น่าพอใจทางตาเป็น จักขุวิญญาณ (จักขุ คือตา) อเหตุกวิบากจิตที่ได้ยินเสียงที่ไม่น่าพอใจหรือเสียงที่น่าพอใจทางหูเป็น โสตวิญาณ (โสต คือหู) อเหตุกวิบากจิตที่ได้กลิ่นไม่น่าพอใจหรือกลิ่นที่น่ายินดีทางจมูกเป็น ฆานวิญญาณ (ฆาน คือจมูก) อเหตุกวิบากจิตที่ลิ้มรสที่ไม่น่ายินดีหรือรสที่น่ายินดีทางลิ้นเป็น ชิวหาวิญญาณ (ชิวหา คือลิ้น) อเหตุกวิบากจิตที่รู้โผฏฐัพพารมณ์ที่ไม่น่าพอใจหรือที่น่าพอใจทางกายเป็น กายวิญญาณ อเหตุกวิบากจิตที่รู้อารมณ์ทางทวาร 5 นั้นมี 2 อย่าง คือ อกุศลวิบาก 1 และ กุศลวิบาก 1 ฉะนั้นจึงมีอเหตุกวิบากจิต 5 คู่ ซึ่งเกิดขึ้นโดยอาศัยทวาร 5 ยังมีอเหตุกวิบากจิตประเภทอื่นอีกซึ่งจะกล่าวต่อไป อเหตุกวิบากจิต 10 ดวง ซึ่งเป็น 5 คู่นั้น ภาษาบาลีเรียกว่า ทวิปัญจวิญญาณ นั้นมีดังนี้ คือ
อเหตุกวิบากจิตซึ่งเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น และลิ้มรส เกิดร่วมกับอุเบกขาเวทนา ไม่ว่าจะเป็นอกุศลวิบากจิตหรือกุศลวิบากจิต จิตที่ไม่พอใจในอารมณ์นั้นอาจเกิดขึ้นทีหลัง จิตที่ไม่พอใจอารมณ์เป็นสเหตุกะ (ประกอบด้วยเหตุ) และมีโทมนัสเวทนาเกิดร่วมด้วย หรือจิตที่ชอบใจอารมณ์นั้นอาจเกิดขึ้นเป็นสเหตุกจิต มีโสมนัสเวทนาหรืออุเบกขาเวทนาเกิดร่วมด้วย เรามักคิดว่าทวิปัญจวิญญาณเกิดพร้อมกับความชอบหรือความไม่ชอบในอารมณ์ แต่ความจริงไม่เป็นเช่นนั้น จิตชนิดหนึ่งๆเกิดขึ้นต่างขณะกันและเวทนาที่เกิดร่วมกับจิตแต่ละขณะก็เกิดร่วมด้วย ไม่ควรเลยที่จะยึดถือสภาพธรรมเหล่านี้ว่าเป็นตัวตน เวทนาที่เกิดกับกายวิญญาณจิตซึ่งรู้โผฏฐัพพารมณ์ทางกายปสาทนั้นเป็นอุเบกขาเวทนาไม่ได้ จิตดวงนี้เกิดร่วมกับทุกขเวทนาหรือสุขเวทนา เมื่ออนิฏฐารมณ์กระทบกาย เวทนาที่เกิดร่วมกับกายวิญญาณก็เป็นทุกขเวทนา (ความรู้สึกไม่สบายทางกาย) เมื่ออิฏฐารมณ์กระทบกาย เวทนาที่เกิดร่วมกับกายวิญญาณก็เป็นสุขเวทนา (ความรู้สึกสบายทางกาย) ทุกขเวทนาและสุขเวทนา เป็น นามธรรม ซึ่งเกิดกับ กายวิญญาณ 2 ดวง ที่รู้อารมณ์ ทางกาย ทั้งเวทนาทางกายและเวทนาทางใจเป็นนามธรรม แต่เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยที่ต่างกันและต่างขณะกันด้วย เช่น เราอาจรู้สึกสบายกายเมื่ออยู่ในที่ๆสะดวกสบาย แต่แม้กระนั้นเราก็อาจกังวลใจและไม่สบายใจ ความรู้สึกไม่สบายใจเกิดขึ้นในขณะต่างกัน สุขเวทนาทางกายเป็นผลของกุศลกรรม ขณะที่ไม่สุขใจนั้นโทมนัสเวทนาเกิดขึ้นจากการสะสมของโทสะ โทมนัสเวทนาเป็นอกุศล มีรูปซึ่งเป็นโผฏฐัพพะกระทบกายปสาททั้งวัน
โผฏฐัพพารมณ์กระทบกายได้ทั่วตัว
ฉะนั้นทุกส่วนของร่างกายเป็นกายทวาร
ขณะใดที่กระทบวัตถุที่แข็งหรืออ่อน
เย็นหรือร้อนกระทบกาย
ขณะที่เคลื่อนไหว
คู้หรือเหยียด
จะมีโผฏฐัพพารมณ์ที่เป็นอนิฏฐารมณ์หรืออิฏฐารมณ์กระทบกายปสาท
บางคนอาจสงสัยว่า
ทุกขณะที่มีการกระทบสัมผัสทางกายนั้น
สุขเวทนาหรือทุกขเวทนาเกิดหรือไม่ เมื่อพระอรหันต์รู้โผฏฐัพพารมณ์ที่เป็นอนิฏฐารมณ์หรืออิฏฐารมณ์ที่กระทบกาย ก็จะมีแต่ทุกขเวทนาหรือสุขเวทนาเกิดร่วมกับกายวิญญาณจิตเท่านั้น พระอรหันต์ไม่มีอกุศลจิตหรือกุศลจิตเกิดต่อจากวิบากจิตเลย ท่านมีแต่กิริยาจิต (จิตที่ไม่ใช่เหตุและไม่ใช่ผล) ในสังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค สัลลัตถสูตร พระผู้มีพระภาคตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า
นี่ไม่ใช่ชีวิตจริงๆหรือ
เมื่อเกิดทุกขเวทนาก็โทมนัส
เมื่อเกิดสุขเวทนาก็โสมนัส
เราคิดว่าสุขเวทนาเป็นความสุขที่แท้จริง
เราไม่เห็นตามความเป็นจริงว่าชีวิตเป็นทุกข์
เราไม่อยากเห็นความเจ็บป่วย
ความชราและความตาย
ความโศกเศร้าและความสิ้นหวัง
ความไม่ยั่งยืนของสังขารธรรมทั้งหลาย
เราหวังจะมีความสุขในชีวิต
และเมื่อมีทุกข์
เราก็คิดว่าสุขเวทนาจะทำให้ความทุกข์หมดไป
เราจึงยึดมั่นในสุขเวทนา
พระผู้มีพระภาคทรงแสดง
เวทนาเกิดเพราะเหตุปัจจัยแล้วก็ดับไป
เวทนาไม่เที่ยง
ไม่ควรยึดถือเวทนาว่าเป็นตัวตน
ถ้าสติเกิดระลึกรู้สภาพธรรมที่ปรากฏทางทวารต่างๆ
ก็จะรู้ลักษณะที่ต่างกันของนามธรรมและรูปธรรม
เราจะรู้ลักษณะของจิตและเวทนาประเภทต่างๆ
เราจะรู้ว่าสภาพธรรมทั้งหลายเป็นธรรมที่มีปัจจัยปรุงแต่งและไม่ใช่ตัวตน
เราจะรู้จากการปฏิบัติว่า
home ปัญหาถาม-ตอบ หนังสือธรรมะ หมายเหตุ:
คัดลอกจากหนังสือ
"พระอภิธรรมในชีวิตประจำวัน"
|
|